คำถามเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก
Pap test คืออะไร มีความแตกต่างระหว่าง Pap test กับ HPV test อย่างไร
ผู้ให้บริการทางสุขภาพมักจะใช้ Pap test เพื่อหาว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับปากมดลูกหรือไม่ การทำ Pap test มักจะป้าย
เอาตัวอย่างจากปากมดลูก เพื่อหาเซลล์ผิดปกติ การทำ Pap test เป็นวิธีที่ดีในการหาเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่อาจจะก่อมะเร็งในอนาคต
การทำ Pap test จะทำในร่วมกับการตรวจภายในปกติประจำปี
HPV test จะเป็นการตรวจเพื่อหาไวรัส กลุ่มเสี่ยงโดยตรง ทั้ง Pap และ HPV test จะใช้แปรงนุ่มเล็กๆ ป้ายเซลล์เยื่อบุปากมดลูก
เซลล์ที่ได้จะถูกส่งไปที่ห้องทดลองเพื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่ว่าผลการตรวจของทั้งสองอย่างหรือการทำ Pap test อย่างเดียวคุณไม่
ควรจะพบความแตกต่างในการตรวจ
จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก หรือระยะก่อนมะเร็งปากมดลูก มักจะไม่มีอาการผิดปกติ นั่นคือเหตุผลสำคัญที่ควรจะตรวจ Pap tests ประจำ
ทุกปี หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
- มีตกขาวผิดปกติจากช่องคลอด
- มีเลือดออกกระปริดกระปรอยขณะที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
- มีเลือดออกหรือเจ็บขณะร่วมเพศ
แต่ถึงจะมีอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกราย อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ควร
จะพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของคุณ การตรวจพบมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มหมายถึงโอกาสที่ดีกว่าในการประสบความสำเร็จ
ในการรักษา
ควรจะเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ไม่ควรตรวจหากกำลังมีประจำเดือน
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดอย่างน้อย 2 วันก่อนตรวจ
- ควรงดมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2 วันก่อนตรวจ
- ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด, โฟมคุมกำเนิด, เจลลี่ หรือ ครีมหรือยาที่ใช้ทางช่องคลอดอื่นๆอย่างน้อย 2 วัน ก่อนมาตรวจ
มะเร็งปากมดลูกรักษาได้หรือไม่
ได้มะเร็งปากมดลูกรักษาได้โดยการผ่าตัด ฉายแสง และ/หรือให้ยาเคมีบำบัด หากคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก ควรพูดถึงทางเลือกใน
การรักษากับแพทย์เพื่อตัดสินใจถึงแนวทางในการรักษามะเร็งที่ดีที่สุด
ควรจะไปพบผู้เชี่ยวชาญเมื่อไร
หากว่าคุณเป็นมะเร็งปากมดลูก คุณควรจะรักษาโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ : สูตินรีแพทย์โรคมะเร็ง, แพทย์รังสีรักษา, อายุรแพทย์
โรคมะเร็ง แพทย์โรคมะเร็งเป็นแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนในด้านการวินิจฉัยและรักษามะเร็งโดยเฉพาะ หากคุณได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวการณ์
เปลี่ยนแปลงก่อนมะเร็ง ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องพบแพทย์โรคมะเร็งโดยตรง ขึ้นกับระดับของการเปลี่ยนแปลงที่พบ สูตินรีแพทย์หรือแพทย์ทั่วไป
อาจจะเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงและให้การรักษาได้
หากตัดมดลูกไปแล้ว ยังจำเป็นต้องทำ Pap test อีกหรือไม่
คำตอบของคำถามนี้ขึ้นกับเหตุผลที่คุณได้รับการตัดมดลูก
- หากคุณเคยตัดมดลูกเนื่องจากเป็นการรักษามะเร็งปากมดลูก คุณควรจะตรวจ Pap tests อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่า
มะเร็งจะไม่กลับเป็นซ้ำ
- หากคุณเคยตัดมดลูกเนื่องจากเป็นการรักษาภาวะก่อนมะเร็งของปากมดลูก คุณควรจะตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย
2-3 ปีหลังผ่าตัด
- หากคุณเคยตัดมดลูกแต่ปากมดลูกไม่ได้ตัดออกไปด้วย(เรียกว่า subtotal หรือ supracervical hysterectomy) คุณควรจะ
ตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจนอายุ 70 ปี เนื่องจากปากมดลูกไม่ได้ถูกผ่าตัดออกไปด้วย ดังนั้นจึงยังคงมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
ปากมดลูก
- หากคุณเคยผ่าตัดมดลูก (ตัดออกหมดทั้งมดลูกรวมถึงปากมดลูกด้วย) ด้วยเหตุผลอื่นๆที่ไม่ใช้มะเร็งหรือภาวะก่อนมะเร็ง
คุณอาจไม่จำเป็นต้องทำ Pap หรือ HPV test อีก ควรจะตรวจสอบกับแพทย์ก่อนเนื่องจากในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องตรวจติด
ตามต่อไป
- หากคุณเคยผ่าตัดมดลูกและมีโรคที่ผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน (เช่น HIV) หรือกำลังรักษาโดยการรับยากดภูมิคุ้มกัน
(เช่น ในรายที่เคยผ่าตัดเปลี่ยนไต) คุณอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อ HPV ได้ ดังนั้นจึงควรมารับการตรวจทุกปี
ผู้หญิงหลายคนไม่ทราบเหตุผลที่ต้องผ่าตัดมดลูกหรือรูปแบบของการผ่าตัดมดลูก หากไปพบแพทย์คนใหม่หลังจากผ่าตัด ควรจะ
นำประวัติการรักษาจากที่เก่าไปด้วย แพทย์จะสามารถบอกได้ว่าการผ่าตัดเป็นรูปแบบใดและคุณยังจำเป็นต้องตรวจ Pap tests ต่อไป
อีกหรือไม่
คุณควรจะพูดคุยถึงสถานภาพและปัจจัยเสี่ยงของคุณในการติดเชื้อ HPV กับแพทย์ ไม่ว่าคุณตัดสินใจเกี่ยวกับการตรวจ Pap และ
HPV อย่างไร ก็ควรจะไปรับการตรวจภายในประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
ข้อควรจำ
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้หญิงควรจะมีส่วนร่วมในการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้หญิงที่ได้รับการตรวจสุขภาพทุกรายพบว่าสามารถลด
ความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งปากมดลูกได้อย่างมากเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการตรวจ ควรจะไปทำนัดตรวจเสียตั้งแต่วันนี้
- มะเร็งปากมดลูกส่วนมากป้องกันได้ การให้วัคซีนตั้งแต่เด็กร่วมกับการตรวจหาเซลล์ผิดปกติโดยการทำ Pap test เป็นสิ่งสำคัญ
มะเร็งปากมดลูกนั้นพบได้น้อย และส่วนมากมักป้องกันได้โดยการตรวจภายในสม่ำเสมอและรักษาภาวะก่อนมะเร็ง
- อย่างน้อย 75% ของผู้หญิงจะมีเชื้อ HPV อยู่ แต่ส่วนน้อยที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก ส่วนใหญ่การติดเชื้อ HPV มักเป็น
ชั่วคราวและหายไปเอง การติดเชื้อ HPV ที่เป็นแบบเรื้อรังจะทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
- ทางเลือกใหม่ในการตรวจคัดกรองได้แก่ liquid based Pap tests และการทดสอบหา high-risk HPV ซึ่งเป็นการพัฒนาขั้น
สำคัญสำหรับผู้หญิงและแพทย์ HPV วัคซีนจะป้องกันภาวะผล Pap test ที่ผิดปกติและมะเร็งปากมดลูกได้มาก
- หากคุณเป็นเด็กและผู้หญิงอายุระหว่าง 9-26 ปี คุณควรจะฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ควรจำไว้ว่าถึงแม้ได้รับวัคซีนแล้วก็ไม่สามารถ
จะหยุดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ การให้วัคซีนตั้งแต่เด็กและตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอจะให้การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
ได้ดีที่สุด