ทำไมบางโรคต้องให้ยาเคมีคู่การฉายรังสี

สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

หลักการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัด

       การรักษาด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด หรือรังสีรักษาวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงอย่างเดียว มักจะไม่สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยจากโรคมะเร็งได้ เห็นได้จากมะเร็งบางตำแหน่งไม่สามารถให้รังสีปริมาณสูง เพราะจะเกิดผลแทรกซ้อนต่อเนื้อเยื่อ ปกติข้างเคียง หรือการใช้ยาเคมีบำบัดอย่างเดียวก็ไม่สามารถกำจัดก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันมีความต้อง การรักษาผู้ป่วยแบบสงวนอวัยวะมากขึ้น หรือผู้ป่วยบางรายสุขภาพไม่แข็งแรงพอที่จะผ่าตัดได้หรือเป็นมะเร็งขนาดใหญ่เกิน กว่าจะผ่าตัดได้หมดเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ทำให้การใช้การรักษาแบบผสมผสาน (combined modality therapy) เป็นทาง ออกที่ดีในการรักาามะเร็งให้ได้ผลที่ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการควบคุมโรคเฉพาะที่ และป้องกันการแพร่กระจาย ของโรค

ประโยชน์ของรังสีร่วมกับเคมีบำบัด

  1. ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งที่ดื้อต่อการรักษา (Resistant clone) การใช้การรักษาวิธีเดียวอาจเกิดเซลล์ที่ดื้อต่อการรักษาได้ง่าย การรักษาเสริมอีกวิธีหนึ่งสามารถช่วยป้องกันการดื้อ ต่อการรักษาได้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การใช้ยาเคมีบำบัดสูตรผสมหรือการใช้รังสีร่วมกับยาเคมีบำบัด
  2. การร่วมกันกำจัดเซลล์มะเร็งในตำแหน่งต่างกัน (Spatial cooperation) โดยรังสีรักษามีบทบาทในการกำจัดเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ได้รับรังสี ขณะที่ยาเคมีบำบัดมีบทบาทกำจัดเซลล์มะเร็งบริเวณอื่นด้วย
  3. การเพิ่มการตอบสนองของเซลล์มะเร็ง (Enhance tumor response) การเพิ่มการตอบสนองมี 3 ชนิด คือ Supraadditivity, Additivity และ Subadditivity ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียด ในที่นี้ อย่างไรก็ตามจะมีประโยชน์มากกว่าการให้การรักษาเพียงวิธีเดียว อย่างไรก็ดีบางครั้งการให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสี รักษาอาจให้ผลการตอบสนองของก้อนมะเร็งน้อยกว่าการให้การรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เรียกปฏิกิริยาดังกล่าวว่า diminution
  4. การมีปฏิกิริยาทางชีววิทยาจากการใช้รังสีเคมีบำบัด การให้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสีทำให้ DNA ถูกทำลายหลายตำแหน่ง และทำให้เซลล์ตายได้ง่ายขึ้น และยา เคมีบำบัดสามารถยับยั้งการซ่อมแซมของเซลล์ที่ถูกทำลายหลังได้รับรังสี รวมถึงยับยั้งการแบ่งตัวใหม่ของเซลล์มะเร็ง ระหว่างการฉายรังสี นอกจากนี้เซลล์มะเร็งที่ขาดออกซิเจนหรือในบางช่วงวงจรชีวิตจะดื้อต่อรังสีรักษา แต่ยาเคมีบำบัด สามารถออกฤทธิ์จำเพาะต่อเซลล์เหล่านี้ได้

ข้อเสียของการให้รังสีเคมีบำบัด

       แม้ว่าการให้รังสีเคมีบำบัดจะมีประโยชน์ดังได้อธิบายข้างต้น แต่ความล้มเหลวอาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นจากเซลล์มะเร็งมีการดื้อต่อทั้งยาเคมีบำบัดและรังสีรักษา ซึ่งอาจเกิดตั้งแต่ก่อนหรือหลังการรักษาการเกิดพังผืดที่เส้นเลือดจากรังสีรักษาทำให้ยาเคมีบำบัดเข้าถึงก้อนมะเร็งได้ยากขึ้น นอกจากนี้การให้รังสีพร้อมกับยาเคมีบำบัด อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง ต่อร่างกายผู้ป่วยมากขึ้น จนต้องมีการปรับลดปริมาณยาหรือรังสีลง ซึ่งอาจทำให้ผลการรักษาลดลง

ตารางเวลาที่เหมาะสมในการให้รังสีเคมีบำบัด

       การใช้รังสีเคมีบำบัด อาจมีการใช้ยาเคมีบำบัดแบบสลับหรือแบบต่อเนื่องกัน หรือใช้พร้อมกันกับการฉายรังสี ทั้งนี้ ขึ้นกับเป้าหมายการรักษา เมื่อมีการใช้รังสีพร้อมกับยาเคมีบำบัด ถ้าใช้ในปริมาณและตารางการให้แบบปกติ อาจมีผลข้างเคียงจากการรักษา สูงขึ้น ดังนั้นการปรับเปลี่ยนตารางการฉายรังสีหรือปรับปริมาณยาเคมีบำบัด เพื่อช่วยลดผลข้างเคียงจึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่เนื่องจากมนุษย์มีความหลากหลายระดับเซลล์

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการวิจัยทางคลินิกเพื่อพัฒนาแผนการรักษาและตาราง เวลาที่เหมาะสมสำหรับมะเร็งแต่ละชนิด ปัจจุบันมีมะเร็งหลายชนิดที่มีหลักฐานสนับสนุนการใช้รังสีเคมีบำบัด ได้แก่ มะเร็ง ปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งลำไส้ตรง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็ง ตับอ่อน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งหลังโพรงจมูก รวมถึงมะเร็งศีรษะและลำคอบริเวณอื่น เป็นต้น ทั้งนี้การเลือกใช้ขึ้นกับระยะของโรครวมทั้งสภาพร่างกายของผู้ป่วย