เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

ผู้หญิงที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม จะมีอุบัติการของการเกิดมะเร็งในชีวิตผู้นั้นสูงกว่าคนปกติ 2 ถึง 5 เท่า เช่น แม่เป็นมะเร็งเต้านม ลูกสาวจะมีโอกาสเป็นประมาณ 2 เท่า  อุบัติการนี้สูงขึ้นเป็น 2.5 เท่า ถ้าหากพี่สาวหรือน้องสาวเป็น และในครอบครัวที่มีทั้งแม่และพี่สาวหรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านมอุบัติการ ผู้นั้นจะสูงถึง 5.6 เท่า นอกลูกสาวจะมีโอกาสจากนี้ในตัวผู้ป่วยเองซึ่ง เป็นมะเร็ง เต้านมข้างหนึ่ง และได้รับการรักษาแล้วจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมอีกข้างหนึ่งได้ในอัตรา 0.5% ถึง 1% ต่อปี

ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม หรือตัวผู้ป่วยเอง ควรจะเฝ้าระวังการเกิดมะเร็งเต้านมขึ้นกับตัวเอง และวิธีที่ดีที่สุดก็คือ การตรวจมะเร็งใน ระยะแรกเริ่มมีหลักฐานจากการศึกษาพบว่า การตรวจพบมะเร็งในระยะแรกเริ่มสามารถลดอัตราตายจากมะเร็งเต้านมได้

การตรวจมะเร็งในระยะแรกเริ่มทำได้ 3 วิธี คือ

  1. ตรวจเต้านมด้วยตัวเอง ควรตรวจอย่างสม่ำเสมอ และทำให้เป็นนิสัย เช่น ตรวจเวลาเปลี่ยนเสื้อผ้า หรืออาบน้ำ ในผู้ที่ยังมีประจำเดือนควรตรวจในสัปดาห์ หลังหมดประจำเดือนของเดือนนั้น ส่วนในผู้ที่ประจำเดือนหมดแล้ว ควรจะตรวจ ในวันแรกของทุกๆ เดือน พบแพทย์ทันทีถ้าหากท่านพบก้อนในเต้านม หัวนมบุ๋ม ผิวหนังของเต้านมหนาขึ้นหรือบุ๋ม มีสารเหลวออกจากหัวนม หรือขนาดของเต้านมเปลี่ยนไป เป็นต้น
  2. พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมอย่างสม่ำเสมอในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 40 ปี อาจตรวจทุกๆ 3 ปี ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจทุกๆ ปี
  3. การตรวจเอกซเรย์เต้านม (แมมโมแกรม) เป็นการตรวจที่สำคัญเพราะสามารถตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ยังคลำก้อนไม่ได้ หรือไม่มีอาการ แต่การตรวจนี้ ไม่สามารถใช้แทนการตรวจด้วยตัวเอง หรือการตรวจจากแพทย์ เพราะไม่มีการตรวจวินิจฉัยชนิดใดๆ ที่จะให้ผล 100% ควรจะทำแมมโมแกรมครั้งแรกในช่วง อายุ 35-39 ปี เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับใช้เปรียบเทียบในการทำครั้งต่อๆ ไป ในช่วงอายุ 40-49 ปี ควรตรวจทุกๆ 1 หรือ 2 ปี ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุกๆ ปี นอกจากนี้ควรลดอาหารประเภทไขมัน อาหารหมักดอง อาหารรมควัน ลดปริมาณสุราที่ดื่ม รับประทานผัก ผลไม้ มากขึ้น และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การกลับเป็นใหม่ของโรคในมะเร็งเต้านมหลังรักษานั้น แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ การกลับเป็นใหม่เฉพาะที่ ซึ่งได้แก่ มะเร็ง เกิดขึ้นอีกที่ บริเวณเต้านม หรือต่อมน้ำเหลือง อีกชนิดหนึ่งคือ การเกิดที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก หรือตับ เป็นต้น สาเหตุของ การกลับเป็นใหม่เฉพาะที่นั้นมีมากมาย แต่ประการสำคัญที่สุดก็คือ ระยะของโรคเมื่อเริ่มรักษาครั้งแรกนั่นก็คือ ขนาดของมะเร็ง ปฐมภูมิ และการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองว่ามีหรือไม่ ในผู้ป่วยที่มีมะเร็งปฐมภูมิขนาดเล็ก โดยเฉพาะเล็กกว่า 2 ซม. และไม่ได้ กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง อุบัติการการกลับเป็นใหม่ของโรคจะน้อยกว่าและโอกาสที่จะหายขาดจะสูง ตรงกันข้ามถ้าหากมะเร็ง ปฐมภูมิมีขนาดใหญ่ มีการลุกลามเฉพาะที่มาก หรือมีการลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองแล้ว โอกาสมะเร็งจะกลับเป็นใหม่ก็จะสูงขึ้น ส่วนการกลับเป็นใหม่ของอวัยวะอื่นๆ นั้น นอกจากมีสาเหตุขึ้นกับระยะของโรคเมื่อเริ่มรักษาดังที่กล่าวแล้วนั้นยังเชื่อว่ามะเร็งได้ กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปแล้วก่อนเริ่มการรักษา

ในปัจจุบันจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการทางการรักษาด้านต่างๆ เช่น การผ่าตัด ฉายรังสี เคมีบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมนทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในกลุ่มที่มีพยากรณ์โรคไม่ดีนักดังที่กล่าวมาแล้วมีการกลับเป็นใหม่ของโรคน้อยลง ทำให้อัตราการหายขาดของโรคสูงขึ้นอีกประการหนึ่ง หากการกลับเป็นใหม่ของโรคนั้น ถ้าเกิดที่บริเวณเต้านมหรือต่อมน้ำเหลืองผู้ป่วยยังมีโอกาสที่จะรับการรักษาเพื่อให้หายขาดจากโรคได้ สำหรับในผู้ที่โรคจะกลับเป็นใหม่ 60% จะเกิดใน 3 ปีหลังรักษา อีก 20% จะเกิดใน 2 ปีถัดไป และอีก 20% จะเกิดหลังจากรักษาไปแล้ว 5 ปี สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ท่านควรจะได้รับการตรวจจากแพทย์หรือหมั่นตรวจเองอย่างสม่ำเสมอหลังจากที่ได้รับการรักษาครั้งแรก

เราสามารถป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรคได้ ถึงแม้จะไม่สามารถป้องกันได้ 100% ก็ตาม โดยที่ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการกลับเป็นใหม่ของโรค จะได้รับการรักษาเสริมด้วย การฉายรังสี รับเคมีบำบัด หรือฮอร์โมนหลังจากการผ่าตัด
เต้านมแล้ว ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

อุบัติการณ์

    พบภาวะแขนบวมประมาณ 30% ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามะเร็งเต้านมทั้งหมด (อัตราแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบัน
ระหว่าง 2-83%) ประมาณ 58% มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ และมีอาการไม่เกิน 3 เดือน, 39% มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ แต่มีอาการนานกว่า
3 เดือน, 63% มีอาการตั้งแต่ 6 เดือนหลังการผ่าตัด และประมาณ 63% ที่มีภาวะน้ำเหลืองคั้งตลอดชีวิตจะมีบางช่วงที่ไม่มีอาการ (1)

ระยะเวลาการเกิด

    ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นทันทีหรือหลายปีหลังการรักษา ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดที่ประมาณ 18 เดือนหลังการรักษา แต่มีการศึกษาหลาย
การศึกษาทั้งแบบย้อนหลังและการศึกษาแบบไปข้างหน้าว่ามีรายงานการเกิดภาวะนี้ได้ช้าถึง 3 ปี หลังการรักษาและ 10 ปี หลังการ

วินิจฉัยมะเร็งเต้านม (1)

การประเมินการเกิดภาวะคั่งของน้ำเหลือง
    เนื่องจากจะเกิดอาการประมาณ 6 เดือนหลังการผ่าตัดเป็นต้นไป จึงน่าจะมีการประเมินอาการในช่วงนี้ โดยถ้าประเมินเร็วไป
อาจสับสนกับการบวมซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากหลังการผ่าตัด (1)

อาการ

    มีได้ตั้งแต่ปวด รู้สึกยิบๆ ยับๆ อ่อนแรง แขนติด เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ หรือชา ซึ่งอาการที่พบส่วนใหญ่ คือ อาการชา ปวด
อ่อนแรง และรู้สึกว่าแขนติด นอกจากนี้ยังมี การศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริการายงานอาการต่างๆ ของภาวะนี้ ซึ่งได้แก่ รู้สึกว่า
เครื่อง ประดับ หรือเสื้อผ้าที่ใส่คับขึ้น หรือหนักมากขึ้น มีแขนบวม เห็นเส้นเลือดหรือกระดูก ข้อนิ้วมือไม่ชัด ความรู้สึกที่ผิวหนังเปลี่ยนไป
เช่น หนาหนักขึ้น มีอาการบวมหลังออกกำลังกายหรือใช้มือในการเขียนยากขึ้นแล้วให้ผู้ป่วยใส่คะแนนความถี่ ความรุนแรง ผลกระทบ
กับ ชีวิตประจำวัน ผลได้ว่าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการทุกอย่างที่กล่าวมา เฉลี่ยคะแนนมากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือไม่มี
และอาการที่พบบ่อยสุด คือ รู้สึกเครื่องประดับคับ ผิวหนังหนาหนัก ไม่เรียบ และแขนบวม นอกจากนี้อาการรู้สึกว่าเครื่องประดับคับนั้น
สามารถคาดการณ์การเกิดภาวะน้ำเหลืองคั่งได้ในอนาคต (2)


ปัจจัยที่เพิ่ม ความเสี่ยงของการเกิดภาวะการคั่งน้ำเหลือง

  1. อายุมากกว่า 50 ปี (1)
  2. ผู้ป่วยที่ทำงานแบบนั่งโต๊ะมีความเสี่ยงมากกว่าผุ้ที่ต้องออกแรงทำงาน (1)
  3. การผ่าตัดเต้านม โดยการผ่าตัดทั้งเต้ามีความเสี่ยงมากกว่าการผ่าตัดเฉพาะก้อน (1)
  4. การผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง

    การศึกษาจากออสเตรเลียรายงานว่าการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองที่มากกว่า 20 ต่อมจะเพิ่มความเสี่ยง แต่ไม่พบความสำคัญทาง
สถิติ (1) การศึกษาจากประเทศอิตาลี พบว่าจำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ผ่าตัดที่มากกว่า 30 ต่อมขึ้นไปจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (3) และอีกการศึกษาจาก Eastern Virginia Medical School ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานจำนวนต่อมน้ำเหลือง
มากกว่า 14 ต่อมในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำเหลืองคั่งเปรียบเทียบกับ 9 ต่อมในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ (4)

    5. ขนาดของก้อนมะเร็ง โดยการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา พบว่าก้อนที่ใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้นทำให้มีโอกาสมีภาวะคั่งน้ำเหลืองทั้งที่
บริเวณเต้านมและแขน(4) และการศึกษาจากอิตาลีก็พบว่าถ้าก้อนตั้งแต่ 2 ซม. ขึ้นไปจะเพิ่มโดกาสมากกว่าเมื่อเทียบกับก้อนขนาด
เล็กกว่า 2 ซม.(3)

    6. การฉายแสง การศึกษาจากประเทศออสเตรเลียไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับการฉายแสงกับการเกิดภาวะการคั่งของ
น้ำ เหลือง(1) ซึ่งผลไม่ตรงกับการศึกษาอื่นๆ เช่นการศึกษาจากตุรกี อิตาลี และสหรัฐอเมริกา(3,5,6) ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กัน โดยส่วนใหญ่
การฉายแสงที่บริเวณรักแร้จะเพิ่มโอกาสเกิดอาการมากกว่าการฉายเฉพาะบริเวณทรวงอก หรือเต้านม ปัจจุบันแพทย์รังสีรักษามักไม่ฉาย
รังสีบริเวณรักแร้

    7. ภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน ไม่พบว่าค่า Body mass index (BMI) ซึ่งเป็นค่าแสดงภาวะน้ำหนักเกินที่มีค่าสูงจะเกี่ยวพันกับการ
เพิ่มภาวะคั่งของน้ำเหลือง (1) ในขณะที่การศึกษารายงานจากอื่น ๆ พบความเกี่ยวข้องกัน (4,5)

ปัจจัยที่ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะการคั่งน้ำเหลือง

  1. บุคคลมีรายได้ต่ำ เนื่องจากพบว่ามีการออกแรงของแขนข้างที่ผ่าตัดมากกว่า (1)
  2. มารดาที่บุตรอายุน้อย คาดว่าน่าจะเกี่ยวกับการต้องใช้แขนในการเลี้ยงดูบุตร (1)
  3. การได้รับเคมีบำบัด (1)
  4. มีการออกแรงร่างกายส่วนบนมากกว่า (1)

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะการคั่งของน้ำเหลือง

    โดยแจ้งให้ผู้รับบริการทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องทราบ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อขอรับคำแนะนำ
และวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ซึ่งการปฏิบัติตัวสามารถทำได้ คือ การใช้งานแขนข้างที่มีภาวะนี้ด้วยการนวด ใส่ปลอกแขน ใช้ผ้าพันแขน
และการยกแขนสูง

ผู้ที่จะได้รับการรักษาทางด้านฮอร์โมน ควรเป็นกลุ่มที่มีเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนอยู่ในเซลล์ ซึ่งในปัจจุบัน เราสามารถตรวจดูว่าเซลล์มะเร็งของผู้ป่วย มีตัวรับสัญญาณดังกล่าวหรือไม่ โดยการตรวจจากชิ้นเนื้อมะเร็ง ตัวรับ สัญญาณที่ทำการตรวจมี 2 ชนิด คือ เอสโตรเจนรีเซบเตอร์ (Estrogen receptor,ER) และโปรเจสเตอโรนรีเซบเตอร์ (Progesterone receptor, PR) ซึ่งหากมีตัวรับสัญญาณ จะเรียกว่าผลการตรวจให้ผลบวก (Positive) ดังนั้นจะเห็น ได้ว่าการตรวจหาเอสโตรเจนรีเซบเตอร์ และโปรเจสเตอโรนรีเซบเตอร์ จากก้อนมะเร็งที่ตัดออกมาในตอนแรกจะมี ความสำคัญมาก ซึ่งถือเป็นแนวมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่จะต้องนำชิ้นเนื้อส่งตรวจ ในกรณีที่ไม่ทราบ ผลการตรวจรีเซบเตอร์ดังกล่าว (unknow) ก็อาจใช้การรักษาทางด้านฮอร์โมนได้ แต่ผลดีจากการรักษามีน้อยเพียง ร้อยละ 10 เท่านั้น ส่วนกรณีที่มีผลการตรวจชิ้นเนื้อแล้ว ไม่พบว่าเซลล์มะเร็งมีรีเซบเตอร์ทั้ง 2 ชนิด (negative) ไม่ แนะนำให้รักษาด้วยวิธีการด้านฮอร์โมน เพราะไม่เกิดประโยชน์ การรักษาด้วยวิธีการทางด้านฮอร์โมน สามารถใช้ได้ กับทั้งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ยังมีประจำเดือนอยู่และหมดประจำเดือนแล้ว แต่วิธีการเลือกใช้จะแตกต่างกัน

การใช้ฮอร์โมนในการรักษามะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ

  1. การใช้ยาที่เข้าไปแย่งที่กับตัวรับสัญญาณที่เซลล์มะเร็ง (เอสโตรเจน รีเซบเตอร์) เพื่อไม่ให้ฮอร์โมนสามารถ กระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เติบโตได้ กลุ่มนี้ได้แก่ การใช้ยาที่เป็น anti-estrogen
  2. การทำลาย หรือยับยั้งไม่ให้มีฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย ในกลุ่มนี้ประกอบด้วยวิธีการหลายอย่าง เช่น
  • การทำลายรังไข่ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนในหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน
  • การยับยั้งการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศชาย ที่จะเปลี่ยนมาเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไต
  • การยับยั้งการกระตุ้นจากต่อมใต้สมอง ที่จะมากระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนออกมา

Anti-estrogen (ยาที่แย่งที่กับตัวรับสัญญาณ เอสโตรเจน วีเซบเตอร์)

การ ค้นพบยากลุ่ม anti-estrogen เมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของวงการแพทย์ในด้านการรักษามะเร็งเต้านม ที่สามารถช่วยให้ผลการรักษามะเร็งเต้านมได้ผลดีขึ้นอย่างมาก โดยที่ผลข้างเคียงจาก การใช้ยาดังกล่าวมีไม่มากนัก ยาที่สำคัญที่ได้รับการใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มนี้คือ Tamoxifen ซึ่งสามารถบริหารยา โดยการกิน

ยา Tamoxifen จะออกฤทธิ์ โดยการแย่งจับกับตัวรับสัญญาณของเซลล์มะเร็งเต้านม ดังนั้นภายหลังจากการ ผ่าตัดรักษาการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีหากมีเซลล์มะเร็งยังคงหลงเหลือ อยู่ในร่างกายจำนวนน้อยและเซลล์ นั้นเป็นเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ยา Tamoxifen จะเข้าไปแย่งที่กับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มี อยู่ในร่างกายไม่ให้มีโอกาสกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่นั้นเติบโตได้ หรือหากจะได้ก็จะช้ากว่าปกติ ดังนั้นผู้ป่วย มะเร็งเต้านมที่จะได้ประโยชน์จากยานี้จะต้องเป็นกลุ่มที่ ER positive หรือ PR positive เท่านั้น

การใช้ยา Tamoxifen ยังเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ใช้ได้กับทั้งสตรีที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และ สตรีที่หมดประจำเดือนแล้วสามารถใช้ได้อย่างดีในการลดการกลับเป็นซ้ำของ มะเร็งเต้านม ภายหลังการรักษาด้วย วิธีอื่น โดยกินยาดังกล่าววันละ 1 เม็ด (20 มิลลิกรัม) นาน 5 ปี นอกจากนี้ ยังมีการใช้ยานี้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาด ของมะเร็งลง (มักใช้ในผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่สามารถรับเคมีบำบัดได้) หรือใช้ป้องกันมะเร็งเต้านม ในสตรีที่มีความ เสื่อมของการเกิดมะเร็งสูงมากกว่าคนทั่วไป

ผลข้างเคียงที่มักจะได้รับ การกล่าวถึงของการใช้ยาดังกล่าว คือ อาจทำให้เกิดมะเร็งในเยื่อบุโพรงมดลูกได้ และอาจมีผลทำให้เกิดเส้นเลือดดำอุดตันได้ แต่พบในอุบัติการณ์ที่ต่ำมาก

Ovarian ablasion (การทำลายรังไข่)

การ ทำลายรังไข่ เพื่อลดการผลิตฮอร์โมน เอสโตรเจน ซึ่งรังไข่เป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ใหญ่ ที่สุดในร่างกาย โดยการทำลายรังไข่จะเกิดประโยชน์เฉพาะในผู้หญิงที่ยังไม่หมดประจำเดือน ส่วนหญิงที่หมด ประจำเดือนแล้วนั้นไม่จำเป็นต้องทำลายรังไข่ เพราะรังไข่หยุดการทำงานตามธรรมชาติอยู่แล้ว

วิธีทำลายรังไข่ สามารถทำได้ 2 แบบ คือ การผ่าตัดและการฉายรังสี

  1. วิธีการผ่าตัด(Surgical castration) โดยผ่าตัดเปิดหน้าท้องเข้าไปตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก(Bilateral Oophorectomy) หรือในปัจจุบันอาจใช้วิธีผ่าตัด โดยการส่องกล้อง วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถลดระดับของฮอร์โมน เพศหญิงได้เร็วมาก และสามารถสำรวจดูอวัยวะอื่นๆ ภายในช่องท้องได้ด้วยว่ามีมะเร็งแพร่กระจายไปแล้วหรือยัง แต่ก็มีข้อเสียคือ ผู้ป่วยจะต้องอยู่โรงพยาบาลหลายวัน และอาจจะมีอาการแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดเปิดหน้า- ท้องได้ เช่น เกิดลำไส้อุดตันจากพังผืดมารัด
  2. วิธีฉายแสง (Radiation castration) โดยใช้รังสีไปทำลายเซลล์ของรังไข่ วิธีนี้มีข้อดีคือ ผู้ป่วยไม่ ต้องอยู่โรงพยาบาลและอาการแทรกซ้อนน้อยมาก เพราะว่าใช้รังสีจำนวนค่อนข้างน้อย (ปกติฉายรังสี 5 ครั้ง ใน 1 สัปดาห์ ครั้งละ 2 นาที) แต่ก็มีข้อเสียเล็กน้อยคือ จะได้ผลช้ากว่าวิธีการผ่าตัด การทำลายรังไข่ทั้ง 2 วิธีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆ เช่นเดียวกับคนวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) ซึ่ง บางครั้งการเข้าสู่อาการวัยทองโดยกะทันหัน อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวได้มาก

Aromatase inhibitors(การยับยั้งการเปลี่ยนแปลง ฮอร์โมนเพศชายที่ต่อมหมวกไตมาเป็นเอสโตรเจน) ในหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้วนั้น อาจจะยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ได้ในปริมาณเล็กน้อย โดยที่ฮอร์โมนที่พบ ในหญิงวัยหมดประจำเดือน ไม่ได้มาจากรังไข่แต่เป็นฮอร์โมนที่มาจากต่อมหมวกไต ซึ่งจะแปลงฮอร์โมนเพศชาย มาเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นการลดปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงให้เหลือต่ำที่สุดในหญิงวัยหมดประจำเดือน ก็คือ การทำลายต่อมหมวกไต หรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่ต่อมหมวกไต

ใน อดีตการผ่าตัดเพื่อทำลายต่อมหมวกไต(Adrenalectomy) ได้เคยถูกนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว แต่วิธีนี้มีภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก เนื่องจากต่อมหมวกไตยังทำหน้าที่อีกหลายประการ ทั้งในด้านการควบคุม ระดับสารน้ำในร่างกายระดับฮอร์โมน cortisol ซึ่งหากขาดฮอร์โมนดังกล่าวระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ใน ร่างกายจะผิดปกติไปอย่างมาก วิธีการผ่าตัดต่อมหมวกไตจึงไม่ได้รับความนิยม

ใน ปัจจุบันมีการคิดผลิตยาที่จะยับยั้งการทำงานของต่อมหมวกไต ในส่วนที่เฉพาะเจาะจงในการเปลี่ยน แปลงฮอร์โมนเพศชายเป็นเอสโตรเจน ซึ่งได้มีการพัฒนามาถึง 3 รุ่น ในรุ่นที่ 3 นี้ เรียกว่ายากลุ่ม Aromatase inhibitors ซึ่งได้ผลในการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมน ขณะเดียวกันผลข้างเคียงก็มีน้อยมากจึงได้รับการยอมรับ ในปัจจุบันและกำลังมีที่ใช้แทนหรือ ใช้ต่อเนื่องจากยากลุ่ม anti-estrogen Pituitary-ovarian axis inhibitions (การยับยั้งการกระตุ้นรังไข่จากต่อมใต้สมอง)

ต่อมใต้สมองเป็นแหล่ง ผลิตฮอร์โมนที่จะกระตุ้นให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นในหญิงวัยก่อนหมด ประจำเดือน จึงมีอีกหนทางหนึ่งที่จะลดปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ยับยั้งการทำงานของต่อมใต้สมอง ใน อดีตอาศัยการผ่าตัดต่อมใต้สมอง (Hypophysectomy) หรือการฉายรังสี ซึ่งมีผลแทรกซ้อนข้างเคียงมากเนื่อง จากต่อมใต้สมองจะควบคุมระบบฮอร์โมนอีกหลายอย่าง ทั้งของไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ฯลฯ ปัจจุบันจึงไม่นิยิม ใช้การผ่าตัดทำลายต่อมใต้สมอง ขณะเดียวกันก็มีการคิดค้นยาที่สามารถลดการทำงานของต่อมใต้สมองในกลุ่ม gonadotropin releasing hormone analog (GnRH analog) ซึ่งได้ผลในการยับยั้งการกระตุ้นรังไข่ได้ดี แต่เป็นยาฉีดซึ่งต้องฉีดเดือนละครั้ง istanbul escort | ataköy escort | avcılar escort | beylikdüzü escort

สรุป

การรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนมีหลายวิธี และหลายลำดับขั้นตอน แต่โดยรวมแล้วผู้ป่วยที่จะได้รับผลดีจาก การรักษาด้วยฮอร์โมนนั้นจะต้องเป็นผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อมะเร็งเต้านมชนิด ที่มีตัวรับสัญญาณกระตุ้นจากฮอร์โมน เอสโตรเจน (estrogen or progesterone receptor-positive) ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วย เป็นหญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้วและยอมรับข้อดีข้อเสียของการรักษาแต่ละชนิด ความโดดเด่นของวิธีการรักษามะเร็งเต้านมด้วยฮอร์โมนก็คือ การบริหารยาง่ายส่วนใหญ่เป็นยาที่รับประทานได้ และผลข้างเคียงมีไม่มาก ขณะที่ผลการรักษาได้ผลดี

เนื่องจากการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมในผู้หญิง มีส่วนหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมน ฮอร์โมนที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ของมะเร็งเต้านม คือ

  1. ฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน (estrogen)) ซึ่งผลิตจากรังไข่ (Ovary) ในหญิงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ และจากต่อม หมวกไต (adrenal gland) ในหญิงที่หมดประจำเดือนแล้วหรือในหญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกไปแล้ว
  2. ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งผลิตจากรังไข่
  3. ฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน (androgen)) ผลิตจากต่อมหมวกไต
  4. คอติโคสเตียรอย (Corticosteroid) ผลิตจากต่อมหมวกไต
  5. ฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ซึ่งกระตุ้นการหลั่งน้ำนม และฮอร์โมนอีกหลายชนิดที่เป็นตัวควบคุมการหลั่ง ümraniye escort | kadıköy escort | vip escort | mersin escort

ฮอร์โมนชนิดที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด (Tropic hormone) ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) การรักษาจึงทำโดยการลดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายลงหรือใช้ยาที่เข้าไปขัดขวางการส่งสัญญาณขอฮอร์โมนที่เซลล์ มะเร็งโดยทั่วๆ ไปแล้วการรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนจะได้ผลดี ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ตรวจพบว่า เป็นเซลล์ที่มีตัวรับสัญญาณ ฮอร์โมนอยู่ในเซลล์ ซึ่งพบได้ประมาณ 60-70% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนสูงอายุ เป็นวิธีที่ นิยมใช้กันอย่างมากทั้งนี้เป็นเพราะว่ามีผลแทรกซ้อนข้างเคียงน้อยกว่าการให้เคมีบำบัดมาก และวิธีการบริหารยาก็สะดวก สำหรับผู้ป่วยมากกว่าการให้เคมีบำบัด

HER2 Positive คือ เป็นผลการทดสอบโปรตีนตัวหนึ่งที่เรียกว่า Human epidermal growth factor receptor (HER2) ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีการพบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะพบ HER2 positive นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับยีนส์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้สามารถทำให้เกิดมะเร็งได้หลายชนิด ไม่เพียงแต่มะเร็งเต้านม

การพบ HER2 Positive ในมะเร็งเต้านม พบว่ามีแนวโน้มของความรุนแรงของโรคมากขึ้น และตอบสนองต่อการรักษา โดยการใช้ฮอร์โมนน้อยลง อย่างไรก็ตามมีการวิจัยค้นคว้าการรักษาใหม่ ๆ โดยเฉพาะต่อผู้ป่วยในกลุ่ม HER2 Positive มากขึ้น และก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ได้แก่ maltepe escort | izmir escort | istanbul escort | istanbul escort

  1. Trastuzumab (Herceptin) เป็นยาเฉพาะต่อ HER2 กลไกฆ่าเซลล์มะเร็งและลดโอกาสการกลับมาเป็นใหม่ Herceptin สามารถใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน หรือใช้เพียงอย่างเดียว จากข้อมูลของงานวิจัยในปี 2005 พบว่า Herceptin ช่วยลดโอกาสการกลับมาเป็นใหม่ของมะเร็งเต้านมได้ประมาณ 50% แต่อย่างไรก็ตามราคายาค่อนข้างแพงมาก
  2. Lapatinib (Tykerb) คล้ายกับ Herceptin เป็นกลุ่มยาเฉพาะต่อ HER2 ได้รับการยอมรับขององค์การอาหารและยา ของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2007 ใช้สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่มี HER2 Positive ที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยา Herceptin Tykerb ใช้ร่วมกับยาเคมีบำบัด Capecitabine (Xeloda)

การรักษามะเร็งเต้านมนั้น บ่อยครั้งที่จำเป็นต้องใช้เคมีบำบัด หรือฮอร์โมนรักษาร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การหายขาดของโรคสูงขึ้น ป้องกันการกระจายจากการผ่าตัด หรือรักษาเพื่อบรรเทาอาการในผู้ป่วยที่เป็นมากแล้ว

ข้อบ่งในการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือฮอร์โมนมี 3 ประการคือ

  1. การรักษาเสริม หมายความว่า หลังจากผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดแล้ว พบว่าการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัด หรือฮอร์โมน ในบางระยะ หรือสภาวะของโรคจะทำให้โอกาสหายขาดสูงขี้น
  2. การให้เคมีบำบัด หรือฮอร์โมนก่อนการผ่าตัด โดยทั่วไปจะให้ในผู้ป่วยที่มะเร็งก้อนใหญ่ อักเสบ มีการลุกลามไปยังผิวหนังหรือ ต่อมน้ำเหลือง หากผ่าตัดก่อนอาจทำให้มะเร็งกระจายเข้ากระแสเลือด หรือทางเดินน้ำเหลืองได้ ümraniye escort | kartal escort | şirinevler escort
  3. การให้เคมีบำบัด หรือฮอร์โมน ในผู้ป่วยที่โรคกระจายไปอวัยวะอื่นๆ แล้ว ทั้งนี้เพื่อรักษาบรรเทาอาการต่างๆ ของผู้ป่วยการเลือกใช้เคมีบำบัด หรือฮอร์โมน ในการักษามะเร็งเต้านมนั้น ขึ้นกับ 2 ปัจจัยคือ ตัวผู้ป่วยเอง เช่น อายุ ภาวะของประจำเดือน

สภาพทั่วๆ ไปของผู้ป่วย อีกปัจจัยหนึ่งก็คือ พยาธิสภาพของตัวมะเร็งเอง ซึ่งมีความหลากหลาย เช่น ระยะของโรค ลักษณะเซลล์มะเร็งว่า เป็นตัวแก่หรือตัวอ่อน อัตราการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หรือการตอบสนองของเซลล์มะเร็งต่อฮอร์โมน เป็นต้น

สำหรับการเลือกวิธีการรักษาระหว่างเคมีบำบัด หรือฮอร์โมนนั้น แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นๆ เช่น ในผู้ป่วยที่มะเร็งลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว มักจะใช้เคมีลำบัดในการรักษาเสริมหลังจากผ่าตัด แต่ถ้าผู้ป่วยอายุมากแล้วและมะเร็งตอบสนองกับฮอร์โมน ก็ควรจะใช้ฮอร์โมนในการรักษาเพราะผู้ป่วยอาจทนภาวะข้างเคียงของเคมีบำบัดไม่ได้ ในบางสภาวะของโรคแพทย์อาจจะให้การรักษาทั้งเคมีบำบัดร่วมกับฮอร์โมน ซึ่งจะทำให้โอกาสหายขาดของโรคสูงขึ้น