เกี่ยวกับการฉายรังสี

- การวินิจฉัยโรคด้วยสารกัมมันตรังสี อาศัยหลักการเช่นเดียวกับการใช้สารกัมมันตรังสีในการรักษาโรค คือ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าไป ซึ่งอาจจะได้รับโดยการฉีด การรับประทาน หรือการหายใจเข้าไป สารกัมมันตรังสีจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีความเฉพาะเจาะจง จากนั้นจะแผ่รังสีแกมมาออกมา (รังสีแกมมาเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า) โดยรังสีแกมมาจะแสดงตำแหน่งที่ผิดปกติจากภายในร่างกายออกมา ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องมือชนิดพิเศษทำการตรวจจับรังสีแกมมาแล้วนำมาสร้างเป็นภาพต่างๆ ของร่างกายภาพที่ได้จะถูกประมวลผล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย

การตรวจวินิจฉัยโรคทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้แก่

1. การวินิจฉัยสมอง (Brain Scan): ใช้ในการศึกษาการไหลเวียนของเลือดในสมองและศึกษาปัญหาทางสมองต่าง ๆ เช่น โรคสมองอักเสบ โรคลมชัก และความจำเสื่อม
2. การตรวจต่อมธัยรอยด์ (Thyroid Uptake and Scan): ใช้ในการศึกษาความผิดปกติของต่อมธัยรอยด์ ตลอดจนดูการทำงานของต่อมธัยรอยด์ว่ามีการทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
3. การวินิจฉัยปอด (Lung Scan): เป็นการศึกษาที่ใช้บ่อยเพื่อวินิจฉัยการอุดตันของหลอดเลือดในปอด
4. การวินิจฉัยระบบหัวใจ (Cardiac Imaging): เป็นการศึกษาที่ใช้เพื่อดูการทำงานของหัวใจและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
5. การวินิจฉัยการทำงานของระบบทางเดินอาหาร (GI Imaging): ใช้ในการศึกษาการทำงานของระบบทางเดินอาหารและภาวะอุดตันของระบบทางเดินน้ำดี
6. การตรวจกระดูก (Bone Scan): ใช้ในการตรวจหาบริเวณที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งมายังกระดูกและดูการติดเชื้อของกระดูก

- การรักษาและบำบัดโรคด้วยสารกัมมันตรังสี อาศัยหลักการดังนี้ คือ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารกัมมันตรังสี โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปในร่างกาย สารกัมมันตรังสีนั้นจะเข้าสู่อวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่มีความเฉพาะเจาะจง และมีผลทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นได้รับรังสีอย่างเต็มที่โดยตรงขณะเดียวกันเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียงจะได้รับปริมาณรังสีในระดับต่ำ จึงลดอันตรายจากรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติและทำให้สามารถบริหารสารกัมมันตรังสีซ้ำได้หลายครั้งโดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่อเนื้อเยื่อปกติอื่น สำหรับประสิทธิภาพของการรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีพบว่า มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา อาทิเช่น ผู้ป่วยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษสามารถหายจากโรคหลังจากรับประทานสารกัมมันตรังสีไอโอดีน เพียงครั้งเดียว ถึง 60% ผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์บางชนิดพบว่ามีอัตราการตายต่ำลง หลังจากได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีและผู้ป่วยที่มีอาการปวดกระดูกจากการแพร่กระจายของมะเร็งพบว่า 70% ของผู้ป่วยหลังได้รับการรักษา มีอาการปวดลดลง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น

- นอกจากการใช้รังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมม่าดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างมากมาย เช่น ใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของมะเร็งมายังกระดูก ตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตรวจการทำงานของไต ตรวจการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันการรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีได้มีการยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะการใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน (131I) เพื่อรักษาภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษและมะเร็งต่อมธัยรอยด์ ได้มีการใช้กันมากกว่า 50 ปีแล้ว เราเรียกศาสตร์ดังกล่าวนี้ว่า เวชศาสตร์นิวเคลียร์

ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักว่า "สารกัมมันตรังสี" คืออะไรก่อน สารกัมมันตรังสี คือ สารที่สามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปรังสี ซึ่ง รังสีที่ปลดปล่อยออกมามีหลายชนิด เช่น รังสีเบต้า รังสีแกมมา เป็นต้น ซึ่งรังสีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย

- ไม่ใช่แหล่งกำเนิดรังสีแบ่งเป็นแหล่งใหญ่ได้ 2 แหล่ง คือ จากธรรมชาติ เช่น รังสีคอสมิคจากอวกาศ รังสีจากพื้นโลกและมนุษย์สร้างขึ้น รังสีจากแพทย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งรวมถึงรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เป็นต้น (เพิ่มชนิดของรังสีที่ใช้ทางการแพทย์)

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า รังสีมีอันตรายแต่มนุษย์นำประโยชน์ของรังสีมาใช้ทางการแพทย์ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ นักรังสีเทคนิค นักฟิสิกส์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป จำเป็นต้องรู้จักวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสี โดย

- ลดเวลาในการสัมผัสรังสี นั้นคือ ใช้เวลาให้น้อยที่สุดในการสัมผัสรังสี เช่น เอกซเรย์
- ใช้วัสดุกำบังรังสี เช่น เสื้อตะกั่ว, กำแพงกำบังรังสี
- บุคคลซึ่งไม่เกี่ยวข้องพยายามอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดรังสีให้มากที่สุด
- บุคลากรทางการแพทย์มีเครื่องวัดปริมาณรังสีติดตัว มีเครื่องตรวจวัดรังสีประจำห้องชนิดของรังสีที่ใช้ทางการแพทย์

รังสีเอกซ์ เป็นรังสีที่มนุษย์ทำขึ้น รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพวกเดียวกับคลื่นแสง แต่มีความถี่สูงจึงมีพลังงานสูงสามารถทะลุผ่านวัตถุต่างๆ ได้ รังสีเอกซ์พลังงานช่วงกิโลอิเล็กตรอนโวลท์ใช้ในการวินิจฉัยโรค รังสีเอกซ์ขนาดพลังงานสูงในช่วงล้านอิเล็กตรอนโวลท์ ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งที่อยู่ลึกเข้าไปจากผิว

รังสีแกมมา เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอกซ์ สารกัมมันตรังสีที่นำมาใช้อาจอยู่ในรูปของแข็ง เช่น โคบอลต์-60 ซีเซี่ยม-137 ใช้รักษาโรคโดยการฉายรังสีและใส่แร่ ส่วนสารกัมมันตรังสีที่อยู่ในรูปของเหลวใช้ในงานของเวชศาสตร์นิวเคลียร์

รังสีเบต้า เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ซึ่งอาจอยู่ในรูปของแข็ง เช่น สตรอนเชียม-90 รักษาโรคตา หรืออยู่ในรูปของเหลวใช้ในการรักษาและวินิจฉัยโรค

ลำอิเล็กตรอน ได้จากเครื่องเร่งอนุภาค เช่นเดียวกับรังสีเอกซ์พลังงานสูง ใช้รักษามะเร็งที่อยู่ใกล้พื้นผิวรังสีใช้รักษาโรคได้อย่างไร

ในปัจจุบันนี้รังสีมีประโยชน์สำคัญทางการแพทย์อย่างหนึ่ง คือ การนำรังสีมาใช้รักษาและบำบัดโรคมะเร็งรังสีรักษาทางการแพทย์เรียกง่ายๆ ว่าการฉายรังสี หรือการฉายแสง ซึ่งรังสีที่ใช้รักษานี้มีพลังงานสูงทำให้มีอำนาจในการทะลุทะลวงเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์ได้ดี แหล่งกำเนิดรังสีมี 2 ประเภท คือ แหล่งกำเนิดรังสีที่มนุษย์ผลิตขึ้น เช่น เครื่องเร่งอนุภาคซึ่งให้รังสีเอกซ์และแหล่งกำเนิดรังสีจากธรรมชาติ เช่น สารกัมมันตรังสีต่างๆ ได้แก่ โคบอลต์-60 ซีเซียม 137 อิริเดียม 192 เป็นต้น ซึ่งให้รังสีแกมมา นอกจากนี้ยังมีรังสีอื่นๆ เช่น รังสีอิเล็กตรอน โปรตอน หรือนิวตรอน เป็นต้น

รังสีที่ได้จากแหล่งกำเนิดดังกล่าวข้างต้น สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีหลักการคือรังสีจะฆ่าเซลล์ที่เติบโตเร็ว ดังนั้น เซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเร็วจึงถูกทำลายได้ง่าย อย่างไรก็ตามเซลล์ปกติในร่างกายมนุษย์ซึ่งแบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เยื่อบุลำไส้ ก็มีโอกาสถูกทำลายด้วย โดยทั่วไปเซลล์ปกติของมนุษย์มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเอง ได้ดีกว่าเซลล์มะเร็งจึง สามารถกลับสู่สภาวะปกติได้ดีหลังจากได้รับรังสี นอกจากนี้แพทย์ทางรังสีรักษามีเครื่องมือและวิธีการเพื่อทำให้ลำรังสีเข้าถึงบริเวณที่เป็นก้อนมะเร็งได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

โดยสุรปหลักการทางรังสีรักษา คือ ฆ่าเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุด โดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติ ปัจจุบันมีมะเร็งหลายชนิด ซึ่งสามารถรักษาหายได้ด้วยรังสีรักษา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งผิวหนังรังสีรักษามีผลต่อมะเร็งเฉพาะบริเวณที่ฉายเท่านั้น ซึ่งเปรียบเสมือนการผ่าตัด ซึ่งตัดเฉพาะส่วนที่ไม่ดีออก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีและการผ่าตัดเป็นการรักษาเฉพาะที่ และไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันแพทย์ทางมะเร็งวิทยาจะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน กล่าวคือให้การผ่าตัดและฉายรังสีเป็นการรักษาเฉพาะที่และใช้การรักษาเสริม คือ การให้ยาเคมีบำบัดหรือยาต้านเซลล์มะเร็งฉีดหรือกิน เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจกระจายอยู่ในอวัยวะอื่นๆ

นอกจากการรักษาด้วยรังสีแบบระยะไกล โดยใช้เครื่องฉายรังสีแล้ว การใส่แร่หรือการรักษาด้วยรังสีแบบระยะใกล้ (Brachytherapy)ยังเป็น อีกรูปแบบหนึ่งของการใช้รังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งโดยแพทย์จะนำสารกัมมันตรังสีซึ่งอยู่ในรูปแบบเม็ดหรือแท่งขนาดเล็กให้เข้าไปอยู่ชิดบริเวณที่เป็นมะเร็งให้มากที่สุด การใส่แร่นี้สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การวางแร่ในเข็มซึ่งแทงเข้าไปในก้อนมะเร็ง หรือการวางแร่ในก้อนมะเร็งโดยตรง (Interstitial Implantation) การวางแร่ในเครื่องมือสอดใส่แร่ของมะเร็งปากมดลูก (Intracavitary Brachytherapy)และการวางแร่ลงในสายพลาสติก เพื่อรักษาอวัยวะที่เป็นรูกลวง (Intraluminal Brachytherapy) เช่น มะเร็งหลอดอาหาร

โดยปกติแล้วการรักษาด้วยรังสีแบบระยะไกลด้วยเครื่องฉายรังสี และการใส่แร่ หรือการรักษาด้วยรังสีแบบระยะใกล้ ไม่ทำให้ผู้ป่วยซึ่งได้รับการฉายรังสีมีรังสีตกค้างอยู่ในตัว นั่นคือผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ อยู่ใกล้วคนใกล้ชิดได้เหมือนคนปกติ อย่างไรก็ตามการดื่มสารกัมมันตรังสี เช่น ไอโอดีน 131 ซึ่งใช้ในการรักษาหรือวินิจฉัยต่อมธัยรอยด์ อาจมีรังสีตกค้างในตัวผู้ป่วยหรือสิ่งคัดหลั่ง ซึ่งรังสีที่ตกค้างนั้นเป็นรังสีซึ่งมีค่าครึ่งชีวิตสั้น กล่าวคือ รังสีจะลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลรักษาจะให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในช่วงเวลาดังกล่าวโดยผู้ป่วยต้องแยกตัวจากคนใกล้ชิดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และเมื่อปริมาณรังสีหมดไปก็สามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติ

ผู้ป่วยซึ่งอยู่ในช่วงที่ใช้รังสีรักษา จะได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิด จากแพทย์ พยาบาล นักฟิสิกส์การแพทย์ เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุดและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด

ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากขึ้น จึงมีการนำเครื่องมือสมัยใหม่ซึ่งมีความแม่นยำปลอดภัยมาใช้ในทางรังสีรักษา ได้แก่ การผ่าตัดโดยใช้รังสี เช่น แกมมาไนฟ์ (Gamma Knife) การฉายรังสี 3 มิติ (3 Dimension Radiation Therapy) และการฉายรังสีปรับความเข้ม (Intensity- modulated radiation therapy) ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ใกล้อวัยวะสำคัญ

สำหรับผลข้างเคียงของการรับการรักษาด้วยรังสี ถึงแม้ว่าอาจทำให้เกิดความไม่สบายตัวอยู่บ้างแต่ผลข้างเคียงมักจะบรรเทาอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับการรักษาครบ แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ดูแลตลอดการฉายรังสีและเมื่อครบการรักษาแล้ว โดยปกติผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกัน ตามตำแหน่งที่ได้รับรังสี ปริมาณรังสีและสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนหน้าที่จะได้รับรังสี ผลข้างเคียงซึ่งพบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ผิวหนังคล้ำบริเวณที่ถูกรังสี ความอยากอาหารลดลง ขนหรือผมบริเวณที่ถูกรังสีบางลง ซึ่งผลข้างเคียงนี้มักไม่รุนแรงและผู้ป่วยยังสามารถทำงานหรือกิจวัตรได้เช่นเดียวกับก่อนฉายรังสี

นอกจากรังสีจะใช้รักษาก้อนมะเร็งแล้ว ยังมีการใช้รังสีเพื่อบรรเทาอาการปวด จากมะเร็งระยะลุกลาม เช่น การปวดกระดูกการปวดศีรษะจากมะเร็งลุกลามไปที่สมอง (Brain Metastasis) การใช้รังสีเพื่อช่วยในการปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow-Transplantation) การใช้รังสีเพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งมาที่สมอง (CNS Prophylaxis) และการรักษาโรคอื่น นอกจากโรคมะเร็ง เช่น การป้องกันเส้นเลือดอุดตันซ้ำหลังผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ (Restenosis Prophylaxis) การป้องกันการเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัด (Keloid Prophylaxis) เป็นต้น

- มีบ้างแต่ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีในการวินิจฉัยโรค ปริมาณรังสีจะน้อยเมื่อเทียบกับการใช้รังสีในการรักษาโรค การใช้รังสีการศึกษาปริมาณต่ำเกินไปอาจเป็นผลเสียในการวินิจฉัยโรค เช่น อ่านผลไม่ได้ หรือไม่ถูกต้องแม่นยำ เป็นต้น หรืออาจทำให้การรักษาไม่เป็นผลก็ได้และประสบการณ์จะช่วยให้ใช้ประโยชน์จากรังสีได้สูงสุด และลดความเสี่ยงลงการใช้รังสีในการวินิจฉัยโรคบางประเภท ใช้ปริมาณรังสีสูง เช่น การวินิจฉัยโรคในระบบช่องท้อง โดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ข้อมูลสถิติทางการแพทย์ แสดงว่าความเสี่ยงจากรังสีที่ทำให้เกิดการตายเนื่องจากโรคมะเร็งมีประมาณ 1 ใน 2,000 คน หรือ 0.05% ในขณะที่ความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นมีถึง 1 ใน 4 หรือ 25%

- การเกิดอาการบวมและปวด เกิดจากการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกรานนั้นทำให้เกิดพังผืดมายึดบริเวณขาหนีบ ทำให้เกิดอาการบวมหรือการปวดของขาและบริเวณเหนือหัวเหน่า การบริหารร่างกายจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้
วิธีการออกกำลังกาย ทำได้ดังนี้

ก้มตัวกลับกับแอ่นตัวไปข้างหน้า
ส่ายสะโพกเป็นวงกลมช้า ๆ
ยืนตรง มือข้างหนึ่งท้าวบนโต๊ะหรือฐานที่มั่นคง แกว่งขาไปข้างหน้าและหลังสลับกัน โดยทำทั้ง 2 ข้าง
ยืนตรง กางขาออกทางด้านข้างและหุบกลับในท่าเดิม โดยทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง
นอนหงาย งอเข่าและสะโพก โดยให้มุมใต้เข่ากางประมาณ 60 องศา ฝ่าเท้าวางราบให้เต็มที่และกลับสู่ท่าแรก พักและทำสลับข้างในท่าเดียวกันตามลำดับ
เวลานอนควรยกขาสูงเล็กน้อย เพื่อลดการคั่งของเลือดในบริเวณขา

- ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ เนื่องจากการฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราน จะมีผลกระทบกระเทือนต่ออวัยวะสืบพันธ์ภายใน คือผลกระทบต่อรังไข่ มดลูก ช่องคลอด และต่อมผลิตสารหล่อลื่นภายในช่องคลอด อาจเกิดอาการช่องคลอดแห้งและคัน หรือเกิดตกขาว หรือมีน้ำใสๆไหลออกจากช่องคลอด ซึ่งเกิดจากการที่ก้อนเนื้องอกอาจถูกทำลายร่วมกับการอักเสบของเยื่อบุภายในช่องคลอดอาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการฉายรังสี และภายหลังการฉายรังสี ประมาณ 2-3 เดือน เพราะจะเกิดการอักเสบของเยื่อบุช่องคลอดทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

- ในทางการแพทย์ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่กำลังทำการรักษาไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การฉายรังสีหรือเคมีบำบัด จะต้องได้อาหารที่มีโปรตีนสูงและครบทั้ง 5 หมู่ เพื่อให้ได้พลังงานมากกว่าคนปกติ 3 เท่า แต่ในผู้ป่วยบางรายที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่สุก สะอาด รับประทานอาหารที่สด เช่น ผัก ผลไม้ ควรเลือกชนิดของผัก ผลไม้ ให้เหมาะสม ล้างให้สะอาด ปรุงให้สุก ดังนั้นการรับประทานอาหารชีวจิตเป็นความเชื่อของแต่ละบุคคลแต่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยมะเร็งที่กำลังรับการรักษาอยู่ และลำพังการรับประทานชีวจิตไม่เป็นการรักษาโรคมะเร็ง บางรายที่รับประทานอาหารชีวจิตส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือด ทำให้ผลการรักษาของแพทย์ไม่ดีเท่าที่ควร

- โดยทั่วไปในผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณส่วนตาง ๆ ของร่างกายควรมีการดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2,000-3,000 ซีซี เพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ และในผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณช่องท้องยิ่งมีความจำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ เช่นกันเพื่อลดอาการขาดน้ำ อาการขาดน้ำจากท้องเสีย การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะในผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน

- ยาสมุนไพรบางชนิดจะมีการออกฤทธิ์เสริมกับยาที่แพทย์ให้รับประทานอยู่ ดังนั้นควรศึกษาสมุนไพรเกี่ยวกับการออกฤทธิ์อย่างรอบคอบก่อนใช้ และควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

- การใช้อาหารเสริมสามารถทำได้โดยปรึกษาแพทย์ที่รักษาอยู่เพื่อขอความคิดเห็น แต่การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพียงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีมีสุขภาพที่แข็งแรงได้
ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริม แต่ส่วนใหญ่ใช้เป็นการรักษาทางจิตใจมากกว่ายาสมุนไพรบางอย่างที่ช่วยบรรเทาอาการผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องอืด เวียนศีรษะ เป็นต้น

- ในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ ปกติช่องปากจะเกิดการอักเสบเมื่อได้รับปริมาณรังสีที่สูงประมาณ 4,000 เซนติเกรย์ขึ้นไป ซึ่งในผู้ป่วยแต่ละราย อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นกับปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยที่เคยสูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้ามาก กินหมาก และในผู้ป่วย ที่มีสุขภาพในช่องปากไม่ดี มักจะเกิดอาการอักเสบของช่องปากได้ง่าย และรุนแรงกว่าผู้ป่วย ที่มีสุขภาพของช่องปากที่ดีกว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดร่วมกับการฉายรังสี จะเป็นปัจจัยเสริมให้ผู้ป่วยมีการ อักเสบของช่องปากที่รุนแรงเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะพบว่าได้รับปริมาณรังสีประมาณ 2,000-3,000 เซนติเกรย์

- การทำ Detox ควรปรึกษาแพทย์ เพราะในบางกิจกรรมมีข้อจำกัดของผู้ป่วยแต่ละราย เช่น มีการทะลุของลำไส้และช่องคลอด หรือมีเลือดออกทางทวารหนัก หรือมีริดสีดวงทวาร

- ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีไม่ควรนอนอาบแดดเนื่องจากแสงแดดจะทำให้เกิดปฏิกิริยากับผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี อาจทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเกิดการอักเสบหรือเกิดรอยไหม้ได้

- การฉายรังสีเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเฉพาะที่ จะไม่มีการสะสมรังสีในร่างกาย

- การฉายรังสีในแต่ละครั้ง จะไม่มีปริมาณรังสีในร่างกายสะสมอยู่หลังจากหยุดฉายรังสี สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น สามารถสัมผัสหรือใกล้ชิดบุคคลอื่นได้ สามารถรับประทานอาหารร่วมกับบุคคลอื่นได้

- ในผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณช่องท้อง อาการข้างเคียงที่พบคือ อาจมีอาการท้องเสียได้ไม่ถือเป็นความผิดปกติ แต่ควรมีการประเมินแบบแผนของการขับถ่ายอุจจาระในผู้ป่วยแต่ละรายว่าเป็นอย่างไร ในผู้ป่วยบางรายถ่ายอุจจาระ 2-3 ครั้งต่อวันเป็นประจำอยู่แล้วถือเป็นภาวะปกติส่วนใหญ่ในผู้ป่วยทั่วไปที่ถ่ายอุจจาระวันละ 1 ครั้ง หรือ 2 วันถ่าย 1 ครั้ง หลังฉายรังสีแล้วถ่ายมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน อาจมีถ่ายเป็นน้ำร่วมด้วย
     ถ้ามีอาการท้องเสีย ควรปฏิบัติตัวดังนี้ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ย่อยง่าย มีกากใยน้อย อาหารมีโปรตีนและแคลอรี่สูง รสไม่จัด เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หลีกเลี่ยงอาหารประเภทนม ผลิตภัณฑ์จากนมและอาหารหรือเครื่องดื่มที่ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร รวมทั้งอาหารที่ทำให้เกิดลม เช่น กาแฟ ถั่ว ให้ดื่มน้ำเกลือแร่มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และเพื่อให้ร่างกายทุเลาจากอาการอ่อนเพลีย รายงานให้พยาบาลและแพทย์ทราบ บันทึกสัญญาณชีพเพื่อประเมินการติดเชื้อ อาการขาดน้ำในบางรายถ้าถ่ายอุจจาระมากอาจต้องเก็บอุจจาระส่งตรวจเพื่อดูการติดเชื้อ และหากมีอาการท้องเสียมากแพทย์อาจให้ยาหยุดถ่ายและยาบรรเทาอาการปวดท้องแก่ผู้ป่วยด้วย และที่สำคัญผู้ป่วยต้องดูแลทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายด้วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณที่ฉายรังสีสามารถทาแป้งหรือโลชั่นได้หรือเปล่าห้ามใช้แป้ง สบู่หรือเครื่องสำอางค์ทาบริเวณที่ฉายรังสี เพราะอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้
     ส่วนโลชั้นที่ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง (ไม่มีส่วนประกอบของ Alcohol) สามารถทาได้แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เช่น Ph5 ส่วนโลขั้นอื่น ๆ ไม่ควรซื้อมาทาเอง เพราะอาจมีส่วนประกอบของ Alcohol หรือเครื่องสำอางค์ปนอยู่ สามารถทำให้ผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสีระคายเคืองมากกว่าเดิมได้

- เส้นที่ขีดไว้สามารถโดนน้ำได้ สามารถอาบน้ำได้ แต่ห้ามขัดหรือเช็ดแรง ๆ ห้ามฟอกสบู่บริเวณที่ฉายรังสี ถ้าเส้นที่ขีดไว้ลบรีบแจ้งแพทย์และพยาบาลทราบทันที ห้ามผู้ป่วยขีดเส้นเองในผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณช่องท้อง ถ้ามีอาการท้องเสียถือว่าผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีอาการ

- ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะจะเกิดผมร่วงบริเวณที่รังสีผ่า ผมจะร่วงมากหรือน้อย รวมทั้งผมจะกลับขึ้นมาเมื่อใดและลักษณะใดขึ้นกับปริมาณรังสี ส่วนใหญ่แล้วถ้าปริมาณรังสี สูงมากกว่า 4,000 เซนติเกรย์ จะทำให้ผมร่วมและผมจะกลับงอกขึ้นมาใหม่ ภายหลังการรักษา เสร็จสิ้นแล้ว 2-3 เดือน และเส้นผมที่งอกขึ้นมาใหม่จะเส้นเล็ก อ่อนนุ่มและบางกว่าเดิม และ ผมอาจร่วงถาวรได้ หากได้รับปริมาณรังสีที่สูงมาก ๆ

ผลข้างเคียงของการฉายรังสีไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกราย โดยทั่วไปแพทย์รังสีรักษาแบ่งผลข้างเคียงตามเวลาที่เกิด ผลข้างเคียงที่
เกิดขณะฉายรังสีถึงหลังครบฉายรังสี 6 เดือน เรียกว่า ผลข้างเคียงแบบเฉียบพลัน ซึ่งผลข้างเคียงนี้ขึ้นอยู่กับ
1. ปริมาณรังสีที่ฉายต่อวัน หากปริมาณรังสีต่อวันมากก็จะมีผลข้างเคียงมาก
2. เทคนิคการฉายรังสี การฉายรังสีบางเทคนิค เช่น การฉายรังสีบริเวณผนังทรวงอก แพทย์รังสีรักษาต้องการให้ผิวหนังได้รับรังสีมากเป็นพิเศษก็จะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นคล้ำขึ้น เป็นต้น
3. ตำแหน่งหรือบริเวณที่ฉายรังสี เช่น ฉายรังสีบริเวณช่องอก อาจมีอาการ ไอ เจ็บคอเวลากลืนอาหาร หากฉายบริเวณช่องท้องอาจทำให้คลื่นไส้ และอาเจียน หากฉายบริเวณศีรษะ อาจทำให้ผมร่วง เป็นต้น
4. ปริมาณรังสีรวม กล่าวคือ ยิ่งฉายปริมาณรังสีมากเช่น เกิน 5 สัปดาห์ก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงมากขึ้น ผลข้างเคียงแบบ
เฉียบพลันนี้มักจะดีขึ้นภายในระยะเวลา 2-3 เดือนหลังฉายรังสี ซึ่งแพทย์รังสีรักษาจะให้การรักษาแบบประคับประคองต่อผลข้างเคียง
ดังกล่าว ในผู้ป่วยบางรายที่มีผิวหนังคล้ำหรือแสบเหมือนโดนแดดเผาหรือน้ำร้อนลวก ให้ใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือเช็ดแผล เช้า-เย็น
จนแผลหาย
    ผลข้างเคียงแบบที่สอง คือ ผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งแพทย์รังสีรักษาไม่ต้องการให้เกิดและพยายามใช้เทคนิคการฉายรังสีแบบ
เฉพาะจุด เช่น การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม เป็นต้น ผลข้างเคียงระยะยาวขึ้นกับปริมาณรังสีรวมที่ผู้ป่วยได้รับและเทคนิคการฉายรังสี
โดยหากจำเป็นที่จะต้องให้รังสีปริมาณสูง แพทย์รังสีรักษาจะต้องให้ข้อมูลผู้ป่วยและเลือกเทคนิคที่จะเลี่ยงอวัยวะปกติให้ได้มากที่สุด
ตัวอย่างของผลข้างเคียงระยะยาว เช่น ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่ได้รับรังสีบริเวณเชิงกราน อาจทำให้ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือดได้หลังจาก
ฉายรังสีแล้ว 1-2 ปี หรือในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ อาจมีอาการน้ำลายแห้งถาวรได้ เป็นต้น แพทย์รังสีรักษาส่วนใหญ่จะพยายามอย่าง
ยิ่งที่จะรักษาสมดุลระหว่างการควบคุมโรคมะเร็งและผลข้างเคียงระยะยาว โดยพยายามให้ได้การควบคุมโรคที่มากที่สุดและให้มีผลข้าง
เคียงระยะยาวน้อยที่สุด

 - มีประโยชน์แน่นอนเป็นที่ทราบกันว่าวิทยาการทางรังสีแบ่งได้เป็น 3 สาขา

1. รังสีวิทยาวินิจฉัย ที่ทันสมัยใช้วิเคราะห์โรคต่างๆ ได้รวดเร็ว ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการตรวจคัดแยกโรค เช่น มะเร็งเต้านมโดยแมมโมแกรม และรังสีร่วมรักษาซึ่งได้รับการพัฒนามาภายใน 10-20 ปี นี่เอง

2. เวชศาสตร์นิวเคลียร์ มีการใช้สารกัมมันตรังสี สารเภสัชรังสีในการวินิจฉัย และรักษาโรคอย่างกว้างขวาง จากภาพการกระจายของสารรังสี หรือการนับวัดจากผู้ป่วยเพื่อศึกษาการทำงานของอวัยวะ เช่น ต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้เวชศาสตร์นิวเคลียร์ยังเป็นประโยชน์ด้านการติดตามการดำเนินของโรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น มีการศึกษาพบว่า มีความคุ้มทุนสูง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

3. รังสีรักษา การรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี เทคนิคการรักษาที่สลับซับซ้อนด้วยเครื่องมือที่มีความก้าวหน้า ทำให้มีความถูกต้องแม่นยำ มีประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงเกิดขึ้นน้อยลง การใช้รังสีอย่างพอเหมาะช่วยผู้ป่วยนับล้าน ๆ คนให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นในแต่ละปีในบางกรณีมีการใช้รังสีเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดลง ผู้ป่วยไม่ต้องทนทุกทรมาน จึงเห็นได้ว่าการใช้รังสีเป็นวิธีการพื้นฐานในการวินิจฉัยและรักษาโรคที่มีการเปรียบเปรยว่า สถาบันทางการแพทย์ที่ทันสมัยแต่ไม่ใช้ รังสี เสมือนเป็นการดำเนินการไม่ครบวงจร

โดยทั่วไปการฉายรังสีจะไม่ทำให้ผมร่วง ยกเว้นการฉายรังสีที่ศีรษะโดยตรง ผมร่วงที่เกิดในผู้ป่วยมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ต่อไปนี้

  1. จากยากเคมีบำบัด ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก แต่จะไม่ได้ร่วงถาวรและไม่ได้เกิดในผู้ป่วยทุกราย จะเกิดในยาเคมีบำบัดบางตัว โดยทั่วไปผมจะงอกกลับขึ้นมาใหม่หลักจากหยุดให้ยาแล้วประมาณ 1 เดือน
  2. จากการฉายรังสีที่บริเวณศีรษะ
  3. จากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรักษา เช่น ขาดสารอาหาร, ติดเชื้อที่ผิวหนังที่ศีรษะ

เนื่องจากเซลล์มะเร็งเป็นเซลล์ที่แบ่งตัวมากผิดปกติและสูญเสียความสามารถ ในการซ่อมแซมตนเองเมื่อโดนรังสี การฉายรังสีครั้งละเพียงเล็กน้อยแต่บ่อยครั้ง จะทำให้ก้อนมะเร็งค่อย ๆ ตายโดยไม่สามารถซ่อมแซมตนเองได้และ เส้นเลือดสามารถนำอ็อกซิเจนเข้าสู่ก้อนมะเร็งเพื่อทำปฏิกิริยาเสริมฤทธิ์ของ รังสีได้มากขึ้น ในขณะที่เซลล์ปกติของ ร่างกายที่โดนรงสีเพียงเล็กน้อยก็สามารถซ่อมแซมตนเองได้ ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายเพียงเล็กน้อย

จำนวนครั้งที่ฉายรังสี ขึ้นกับชนิดของเซลล์มะเร็ง บางชนิดให้รังสีเพียงแค่ 15-20 ครั้ง ในขณะที่บางชนิดต้องให้ รังสีสูงถึง 35-40 ครั้ง ในรายที่สภาพร่างกายไม่เหมาะที่จะรับการรักษาเป็นระยะเวลานาน ๆ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาที่รวดเร็ว อาจจะได้รับรังสีเพียง 1-15 ครั้ง แต่จะได้รับปริมาณ รังสีสูงขึ้นในแต่ละครั้ง ซึ่งขึ้นกับดุลพินิจแพทย์ผู้รักษา

- ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป กอดลูกหลานได้ ทานอาหารร่วมกับผู้อื่นได้ รังสีจะ ออกฤทธิ์เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น