อุบัติการและปัจจัยเสี่ยง
มะเร็งหู คอ จมูก เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อย จากสถิติโรคมะเร็ง โรงพยาบาลจุฬา- ลงกรณ์ ในปี พ.ศ. 2540 พบประมาณ 11.40% ของมะเร็งทั้งหมด ชาย:หญิง = 2.8:1 สาเหตุสำคัญของมะเร็งบริเวณ หู คอ จมูก ก็คือบุหรี่และเหล้า เหล้าเป็นตัวเสริมบุหรี่ (potentiator) ในการก่อมะเร็ง และเชื่อว่าตัวมันเองก็เป็นสารก่อมะเร็งด้วย นอกจากนี้ยังพบว่าการอมยาเส้น (smokeless tobacco) การสูบกันชาและการเคี้ยวหมากก็เป็นสาเหตุของมะเร็งบริเวณนี้ด้วย
อาชีพที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งบริเวณนี้คือ nickel refining, ช่างไม้ และคนงาน โรงงานทอผ้า ในเรื่องของอาหารนั้นพบว่า ผักและผลไม้สามารถลดอุบัติการของมะเร็งบริเวณนี้ นอกจากนี้วิตามิน A, C และ carotenoids สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งได้
ได้มีการพบ DNA จาก human papillomavirus ในเนื้อเยื่อมะเร็งบริเวณ หู คอ จมูก และพบ DNA จาก Epstein-Barr Virus (EBV) ในเนื้อเยื่อมะเร็งหลังโพรงจมูก และยังพบว่าระดับ Ig G และ Ig A antibodies ต่อ antigens ของ virus นี้สูงขึ้นในผู้ป่วยแสดงว่าไวรัสเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดมะเร็ง
มะเร็งหลังโพรงจมูก มีสาเหตุแตกต่างจากมะเร็งบริเวณอื่นของ หู คอ จมูก โดยสิ้นเชิง นั่นคือ มีสาเหตุจาก EBV และการบริโภคปลาเค็มในวัยเด็ก หรือหลังอย่านม Plummer-Vinson Syndrome เป็นสาเหตุของมะเร็งของลิ้น และ post-cricoid region โดยเฉพาะในผู้หญิง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ไม่ได้รักษาความสะอาดในช่องปาก ก็อาจเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งด้วย ในปัจจุบันมีการศึกษามากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดมะเร็งหู คอ จมูก ซึ่งพบว่าเกิดจาก activation ของ proto-oncogenes และ inactivation ของ tumor suppresson genes19 p53 mutation พบบ่อยที่สุด โดยปกติ p53 จะมีหน้าที่ควบคุมการแบ่งเซลล์การเจริญเติบโตของเซลล์ DNA repair และควบคุม apoptosis พบว่า p53 mutation เกิดใน 58% ของผู้ที่สูบบุหรี่และดื่มเหล้า *
- Deletion ของ chromosome 3 p
- Amplification และ overexpression of receptor ของ epidermal growth factor
- Amplification ของ int-2, bcl-1 oncogenes
- p 53 mutations
- 18 q deletions
อาการและธรรมชาติของโรค
อาการ มะเร็งของช่องปากมักจะมาหาแพทย์ด้วยแผลเรื้อรัง มักจะไม่มีอาการปวดในระยะแรกๆ แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดมากเฉพาะที่แสดงว่ามะเร็งนั้นอาจลุกลามลึกลงไปในส่วนนั้นๆ หรือลุกลามไปตามเส้นประสาทหรือกระดูก ผู้ป่วยจะมาด้วยต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ประมาณ 30-45% และมักพบที่ submandibular หรือ subdigastric node อาการเจ็บคอ กลืนเจ็บและ otalgia เป็นอาการที่พบบ่อย ในผู้ป่วยมะเร็งของ oropharynx ในผู้ป่วยที่เป็นมากอาจมีอาการกลืนลำบาก เสียงแหบ พูดไม่ชัด fetor oris และหายใจหอบได้ ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการของต่อมน้ำเหลืองโตประมาณ 44-76% เสียงแหบเป็นอาการสำคัญของมะเร็งสายเสียง เมื่อมะเร็งเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ เจ็บในหู หรือบริเวณ thyroid สำหรับมะเร็งของ supraglottis ในระยะแรกมักจะมีอาการกลืนเจ็บ (odynophagia) หรือผู้ป่วยมักบอกว่ามีอาการเจ็บคอ ผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกว่ามีก้อนในลำคอ เมื่อมะเร็งเป็นมากแล้วผู้ป่วยจะมีอาการเสียบแหบ เจ็บในหู มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หายใจมีกลิ่นเหม็น กลืนลำบาก หรือกลืนสำลัก
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของส่วน hypopharynx นี้มักมาด้วยอาการ odynophagia และ otalgia เมื่อมะเร็งเป็นมากแล้วจะมีอาการ dysphagia, hoarseness หรือ fetor oris และส่วนมากจะมาพบแพทย์ด้วยต่อมน้ำเหลืองโตที่คอมะเร็งบริเวณนี้เป็นมะเร็งที่มีพยากรณ์โรคเลวมาก เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์มักตรวจพบว่ามะเร็งมีการกระจายเฉพาะที่ไปมากแล้วและมักจะลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองแล้ว
ผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูก ส่วนใหญ่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการหูอื้อ ใน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาการนี้พบบ่อยที่สุด ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาหารหูอื้อแล้ว นอกจากจะตรวจหูแล้ว จะต้องตรวจ nasopharynx ทุกราย ทุกอายุ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมาด้วยอาการอื่น ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต เลือดออกทางจมูก หรือความผิดปกติของเสียงประสาทตา เป็นต้น
ผู้ป่วยมะเร็งของต่อมน้ำลาย parotid มักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการบวมหรือมีก้อนที่ parotid area นอกจากสนี้อาจจะปวดที่ก้อนหรือปวดบริเวณในหน้า กดเจ็บ trimus หรืออาจมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ส่วนมะเร็งของต่อมน้ำลาย submandibular มักจะมาด้วยอาการมีก้อนและมักจะไม่เจ็บ
ธรรมชาติของมะเร็งหู คอ จมูก
การลุกลามของมะเร็งปฐมภูมิ การลุกลามของมะเร็งปฐมภูมิขึ้นกับกายวิภาคของอวัยวะนั้น ๆ และการลุกลามจะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละอวัยวะ มะเร็งสามารถลุกลามไปได้ไกล ตาม submucosa โดยที่ mucosa จะเห็นมีลักษณะปกติ การลุกลามไปตามกล้ามเนื้อ และ fascial plane พบได้บ่อย นอกจากนี้ยังมีการลุกลามไป perineural spread ซึ่งอาจไม่ทำให้เกิดอาการ แต่จะทำให้อุบัติการการกระจายไปต่อมน้ำเหลือบริเวณคอ จะสูงขึ้น * การลุกลามของมะเร็งปฐมภูมิเข้าเส้นเลือดก็ทำให้อุบัติการการลุกลามไปต่อมน้ำเหลืองสูงขึ้นเช่นกัน * เมื่อมะเร็งเป็นมากขึ้นก็จะลุกลามไปยังกระดูกหรือกระดูกอ่อนของอวัยวะนั้น ๆ การลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง มะเร็งบริเวณหู คอ จมูก มักจะกระจายไปต่อมน้ำเหลืองมากกว่าที่จะกระจายเข้ากระแสเลือด จะพบผู้ป่วยซึ่งมะเร็งกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้กระจายไปต่อมน้ำเหลืองได้น้อย อุบัติการการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองขึ้นกับตำแหน่งและขนาดของมะเร็งปฐมภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่าการลุกลามไปด้านลึกของมะเร็งปฐมภูมิมีความสัมพันธ์กับอุบัติการการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง* histologic differentiation อาจมีความสัมพันธ์กับอุบัติการการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองด้วย
การกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ อุบัติการการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ จะสัมพันธ์กับการกระจายไปต่อมน้ำเหลืองมากกว่าขนาดของมะเร็งปฐมภูมิ 80% ของ ผู้ป่วยซึ่งมีการกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ จะเกิดภายใน 2 ปีหลังกระจายไปต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ และอวัยวะที่มะเร็งกระจายไปบ่อยที่สุดคือ ปอด และกระดูก* เยื่อบุผิวของทางเดินอาหาร-อากาศส่วนบน (upper aerodigestive tract) ปอด และหลอดอาหาร จะต่อเนื่องกันและจะ expose ต่อสารก่อมะเร็งเดียวกัน ดังนั้นอาจเกิด dysplasia หรือมะเร็งได้ในตำแหน่งเหล่านี้พร้อม ๆ กัน หรือเกิดตามหลังกัน (simultaneous/sequential) ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า Field cancerization20 ในทางคลินิคจะเห็นได้ว่าการเกิดมะเร็งครั้งที่ 2 (second primary) พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งบริเวณหู คอ จมูก ปอด หรือหลอดอาหาร
พยาธิสภาพ (Histopathology)
พยาธิสภาพที่พบบ่อยที่สุดคือ squamous cell carcinomas (SCC) มะเร็งชนิดนี้เกิดจากเยื่อบุผิว และอาจมีลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า เป็น infiltrative ulcerative exophytic หรือ verrucous ลักษณะทางพยาธิของ SCC มีได้ตั้งแต่ well-differentiated จนถึง poorly-differentiated พยาธิสภาพชนิด well / moderately well-differentiated มักพบกับมะเร็งของริมฝีปาก จมูก ช่องปาก และกล่องเสียง ส่วนมะเร็งชนิด poorly-differentiated มักพบที่มะเร็งของ oropharynx, nasopharynx, hypopharynx และ supraglottis lymphoepithelioma มีลักษณะเป็น undifferentiated carcinoma และมี lymphocyte infiltration และพบได้จากมะเร็งของ nasopharynx, base of the tongue, tonsil และ hypopharynx และตอบสนองต่อรังสีดีมาก
นอกจากนี้อาจพบพยาธิสภาพอื่น ๆ ซึ่งพบไม่บ่อยนัก เช่น lymphomas, melonomas, olfactory esthesioneublastomas, plasmacytomas, adenocarcinomas และ sarcomas ส่วนพยาธิสภาพของต่อมน้ำลาย และโพรงไซนัสจะได้กล่าวในบทนั้น ๆ ต่อไป Premalignant lesions ในบริเวณ หู คอ จมูก ได้แก่ leukoplakia, erythroplakia, hyperplasia และ dysplasia ซึ่งแต่ละชนิดสามารถกลายเป็นมะเร็งได้ 25 leukoplakia ตามคำจำกัดความของ World Health Organization หมายถึง แผ่นสีขาวที่เยื่อบุผิวซึ่งขูดไม่ออกและไม่ได้เกิดร่วมกับโรคอื่น พยาธิสภาพของ leukoplakia พบเป็น hyperkeratosis และจะมี epithelial hyperplasia หรือไม่ก็ได้ leukoplakia ที่ไม่มี epithelial hyperplasia ร่วมด้วยมีโอกาสน้อยกว่า 5% ที่จะกลายเป็นมะเร็งส่วน erythroplakia มีลักษณะเป็นแผ่นสีแดงคล้ายกำมะหยี่ละเอียด พยาธิสภาพของ erythroplakia มักมี epithelial dysplasia และมีโอกาสกลายเป็น carcinoma-in-situ และมะเร็งถึง 40% Dysplasia เป็นพยาธิสภาพที่เซลล์มีความผิดปกติ เช่น มี mitoses, pleomorphism และ prominent nuclei ถ้าเกิด dysplasia ตลอดความหนาของ mucosa เราเรียกพยาธิสภาพนี้ว่า carcinoma-in-situ dysplasia มีโอกาสกลายเป็นมะเร็งได้ 15-30%
การตรวจวิเคราะห์ (Investigation)
มะเร็งหู คอ จมูก มักเกิดในผู้ป่วยอายุมาก โดยเฉพาะมากกว่า 50 ปี ในผู้ที่ สูบบุหรี่ มะเร็งบางตำแหน่งมักไม่ก่อให้เกิดอาการในระยะแรก ๆ หรือถ้าแสดงอาการ อาการนั้น ๆ ก็มักจะคลุมเครือ ไม่ชี้บ่งเฉพาะโรคเช่นระยะแรก ๆ ของมะเร็ง supraglottis หรือ pyriform ดังนั้นแพทย์ที่ตรวจผู้ป่วยจึงควรจะมีความละเอียดรอบคอบ และมีความเข้าใจธรรมชาติของโรคเป็นอย่างดี เพื่อให้การวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและรวดเร็ว
ประวัติผู้ป่วย (History)
การซักประวัติมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยเฉพาะมะเร็งแรกเริ่มของบริเวณ หู คอ จมูก อาการที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังบางครั้งอาจฟังดูไม่สำคัญอะไร แต่ควรจะให้ความสนใจเป็นพิเศษ เช่น อาการเลือดออก แผลเรื้อรังไม่ยอมหาย กลืนเจ็บ เจ็บคอเรื้อรัง เสียงเปลี่ยน ชาหรือเจ็บบริเวณใบหน้า ปวดหู หูอื้อ หรือมีก้อนที่คอ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องซักประวัติส่วนตัว และครอบครัวผู้ป่วย เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า อาชีพ โรคประจำตัวผู้ป่วย รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่เคยรักษามาในอดีต เช่น โรคตับ โรคปอด หรือเคยรักษา premalignant lesions แม้กระทั่งบางคนอาจเคยรักษามะเร็ง มาก่อน เช่นมะเร็งบริเวณ upper aerodigestive tract มะเร็งปอด หรือหลอดอาหาร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ทั้งการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาต่อไป
ตรวจร่างกาย (Physical examination)
หู คอ จมูก เป็นบริเวณที่สามารถมองเห็นได้ทั่วถึงจากการตรวจ การตรวจควรตรวจผู้ป่วยใน ท่านั่ง ใช้ head light และใช้ไฟส่องให้มีความสว่างพอ โดยเฉพาะบริเวณช่องปาก และลำคอ การใช้ tongue blade จะช่วยให้มองเห็นได้ทั่วถึง การคลำและการตรวจด้วย mirror มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในบางครั้งอาจต้องใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ เช่น otscope, ophthalmoscope, nasal speculum, indirect mirror รวมทั้ง flexible fiberoptic laryngoscope/nasopharyngoscope เป็นต้น เมื่อตรวจพบพยาธิสภาพแล้ว จะต้องบันทึกขนาด ลักษณะ ตำแหน่ง consistency และ mobility ของพยาธิสภาพนั้นด้วย หลังจากการตรวจบริเวณหู คอ จมูก แล้ว ควรตรวจร่างกายทั่ว ๆ ไป เพื่อดู performance status สภาพจิตใจ โรคอื่น ๆ และ ดูว่ามีการกระจายของมะเร็งไปยังส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่
Endoscopy
Panendoscopy (laryngoscopy, bronchoscopy และ esophagoscopy) ควรทำในผู้ป่วยทุกราย เพื่อวินิจฉัย second primaries ในปอด หลอดอาหาร และบริเวณหู คอ จมูก
การตรวจทางเอ็กซเรย์และสร้างภาพ (Radiographic studies)
Chest X-ray ควรทำในผู้ป่วยทุกรายเพื่อดูว่าผู้ป่วยมีโรคปอดอย่างอื่น หรือมีมะเร็งกระจายไปปอดหรือไม่ Barium Swallow ควรทำในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง hypopharynx โดยเฉพาะถ้าไม่ได้ทำ esophagoscopyเพื่อดูการลุกลามของมะเร็งบริเวณนี้ และเพื่อดูว่ามีมะเร็งแห่งที่สองหรือไม่ Mandible series หรือ Panoramic view เพื่อดูการลุกลามของมะเร็งไปยังกระดูก mandible Bone scan และ liver imaging ควรทำในรายที่มีข้อบ่งไม่ควรทำในผู้ป่วยทุกราย เพราะอุบัติการการกระจายของมะเร็งหู คอ จมูก มายังอวัยวะ 2 อย่างนี้ไม่สูงนัก
CT Scan มีประโยชน์มากในการจัดระยะโรค โดยเฉพาะเพื่อดูการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ลึก ลงไปและดูต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ ลักษณะเฉพาะของต่อมน้ำเหลืองที่เป็นมะเร็งก็คือ ขนาดโตกว่า 1.5 ซม. และมี central necrosis นอกจากนี้ CT ยังมีประโยชน์มากในการวินิจฉัย tumor recurrence
MRI ข้อดีของ MRI ในการตรวจมะเร็งบริเวณหู คอ จมูก ก็คือผู้ป่วยไม่ต้องรับรังสี และรับสารทึบแสงไอโอดีน MRI ยังสามารถสร้างภาพโดยตรงในแนว sagittal และ coronal โดยเฉพาะมะเร็งที่มีการกระจายแบบ craniocaudad spread (nasopharynx, base of tongue) นอกจากนี้ MRI ยังสามารถแยก soft tissue interfaces ได้ดีเยี่ยม ทำให้สามารถแยกตัวมะเร็งออกจากต่อมน้ำเหลืองข้างเคียงหรือแยกจากเส้นเลือด
Angiography ทำเฉพาะในรายที่มีข้อบ่งเท่านั้น
การตรวจเลือด (Laboratory studies)
การตรวจเลือด ควรทำ CBC, liver / renal function tests, electrolytes และ chemistry profile อื่น ๆ ที่จำเป็น เพื่อประเมินสภาพทั่ว ๆ ไปของผู้ป่วย
การตัดชื้นเนื้อพิสูจน์ (Diagnostic biopsy)
การตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ทางพยาธิวิทยาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยโรค และควรตัดจากมะเร็งปฐมภูมิ ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยต่อมน้ำเหลืองที่คอโต โดยหามะเร็งปฐมภูมิบริเวณหู คอ จมูก ไม่พบควรทำ fine needle aspiration ที่ต่อมน้ำเหลือง ไม่ควรตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลือง
ระยะของโรคและการพยากรณ์โรค (Staging and Prognosis)
การจัดระยะโรคมะเร็งมีประโยชน์ต่อการวางแผนการรักษา การติดตามผลการรักษา การรายงานอัตราการอยู่รอด และมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคด้วย การจัดระยะโรคมะเร็งจะใช้ข้อมูลต่าง ๆ เช่น การตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจทาง endoscopy และทางรังสีมาประกอบกัน ระบบ TNM (tumor, node, metastasis) เป็นระบบที่นิยมใช้กัน ซึ่งมี 2 ระบบ คือ AJCC (American Joint Committee on Cancer) และ UICC (International Union Against Cancer)
T1 ถึง T3 จะบ่งถึงขนาดของมะเร็งปฐมภูมิที่โตขึ้นแต่ยังจำกัดอยู่เฉพาะอวัยวะส่วนนั้น ส่วน T4 หมายถึงมะเร็งลุกลามถึงอวัยวะข้างเคียง สำหรับ T จะแตกต่างกันในตำแหน่งต่าง ๆ ของมะเร็ง ส่วน N จะเหมือนกันในทุก ๆ ตำแหน่งของมะเร็งปฐมภูมิและบ่งถึงขนาดและจำนวนของต่อมน้ำเหลืองที่โตและเพิ่มขึ้น ส่วน M จะบ่งถึงการกระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ดังตารางต่อไปนี้
DEFINITION OF T CATEGORIES OF THE ORAL CAVITY |
T1 Greatest diameter of primary tumor two cm or less. T2 Greatest diameter of primary tumor more than two cm but not more than four cm. T3 Greatest diameter of primary tumor more than four cm. T4 Massive tumor more than four cm in diameter, with deep invasion involving antrum, pterygoid muscies, base of tongue or skin of neck. |
DEFINITION OF T CATEGORIES OF THE PHARYNX |
|||
Nasopharynx (Includes Posterosuperior And Lateral Walls) |
Oropharynx (Includes Faucial Arch, Tonsil, Base of Tongue, Pharyngeal Wall) |
Hypopharynx (Includes Pyriform Sinus, Postcricoid Area, Posterior Hypopharyngeal Wall) |
|
T1 |
Tumor confined to one site of nasopharynx or no tumor visible |
Tumor two cm or less in greatest diameter. |
Tumor confined to site of origin. |
T2 |
Tumor involving two sites (both posterosuperior and lateral walls). |
Tumor more than two cm but not more than four cm in greatest diameter |
Extension of tumor to adja- cent region or site without fixation of hemilarynx. |
T3 |
Extension of tumor into nasal cavity or oropharynx. |
Tumor more than four cm in greatest diameter. |
Extension to adjacent region or site with fixation of hemilarynx. |
T4 |
Tumor involvement of skull or cranial nerve or both. |
Massive tumor more than four cm in diameter, with invasion of bone, soft tissues of neck, or root (deep musculature) of tongue. |
Massive tumor involving bone or soft tissues of neck |
DEFINITION OF T CATEGORIES OF THE LARYNX |
|||
Supraglottis (Includes False Vocal Cords, Arytenoids, Epiglottis) |
Glottis (Includes True Vocal Cords Including Anterior and Posterior Commissures) |
Subglottis |
|
T1 |
Tumor confined to one site of origin with normal mobility. |
Tumor confined to glottis With normal mobility. |
Tumor confined to the Subglottic region. |
T2 |
Tumor involving adjacent supraglottic site or glottis Without fixation. |
Supraglottic and/or sub- glottic extension of tumor with normal or impaired cord mobility. |
Tumor extension to vocal cords with normal or Impaired cord mobility.
|
T3 |
Tumor limited to larynx with fixation and/or extension to involve postcricoid area, medial wall of pyriform sinus or pre-epiglottic space. |
Tumor confined to larynx with cord fixation. |
Tumor confined to larynx with cord fixation. |
T4 |
Massive tumor extending beyond the larynx to involve oropharynx, soft tissues of neck, or destruction of thyroid cartilage. |
Massive tumor with thyroid cartilage destruction and/or extension beyond the confines of the larynx. |
Massive tumor with cartilage destruction and/or extension beyond the confines of the larynx. |
DEFINITION OF T CATEGORIES OF THE MAXILLARY SINUS |
Ohngren’s line, a theoretic plane joining the medial canthus of the eye with the angle of the mandible, divides the maxillary antrum into an anteroinferior portion- the infrastructure-and a posterosuperior portion-the suprastructure. |
T1 Tumor confined to the antral mucosa of the infrastructure, with no bone erosion or destruction. T2 Tumor confined to the suprastructure mucosa without bone destruction, or to the infrastructure with destruction of medial or inferior walls only. T3 More extensive tumor invading skin of cheek, orbit, anterior ethmoid sinuses, or pterygoid muscles. T4 Massive tumor with invasion of cribriform plate, posterior ethmoids or sphenoid sinuses, nasopharynx, pterygoid plates, or base of skull. |
DEFINITION OF N CATEGORIES |
N0 No clinically positive nodes. N1 Single clinically positive homolateral node three cm or less in diameter. N2 Single clinically positive homolateral node more than three cm, but not more than six cm in diameter, or multiple clinically positive homolateral nodes, none more than six cm in diameter. N2a Single clinically positive node more than three cm but not more than six cm in diameter. N2b Multiple clinically positive homolateral nodes, none more than six cm in diameter. N3 Massive homolateral node (s), bilateral nodes, or contralateral node (s). N3a Clinically positive homolateral node (s), one of which is more than six cm in diameter. N3b Bilateral clinically positive nodes. N3c Contralateral clinically positive node (s) only. |
DEFINITION OF M CATEGORIES |
M0 No (known) distant metastasis. M1 Distant metastasis present-specify site (s) |
STAGE GROUPING |
Stage I T1 N0 M0 Stage II T2 N0 M0 Stage III T3 N0 M0 T1, T2 or T3 N1 M0 Stage IV T4 N0 or N1 M0 Any T N2 or N3 M0 Any T Any N M1 |
การพยากรณ์โรคของของมะเร็งหู คอ จมูก นั้น ขึ้นกับ 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ คือ ตัวผู้ป่วยและตัวมะเร็ง สำหรับตัวผู้ป่วยนั้น ปัจจัยที่สำคัญคือ เพศ อายุ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา สภาพทั่ว ๆ ไป และภาวะโภชนาการ ส่วนปัจจัยในส่วนของมะเร็งนั้น ขึ้นกับระยะของโรค (ตาม TNM staging) ลักษณะทางพยาธิสภาพ เช่น differentiation และ lympho-vascular invasion ลักษณะการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง ซึ่งบ่งถึงพยากรณ์โรคที่ไม่ดี ได้แก่ extracapsular spread, desmoplastic stromal pattern*, จำนวนต่อมน้ำเหลืองที่ถูกลุกลามโดยมะเร็งตั้งแต่ 3 ต่อมขึ้นไป และระดับของต่อมน้ำเหลืองบริเวณคือ ที่มะเร็งลุกลามไป
การรักษา
การรักษามะเร็งหู คอ จมูก ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ คือ ผลการรักษา (cure rates) ผลทางด้าน function และ cosmesis และความต้องการของผู้ป่วย การผ่าตัดและรังสีรักษาเป็น standard treatment ในมะเร็งหู คอ จมูก โดยทั่ว ๆ ไป มะเร็งในระยะที่ I และ II จะรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการฉายรังสีเพื่อมุ่งหวังให้หายขาด ส่วนในระยะที่ III และ IV จะใช้การผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสีเพื่อมุ่งหวังให้หายขาดเช่นกัน ส่วนในรายที่โรคเป็นมากเกินกว่าที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้น อาจใช้การผ่าตัด หรือการฉายรังสีอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อรักษาบรรเทาอาการเท่านั้น ในรายที่ไม่แน่ใจว่าจะรักษาให้หายขาดได้ด้วยรังสีหรือไม่นั้น เช่น มะเร็งก้ำกึ่งระหว่าง T2 กับ T3 ในรายเช่นนี้ควรจะให้การรักษาด้วยการฉายรังสี 4000-4500 cGy ถ้ามะเร็งตอบสนองต่อรังสีดีก็ควรจะรักษาต่อด้วยรังสีจนถึง radical doses (6000-7500 cGy) แต่ถ้ามะเร็งตอบสนองต่อรังสีไม่ดีหลังจากได้ฉายไปประมาณ 4000-4500 cGy แล้วควรจะหยุดการฉายรังสีแล้วตามด้วยผ่าตัดในปัจจุบันเคมีบำบัดยังไม่ถือว่าเป็น standard therapy ยกเว้นใน 2 สถานการณ์เท่านั้น คือ
1. ในผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียง ระยะที่ III และ IV การให้เคมีบำบัดก่อนแล้วตามด้วยการฉายรังสี เพื่อ preserve กล่องเสียงไว้
2. ในผู้ป่วยที่มะเร็งกลับเป็นใหม่ หรือกระจายไปอวัยวะอื่นแล้ว
รังสีรักษา
1. เครื่องฉายรังสีที่ใช้ในการรักษามะเร็งบริเวณ หู คอ จมูก มีดังนี้
1.1 Megavolt radiation machines ซึ่งได้แก่ เครื่องฉายรังสี Cobalt-60 หรือ linear accelerators ที่มีพลังงาน 4-10 MV เครื่องฉายรังสีที่มีพลังงานสูง จะมี skin และ node sparing มาก ทำให้บริเวณใต้ผิวหนังได้รับรังสีน้อย จึงต้องระวังโดยเฉพาะเวลาฉาย lymph node
1.2 Electron beams มีประโยชน์มากในการรักษามะเร็งที่อยู่ตื้น ๆ เช่น มะเร็งผิวหนัง ต่อมน้ำลาย parotid และต่อมน้ำเหลืองที่คอ ปกติใช้ electron beams ในช่วง พลังงาน 6-20 MeV บางครั้งเราอาจจะใช้ electron beams ร่วมกับ megavolt radiation เพื่อให้ได้ก้อนมะเร็งได้รับรังสีสม่ำเสมอ และทั่วถึงตามที่เราต้องการ electron intraoral cone เป็นเครื่องมืออีกชนิดที่ใช้รักษามะเร็งในช่องปาก หรือใช้ boost ข้อดีก็คือ จะจำกัดลำรังสีเฉพาะที่ไม่ถูกส่วนอื่น
1.3 Radioactive isotopes มีประโยชน์อย่างมากในการรักษามะเร็งเฉพาะที่ ให้บริเวณนั้นได้รับปริมาณรังสีสูง และอวัยวะใกล้เคียงได้ปริมาณรังสีต่ำ มี 2 วิธีคือ interstitial implant และ intracavitary implant ชนิดแรกมักใช้ในการรักษามะเร็งริมฝีปาก มะเร็งช่องปาก ส่วนชนิดหลังใช้ในการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก สารกัมมันตรังสีที่ใช้ เช่น Radium-226 หรือ Iridium-192 เป็นต้น
2. ปริมาณรังสี
ปริมาณรังสีที่ใช้รักษา squamous cell carcinoma บริเวณ หู คอ จมูก เพื่อมุ่งหวังให้หายขาด จะใช้ปริมาณ 6000-7500 cGy ทั้งนี้ขึ้นกับตำแหน่ง และขนาดของมะเร็งนั้น โดยปกติจะฉายรังสีแก่ผู้ป่วยวันละ 180-200 cGy ฉาย 5 วันต่ออาทิตย์ ใช้เวลาทั้งสิ้น 6-8 อาทิตย์ ปริมาณรังสีเพื่อบรรเทาอาการ = 3000 cGy / 2 อาทิตย์ ปริมาณรังสีเพื่อ sterile microscopic = 5000 cGy / 5 อาทิตย์ ปริมาณรังสีสำหรับ pre-operation = 4000-4500 cGy / 4-5 อาทิตย์ ปริมาณรังสีสำหรับ post-operation39 = 5500 cGy / 6 wks. ในผู้ป่วยที่ผ่าตัดออกได้หมด แต่ถ้าหากมีresidual disease ต้องให้ 6500-7000 / 7-8 wks. เริ่มฉายรังสีหลังจากผ่าตัดแล้ว 3-4 อาทิตย์หรือแผลหายดีแล้ว
3. การวางแผนการรรักษา หลักการของรังสีรักษา คือการฉายรังสีไปยังบริเวณที่ต้องการรักษาให้แม่นยำ ปริมาณรังสีสม่ำเสมอที่สุด และหลีกเลี่ยงอวัยวะส่วนอื่นมากที่สุด
บริเวณ หู คอ จมูก มีอวัยวะสำคัญมากมาย เช่น เลนซ์ตา ไขสันหลัง เส้นประสาท และบางส่วนของสมอง เป็นต้น ประกอบกับศีรษะผู้ป่วยอาจจะอยู่ไม่นิ่งระหว่างการฉายรังสี ซึ่งอาจทำให้การฉายรังสีผิดพลาดได้ การวางแผนการรักษาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1. การกำหนดบริเวณที่จะฉายรังสี ต้องอาศัยข้อมูลทั้งหมดจากการตรวจร่างกาย หรือตรวจทาง X-ray, CT, MRI, ultrasound หรือ radioisotope scan เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งของมะเร็งอย่างถูกต้องแม่นยำ
2. จะต้องทราบถึง clinical target volume ซึ่งประกอบด้วย gross tumor volume และ subclinical disease บริเวณนี้จะต้องได้รับปริมาณรังสีตามที่วางแผนไว้ นอกจากนี้การวางขอบเขตการฉายรังสียังต้องคำนึงถึง radiological และ positional margin ด้วย
3. ท่าของผู้ป่วยขณะรับการฉายรังสีควรจัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย ไม่เกร็ง ไม่เมื่อย เพราะผู้ป่วยจะต้องนอนในท่านี้ตลอดการฉายรังสี
4. การป้องกันการเคลื่อนไหวของศีรษะขณะรับการฉายรังสี ซึ่งสามารถใช้ shell/cast bite block หรืออาจจะใช้เทปกระดาษคาดที่หน้าผากแล้วยึดกับเตียง
5. การวางขอบเขตบริเวณที่จะฉายรังสีด้วยเครื่องฉายรังสีจำลอง (simulation) ก่อนผู้ป่วยจะได้รับการฉายรังสีจริง จะต้องวางขอบเขตที่จะรับการฉายรังสีก่อน ควรจะใช้เครื่องฉายรังสีจำลองช่วย เพื่อให้มีความแม่นยำและขีดแนวเลเซอร์ทั้งด้านบนและด้านข้าง ไม่ให้ลบเลือน เพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมตลอดเวลาการฉายรังสี
4. บทบาทของรังสีรักษา
รังสีรักษามีบทบาท 3 อย่างในการรักษามะเร็งบริเวณหู คอ จมูก
1. Cure รังสีรักษาเพื่อมุ่งหวังให้หายขาดนั้น จะต้องใช้ปริมาณรังสีสูง คือ radical dose (6000-7500 cGy / 6-7.5 อาทิตย์) ดังนั้นจะต้องคำนึงถึงอาการข้างเคียงจากรังสีด้วย เช่น อาการเจ็บคอ ทานข้าวไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจทนการฉายรังสีขนาดนี้ไม่ได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุมาก หรือผู้ป่วยที่ติดเหล้า บุหรี่ ถ้าหากคาดว่าผู้ป่วยอาจทนการฉายรังสีขนาดนี้ไม่ได้ และโรคของเขาสามารถที่จะผ่าตัดได้ก็ควรผ่าตัดจะดีกว่า แต่ทั้งนี้จะต้องไม่มีผลต่ออัตราการหายของโรค
2. Palliation ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์นั้น โรคอยู่ในระยะที่มากแล้ว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ขณะเดียวกันก็มีอาการต่าง ๆ จากโรคนั้น เช่น อาการปวด เลือดออก เป็นแผล กลืนไม่ได้ หรือต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น รังสีรักษามีบทบาทอย่างมากในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ ปริมาณรังสีจะเป็น palliative dose เช่น 3000 cGy /2 อาทิตย์ เป็นต้น ในบางครั้งถึงแม้โรคผู้ป่วยอาจเป็นมากแล้ว แต่ก็ไม่มีอาการจากโรคนั้น การฉายรังสีอาจยังไม่จำเป็นในขณะนั้น เพราะนอกจากไม่มีอาการที่จะบรรเทาแล้ว ยังอาจเพิ่มอาการต่าง ๆ จากรังสีให้กับผู้ป่วยด้วย น่าจะรอให้มีอาการแล้วจึงฉายรังสีเพื่อบรรเทาจะดีกว่า
3. Combination with Surgery ในบางระยะของมะเร็งหู คอ จมูก จำเป็นต้องให้การรักษาร่วมระหว่างการผ่าตัดกับรังสีรักษา เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด การรักษาร่วมอาจให้เป็น pre หรือ post-operative radiotherapy ซึ่งต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย (ดูในหัวข้อ preoperative vs postoperative irradiation)
5. การฉายรังสีก่อนหรือหลังการผ่าตัด
ข้อดีของ preoperative irradiation
- เพิ่ม resectability
- ลด seeding ของเซลล์มะเร็งระหว่างผ่าตัด
- ทำลาย microscopic foci นอกขอบเขตของการผ่าตัด
- อ๊อกซิเจนดีกว่า ทำให้ตอบสนองต่อรังสีดีกว่า
ข้อเสียของ preoperative irradiation
- อาจทำให้การผ่าตัดล่าช้าไป
- อาจเพิ่มภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
- ขอบเขตของการผ่าตัดอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากมะเร็งยุบลงจากการฉายรังสี
ข้อดีของ postoperative irradiation
- รู้ขอบเขตของมะเร็งดีขึ้น ทำให้สามารถปรับเนื้อที่ที่ฉายรังสีให้คลอบคลุมบริเวณที่มีมะเร็งตามที่เป็นจริง
- แผลผ่าตัดอาจจะติดดีกว่า
- สามารถให้ปริมาณรังสีได้สูงขึ้น เนื่องจากเนื้อที่ที่ฉายรังสีอาจจะเล็กลง
ข้อเสียของ postoperative irradiation
- อ๊อกซิเจนบริเวณที่จะฉายรังสีลดลง อาจทำให้การตอบสนองของมะเร็งต่อรังสีน้อยลง
- อาจทำให้เกิดการกระจายของมะเร็งระหว่างผ่าตัด
- อาจทำให้การฉายรังสีล่าช้าได้
ข้อบ่งในการให้ postoperative irradiation
1. มะเร็งในระยะ 1 และ 2
- ผ่าตัดมะเร็งออกไปหมด หรือ margin ไม่ free
- มีการกระจายไกปต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม หรือหลายระดับ
- มะเร็งลามออกนอกก capsule ของต่อมน้ำเหลือง
- ในรายที่รักษามะเร็งปฐมภูมิด้วยการผ่าตัด แต่ไม่ได้ผ่าตัดเลาะต่อม
- น้ำเหลืองบริเวณคอ และมะเร็งนั้นมีอุบัติการของ subcliniccal disease มากกว่า 20%
2. มะเร็งในระยะ 3 และ 4
KI - ต้องฉายรังสีหลังผ่าตัดทุกราย
6. การดูแลผู้ป่วยที่รับการฉายรังสี
1. ก่อนฉายรังสี
- ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด และ imaging ที่จำเป็น
- แก้สภาวะทุโภชนาการ เกลือแร่ไม่สมดุลย์ ซีด เพื่อเตรียมผู้ป่วยก่อนการฉายรังสี
- มีผลพยาธิยืนยัน
- Staging
- ส่งผู้ป่วยตรวจฟันก่อนฉายรังสี
- วางแผนการรักษาด้วยรังสี
2. ระหว่างการรักษาด้วยรังสี ที่สำคัญคือรักษาอาการต่าง ๆ ที่เกิดจากการฉายรังสี เช่น mucositis และให้ oral/skin care เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3. หลังจากรักษาด้วยรังสี ต้องให้ระวังสุขภาพของช่องปาก แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับ rehabilitation และนัดผู้ป่วยมาตรวจเป็นระยะ เพื่อตรวจหาการกลับเป็นใหม่ของโรค และรักษาผลแทรกซ้อนจากรังสี
7. ภาวะแทรกซ้อนจากรังสี
1. Skin : erythema, dry desquamation, moist desquamation, atrophy, telangiectasia, fibrosis.
2. Mucous membrane : erythema, patchy / confluent mucositis, atrophy, telangiectasia, drynees
3. Salivary glands and taste buds : Xerostomia, loss of taste
4. Lens : cataract
5. Ear : otitis media, labyrinthitis
6. Bone : osteonecrosis
7. Spinal cord : myelitis
&