มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่
       
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคซึ่งได้รับการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวาง ทำให้ทราบถึงพยาธิกำเนิดของโรคที่สัมพันธ์กับลักษณะทางกายวิภาค คุณสมบัติทางชีวภาพและชีววิทยาโมเลกุลของโรค ตลอดจนความก้าวหน้าในการนำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัยในการวินิจฉัยและรักษาโรค ซึ่งในขณะนี้ได้มีการนำความรู้จากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและทางคลีนิคมาพัฒนาวิธีการรักษาโรคจนมีวิธีการรักษามาตรฐานสำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะต่าง ๆ มีผลทำให้ผลของการวินิจฉัยและรักษาโรคดีขึ้นกว่าอดีตเป็นอันมาก

Anatomy
       
ตำแหน่งของเนื้องอกลำไส้ใหญ่ที่เป็น Intraperitoneum หรือ Extraperitoneum จะมีผลต่อลักษณะการแพร่กระจายของโรค โดยที่มะเร็งที่เกิดบริเวณลำไส้ใหญ่ที่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุม เวลาโรคลุกลามจะแพร่กระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง (Peritoneal Seeding) ส่วนมะเร็งที่เกิดที่ลำไส้ใหญ่ในส่วนที่ไม่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุม จะมีการกลับเป็นซ้ำแบบเฉพาะที่ (Local Recurrence) สูง บริเวณลำไส้ใหญ่ที่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุมประกอบด้วย Cecum, Transverse Colon, Sigmoid Colon ลำไส้ใหญ่ส่วนที่ไม่มีเยื่อบุช่องท้องปกคลุมคือ บริเวณด้านหลังของ Ascending, Decending Colon และ Rectum
Rectum ยาวประมาณ 15 เซ็นติเมตร ส่วนปลาย 5-7 เซ็นติเมตร จะมีเลือดมาเลี้ยงจาก 2 ระบบ คือ Middle และ Inferior Hemorrhoidal Veins จะรับเลือดดำกลับสู่ Inferior Vena Cava โดยตรง ดังนั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เกิดบริเวณนี้จึงสามารถแพร่กระจายไปที่ปอดได้โดยตรง ส่วนเลือดดำอีกระบบหนึ่งคือ Superior Hemorrhoidal Vein จะรับเลือดจากส่วนต้นของ Rectum ไปสู่ Portal System เช่นเดียวกับลำไส้ใหญ่ส่วน Colon เพราะฉะนั้นมะเร็งที่เกิดที่ Colon หรือ Rectum ส่วนต้น มักจะแพร่กระจายไปที่ตับก่อนโดยแพร่กระจายไปตาม Portal Vein11

Etiology of Colorectal Cancer
       
สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ในปัจจุบันนี้มีหลักฐานและข้อมูลทางการแพทย์ที่ชี้บ่งว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม  โดยที่อาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิด (Genetic/Familial) หรือเกิดจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors) รวมทั้งจากโรคบางอย่างของลำไส้ใหญ่ ได้แก่ Inflammatory Bowel Diseases1,5

Etiology of Colorectal Cancer

                 1.  Genetic/Familial Factors
                                 1.1  Familial Adenomatous Polyposis Syndrome
                                 1.2  Gardner’s Syndrome
                                 1.3  Oldfield’s Syndrome
                                 1.4  Turcot’s  Syndrome
                                 1.5  Peutz-Jeghers Syndrome
                                 1.6  Juvenile Polyposis Syndrome
                                 1.7  Hereditary Nonpolyposis Colorectal Syndrome (Lynch I)
                                 1.8  Hereditary Adenomatosis Syndrome (Lynch II)
                                 1.9  Familial History of Colorectal Cancer
                          1.10  Heredictary Flat Adenoma Syndrome
                 2.  Environmental Factors
                                 2.1  Diets : Animal Fat and Meat Low Dietary Fiber
                                 2.2  Fecapentanes
                                 2.3  3-Ketosteroids
                                 2.4  Pyrolysis Products
                                 2.5  Normal Bile Acids
                                 2.6  Insufficient Dietary
                                 2.7  Fecal pH
                                 2.8  Pelvic Irradiation
                                 2.9  Schistosomiasis
                 3.  Miscellaneous
                                 3.1  Inflammatory Bowel Disease
                                 3.2  History of Colorectal Cancer
                                 3.3  Ureterosigmoidostomy
                                 3.4  Cholecystectomy
                                 3.5  Polyps

Spread of Colorectal Cancer
       
มะเร็งลำไส้ใหญ่จะเกิดขึ้นที่ผิวเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ก่อน โดยมักจะมีการเปลี่ยนแปลงมาจากรอยโรคก่อนมะเร็ง (Premalignant Lesion) ที่เรียกว่า Polyp แล้วจึงเปลี่ยนเป็นก้อนมะเร็งในที่สุด  การแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดขึ้นได้ 4 วิธี7,8 ดังต่อไปนี้

                 1.  Local Invasion
                 2.  Lymphatic Spread
                 3.  Venous Spread
                 4.  Implantation

       1.  Local Invasion
มะเร็งลำไส้ใหญ่จะเจริญเติบโตภายในผนังลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ได้ หรืออาจลุกลามทะลุผนังลำไส้ใหญ่ไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียงภายในช่องท้องเกิดภาวะ Peritoneal Carcinomatosis

       2.  Lymphatic Spread
ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงและจาก Regional Nodes ไปสู่ Mesenteric Nodes และ Aortic Nodes ตามลำดับ มะเร็งส่วน Rectum อาจแพร่กระจายด้วยวิธีนี้ไปสู่  Inguinal Nodes, Obturator, หรือ Iliac Nodes ตามลำดับ

       3.  Venous Spread
การแพร่กระจายของมะเร็งด้วยวิธีนี้พบได้บ่อย อัตราเสี่ยงของการแพร่กระจายจะเกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อมะเร็งลุกลามไปถึงเส้นเลือดดำนอกชั้น Muscularis Propria

       4.  Implantation
เกิดจากการที่มะเร็งหลุดกระจายออกจากก้อนมะเร็งโดยตรง และไปเจริญเติบโตที่อวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง  ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดขึ้นระหว่างทำการผ่าตัด ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือบริเวณแผลเย็บ


Spread of Colorectal Cancer
       
มะเร็งลำไส้ใหญ่จะเกิดขึ้นที่ผิวเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่ก่อน โดยมักจะมีการเปลี่ยนแปลงมาจากรอยโรคก่อนมะเร็ง (Premalignant Lesion) ที่เรียกว่า Polyp แล้วจึงเปลี่ยนเป็นก้อนมะเร็งในที่สุด  การแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกิดขึ้นได้ 4 วิธี7,8 ดังต่อไปนี้

                 1.  Local Invasion
                 2.  Lymphatic Spread
                 3.  Venous Spread
                 4.  Implantation

       1.  Local Invasion
มะเร็งลำไส้ใหญ่จะเจริญเติบโตภายในผนังลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ได้ หรืออาจลุกลามทะลุผนังลำไส้ใหญ่ไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะข้างเคียงภายในช่องท้องเกิดภาวะ Peritoneal Carcinomatosis

       2.  Lymphatic Spread
ประมาณ 50% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่ต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงและจาก Regional Nodes ไปสู่ Mesenteric Nodes และ Aortic Nodes ตามลำดับ มะเร็งส่วน Rectum อาจแพร่กระจายด้วยวิธีนี้ไปสู่  Inguinal Nodes, Obturator, หรือ Iliac Nodes ตามลำดับ

       3.  Venous Spread
การแพร่กระจายของมะเร็งด้วยวิธีนี้พบได้บ่อย อัตราเสี่ยงของการแพร่กระจายจะเกิดขึ้นมากที่สุดเมื่อมะเร็งลุกลามไปถึงเส้นเลือดดำนอกชั้น Muscularis Propria

       4.  Implantation
เกิดจากการที่มะเร็งหลุดกระจายออกจากก้อนมะเร็งโดยตรง และไปเจริญเติบโตที่อวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง  ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองหรือเกิดขึ้นระหว่างทำการผ่าตัด ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปตามเยื่อบุช่องท้องหรือบริเวณแผลเย็บ


Pathology
       
ลักษณะพยาธิสภาพของมะเร็งลำไส้ใหญ่สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของก้อนมะเร็งมองเห็นเป็น 4 ลักษณะ

1.  Fungating (Exophytic) ลักษณะนี้จะเห็นเป็นก้อนยื่นออกจากผิวเยื่อบุลำไส้ใหญ่เข้าไปใน Lumen และมักจะพบอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของผนังลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะพบก้อนมะเร็งแบบนี้ที่ Cecum หรือ Ascending Colon พบว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่ประมาณหนึ่งในสามจะเป็นแบบ Fungating
                           
2.  Ulcerating ก้อนมะเร็งจะมีลักษณะเหมือนเป็นแผล (Ulcer) ที่ผิวและมักจะมีเลือดออกจาก ก้อนมะเร็งได้ง่าย ทำให้ผู้ป่วยมาหาแพทย์ด้วยอาการอุจจาระเป็นเลือดหรือตรวจพบผลบวกของ
Stool Occult Blood พบว่าสองในสามของมะเร็งลำไส้ใหญ่จะมีลักษณะแบบนี้

3.  Stenosing บางครั้งก้อนมะเร็งจะเจริญเติบโตเข้าไปใน Lumen ของลำไส้ใหญ่จนทำให้ทางเดินลำไส้แคบตีบตัน

4.  Constricting (Annular and Circumferential) เป็นลักษณะของก้อนมะเร็งที่โตไปตามผนังของลำไส้ใหญ่จนรอบ Lumen เกิดลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า Napkin-ring ที่เห็นใน Barium Enema ซึ่งมักจะพบในมะเร็งที่เกิดทางด้านซ้ายของลำไส้ใหญ่ (Left-sided Colon Cancer)  ทำให้เกิดการอุดตันของลำไส้ใหญ่ เชื่อว่าเกิดขึ้นจากการที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปตาม Circumferential Lymphatics10
               
World Health Organization (WHO)  ได้แบ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
                 1.  Epithelial Tumors
                                 Adenocarcinoma
                                 Mucinous Adenocarcinoma
                                 Signet-ring Carcinoma
                                 Squamous Cell Carcinoma
                                 Adenosquamous Carcinoma
                                 Undifferentiated Carcinoma
                                 Unclassified carcinoma
                 2.  Carcinoid Tumors
                                 Argentaffin
                                 Nonargentaffin
                                 Composite
                 3.  Nonepithelial Tumors
                                 Leiomyosarcoma
                                 Others
                 4.  Hematopoietic and Lymphoid Neoplasms
                 5.  Unclassified

       90-95% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีพยาธิสภาพแบบ Adenocarcinoma สองในสามของมะเร็งลำไส้ใหญ่อยู่ที่ Rectum, Rectosigmoid หรือ Sigmoid Colon สำหรับพยาธิสภาพชนิด Mucinous หรือ Colloid Adenocarcinoma พบได้ประมาณ 17% และมีลักษณะที่สำคัญ คือประกอบด้วย Extracellular Mucin ส่วนชนิด Signet-ring Cell Adenocarcinoma  พบประมาณ 2-4%  ซึ่งประกอบด้วยลักษณะของ Intracellular Mucin ซึ่งดัน Nucleus ไปอีกด้านหนึ่ง Squamous Cell Carcinoma ของลำไส้ใหญ่พบน้อยมาก มีรายงานเพียง 40 รายทั่วโลกเท่านั้น บางครั้งอาจพบลักษณะที่ผสมกันระหว่าง Squamous Cell Carcinoma และ Adenocarcinoma เรียกว่า Adenosquamous Carcinoma หรือ Adenocanthomas สำหรับ Undifferentiated Carcinoma จะมีลักษณะที่สำคัญคือไม่มี Glandular Structures เนื่องจากไม่มีการ Differentiate เป็น Tubules และไม่ค่อยมี Nuclear Pleomorphism

       Carcinoid Tumors ของลำไส้ใหญ่พบได้ราว 4-17% ใน Rectum และ 2-7% ของ Colon19,20 มักจะมีลักษณะเป็น Polypoid Nodules ที่แข็งและมีขนาดเล็กปกคลุมด้วย Mucosa และไม่ค่อยทำให้เกิดกลุ่มอาการ Carcinoid เนื้องอกชนิดนี้สามารถแบ่งเป็นประเภทย่อยตามการย้อมพิเศษเป็น Argentaffin Nonargentaffin หรือเป็นชนิด Composite

       Sarcomas ของลำไส้ใหญ่พบได้น้อยมาก กล่าวคือพบเพียง 0.1-0.3% มักจะพบเป็น Leiomyosarcoma21,22,23  ส่วนพยาธิสภาพอื่น ๆ เช่น Malignant Non-Hodgkin’s Lymphoma24,25 พบได้น้อยมาก


Staging
       
การพยากรณ์โรคที่สำคัญของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่คือ ระยะของโรคที่เป็น (Surgical-pathological Staging) ซึ่งมีอยู่หลายระบบด้วยกัน  ระบบที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือ Dukes’ Classification และ TNM Classification

                 Basic Dukes’ System  ปี ค.ศ. 1932 ประกอบด้วย
                 Dukes’ A                มะเร็งอยู่ที่ผนังลำไส้ใหญ่เท่านั้น
                 Dukes’ B                มะเร็งลุกลามทะลุผนังสำไส้ใหญ่
                 Dukes’ C                มะเร็งลุกลามไปถึงต่อมน้ำเหลืองข้างเคียง
                 นอกจากนี้ในกรณีที่มีการแพร่กระจายของมะเร็งลำไส้ใหญ่ไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว เรียกว่า Dukes’D

                 สำหรับระบบ TNM classification (1988 AJCC/UICC staging system) แสดงรายละเอียดไว้ดังนี้คือ
1988 AJC Staging System
                 Primary Tumor (T)
                                                                 TX       Primary tumor cannot be assessed
                                                                 TO       No evidence of primary tumor
                                                                 TIS      Carcinoma in situ
                                                                 Tl        Tumor invades submucosa
                                                                 T2       Tumor invades muscularis propria
                                                                 T3       Tumor invades through muscularis propria intosubserosa or into nonperitonealized pericolic or perirectal tissues
                                                                 T4       Tumor perforates visceral peritoneum, or directly invades other organs or structures
                 Lymph Nodes (N)                                            

                                                                 NX       Regional lymph nodes cannot be assessed
                                                                 NO       No regional lymph node metastasis
                                                                 Nl         Metastasis in l to 3 pericolic or perirectal lymph nodes
                                                                 N2        Metastasis in 4 or more pericolic or perirectal lymph nodes
                                                                 N3        Metastasis in any lymph node along course of a major named vascular trunk
                 Distant Metastasis (M)    

                                                                 MX        Presence of distant metastasis cannot be assessed
                                                                 MO        No distant metastasis
                                                                 Ml         Distant metastasis
                 Stage Grouping                             
                                                                 0           Tis                           NO                         MO
                                                                 l            Tl                            NO                         MO
                                                                              T2                           NO                         MO
                                                                 II           T3                           NO                         MO
                                                                               T4                          NO                         MO
                                                                 III          Any T                      Nl                           MO                        
                                                                              Any T                       N2                          MO
                                                                              Any T                       N3                          MO
                                                                 IV          Any T                    Any N                        M1

                นอกจากนี้ก็มี Astler & Coller system ในปี ค.ศ. 1954 และ Modified Astler-Coller Staging system (MAC) โดย Gunderson & Sosin ในปี ค.ศ. 1978 ดังรายละเอียดดังนี้
Modified Astler-Coller Staging System (MAC)
                                                                 A                Tumor involving only mucosa; nodes negative
                                                                 Bl               Tumor within bowel wall; nodes negative
                                                                 B2              Tumor through bowel wall; nodes negative
                                                                 B3              Tumor adherent to or invading adjacent structures; nodes negative
                                                                 C1              Tumor within bowel wall; nodes positive
                                                                 C2              Tumor through bowel wall; nodes positive
                                                                 C3              Tumor adherent to or invading adjacent strructures;  nodes positive

Correlation of Modified Astler-Collor and TNM Systems
                                                                MAC            TNM
                                                                 A                TlNO
                                                                 Bl               T2NO
                                                                 B2              T3NO
                                                                 B3              T4NO
                                                                 Cl               T2Nl;                T2N2;                T2N3
                                                                 C2              T3Nl;                T3N2;                T3N3
                                                                 C3              T4Nl;                T4N2;                T4N3

 

Clinical Features
       
อาการและอาการแสดงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ขึ้นอยู่กับการที่มะเร็งเป็นในระยะใด ถ้ามะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ในลำไส้ใหญ่ อาการจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของรอยโรคที่เป็น แต่ถ้ามะเร็งแพร่กระจายออกไปแล้ว อาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่มะเร็งกระจายไป เช่น ถ้าไปที่ปอดก็อาจมีอาการหอบเหนื่อยหรือไอ ถ้าไปที่ตับอาจมีอาการเจ็บแน่นใต้ชายโครงขวา ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือตรวจพบว่าตับโต เป็นต้น  แต่ถ้าโรคเป็นระยะที่เป็นเฉพาะที่ในลำไส้ใหญ่ อาจแบ่งกลุ่มอาการเป็น 3 ลักษณะตามตำแหน่งทางกายวิภาคของก้อนมะเร็ง  ดังต่อไปนี้

       1.  Right Colon Cancer  เนื่องจากเวลาที่อุจจาระผ่านจาก Ileocecal Valve มาที่ลำไส้ใหญ่ซีกขวา อุจจาระจะยังอ่อนตัวอยู่ ทำให้สามารถผ่านบริเวณรอยโรคที่ก้อนมะเร็งอยู่ไปได้สะดวก จึงไม่ค่อยพบอาการของการอุดตันของลำไส้ใหญ่จากก้อนมะเร็ง นอกจากนี้เส้นผ่าศูนย์กลางของลำไส้ใหญ่ซีกขวายังมีขนาดใหญ่กว่าลำไส้ใหญ่ซีกซ้าย มะเร็งที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้จึงสามารถเจิญเติบโตได้มาก โดยที่ไม่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของการอุดตันหรือความผิดปกติของการขับถ่าย  (ฺBowel Habit Change) รอยโรคบริเวณนี้มักจะเกิดจากการที่ก้อนมะเร็งมีการแตกเป็นแผล  (Ulcer) เกิดการเสียเลือดทีละน้อย จนเกิดอาการของโรคโลหิตจางได้ และมาหาแพทย์ด้วยอาการของโรคโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย ใจสั่น ไม่มีแรง ซีด เป็นต้น  การตรวจทางห้องปฏิบัติการอาจพบหรือไม่พบเลือดในอุจจาระ (Stool Occult Blood) ก็ได้ เพราะเลือดที่ออกจากก้อนมะเร็งอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวไม่ได้เป็นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าตรวจพบ Iron deficiency Anemia ในผู้ใหญ่ที่ไม่พบสาเหตุใด ๆ ชัดเจนที่อธิบายภาวะโลหิตจางจากการขาดเหล็กได้ชัดเจน (ยกเว้นในผู้หญิงที่มีประจำเดือน ซึ่งอาจอธิบายได้ด้วยการเสียเลือดไปทางประจำเดือน)  ควรคิดถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และถ้ามีอาการที่น่าสงสัยอาจต้องพิจารณาตรวจค้นเพิ่มเติม เช่น ทำ Endoscopy หรือ Double Contrast Barium Enema

       2.  Transverse and Descending Colon  เมื่ออุจจาระผ่านมาถึงบริเวณ Transverse และ Descending Colon จะมีการดูดน้ำกลับไปทางลำไส้ใหญ่  ทำให้อุจจาระมีความเข้มข้นมากขึ้น  ดังนั้นถ้ามีก้อนมะเร็งเกิดขึ้นในบริเวณนี้และอุดกั้นการเคลื่อนตัวของอุจจาระ อาจทำให้เกิดการอุดตันเกิดขึ้น เกิดอาการปวดท้อง (Abdominal Cramping) เกิดการอุดตัน (Obstruction) จนเกิดการแตกทะลุของลำไส้ใหญ่ส่วนที่เหนือต่อการอุดตันได้ (Perforation)