ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ค. 2566
ความรู้ทั่วไป
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง มักเกิดในผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี แต่ปัจจุบันพบในผู้หญิงที่อายุน้อยมากขึ้น การพบโรคตั้งแต่ระยะแรกโอกาสการรักษาที่หายขาดมากขึ้น อัตราการเกิดโรคของทั่วโลกพบว่า ทุกๆผู้หญิง 8 คน จะพบโรคมะเร็ง 1 คน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่ อายุที่มากขึ้น มีประวัติโรคมะเร็งเต้านมในครอบครัว น้ำหนักตัวมาก การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือเคยมีประวัติตรวจพบก้อนที่เต้านมมาก่อน อาการของโรค ได้แก่ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาดหรือสีผิวของเต้านม มีของเหลวไหลออกจากหัวนมหรือ คลำก้อนได้ที่เต้านมหรือรักแร้ อาการปวดบริเวณเต้านมมักไม่ได้เป็นสาเหตุของการมาโรงพยาบาลของมะเร็งเต้านม
ชนิดของมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยแบ่งเป็น
หลักการรักษา
การฉายรังสี
การฉายรังสีตามหลังการผ่าตัดในผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ สามารถช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของตัวโรคเฉพาะที่ และช่วยลดอัตราการตายที่เกิดจากมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยทั่วไป ฉายรังสีตามหลังการผ่าตัด 20-30 ครั้ง 5 วันต่อสัปดาห์ เทคนิคการฉายรังสีในปัจจุบันใช้เทคนิคสามมิติร่วมกับการใช้เทคนิคพิเศษร่วม เช่น การกลั้นหายใจขณะหายใจเข้าในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฉายรังสีที่เต้านมข้างซ้ายบางกรณี เพื่อเป็นการลดปริมาณรังสีไปที่หัวใจซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญ โดยผู้ป่วยจะได้รับการแนะนำจากทีมแพทย์ ให้หายใจเข้าแล้วกลั้นใจนิ่งประมาณ15-20 วินาที ทั้งในวันจำลองการฉายรังสีและทุกวันที่ฉายรังสี วิธีการนี้ช่วยทำให้ทรวงอกยกตัวขึ้นและลำรังสีอยู่ห่างจากหัวใจมากขึ้น
ผลข้างเคียงจากการฉายรังสีบริเวณทรวงอกหรือเต้านม
ผลข้างเคียงระยะสั้น หรือช่วงที่กำลังฉายรังสี ได้แก่ สีผิวอาจมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไป สีแดงหรือคล้ำมากขึ้น อาจมีผิวหนังแห้งหรือคันร่วมด้วย บางครั้งผิวแตกได้ โดยผลข้างเคียงที่ผิวหนังจะเห็นชัดมากสุดหลังฉายรังสี และครบไปแล้วประมาณ 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการต่างๆจะลดน้อยลง นอกจากนี้อาจมีอาการปวด บวม อาการเจ็บแปล๊บๆ หรืออาการหนักๆบริเวณเต้านม ความรู้สึกไหล่ติด ที่เกิดขึ้นได้ ในผู้ป่วยบางรายอาการเกิดได้ตั้งแต่เริ่มฉายรังสีไปแล้ว 2-3 วันและอยู่ได้จนจบการฉายรังสี อาการทั่วไปอื่นๆที่เกิดได้ระหว่างการฉายรังสีได้แก่ อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกดีขึ้นหลังการรักษาครบ
ผลข้างเคียงระยะยาว เกิดได้ภายหลังจากการฉายรังสีครบไปแล้ว ตั้งแต่ 6 เดือนไปจนถึงหลายปี ได้แก่ พังผืดที่บริเวณแผลผ่าตัด การอักเสบหรือพังผืดที่ปอดที่จากการฉายรังสี
การตรวจติดตามระหว่างฉายรังสี/หลังฉายรังสี
มีการตรวจติดตามผู้ป่วยทุกสัปดาห์ เพื่อดูผลข้างเคียงจากการรักษา โดยเฉพาะบริเวณผิวหนัง และหลังฉายรังสีครบ
การดูแลตนเองขณะฉายรังสี
ห้ามใช้แอลกอฮอล์ เช็ดล้างบริเวณที่ฉายรังสี และละเว้นการทาครีมในช่วงระหว่างการฉายรังสี ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่มีผิวแห้งมาก สามารถปรึกษาแพทย์ในการใช้ครีมบำรุงผิว ระวังการออกกำลังกายที่ทำให้เหงื่อออกและเส้นที่ขีดไว้จางได้