- ผลกระทบทางการแพทย์ หรือผลเสียโดยตรงนั้นแทบจะไม่มี แต่มักเป็นผลทางด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม และทางเลือกในการป้องกันโรคผู้ที่พบว่าผลการตรวจเป็นบวกมักจะมีอารมณ์หดหู่ กังวล เศร้าซึม หรือไม่ยอมรับ ซึ่งอาจทำให้ตัดสินใจเลือกแนวทางการป้องกันโรค โดยที่ไม่ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน ส่วนผลการตรวจที่เป็นลบ ก็อาจทำให้ผู้รับการตรวจรู้สึกไม่ดี เนื่องจากทราบว่าญาติสนิทมีความผิดปกติและมีโอกาสเป็นโรคสูงในขณะที่ตนเองไม่เป็น และอาจส่งผลกระทบต่อสมาชิกในครอบครัว และทำให้เกิดความเครียด เกี่ยวกับเรื่องการแต่งงานและการมีบุตร
- ไม่ว่าผลการตรวจจะเป็นอย่างไร ก็เป็นประโยชน์กับผู้เข้ารับการตรวจ
- ประโยชน์จากผลการตรวจที่เป็นลบ คือ การตรวจคัดกรอง (Screening) บ่อย ๆ การตรวจพิเศษอื่น ๆ การใช้ยาหรือการผ่าตัด ก็เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น
- ประโยชน์จากผลการตรวจที่เป็นบวก คือ สามารถวางแผนในการป้องกัน ตรวจคัดกรอง และลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม รวมทั้งยังสามารถเข้าร่วมในการศึกษาที่เป็นประโยชน์ในระยะยาว ในการลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมอีกด้วย
ข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านนี้ยังมีค่อนข้างจำกัด แต่ก็มีทางเลือกอยู่หลายทาง เช่น
1. การเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การตรวจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเป็นระยะ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้สามารถตรวจพบโรคมะเร็งและรับการรักษาได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น
การตรวจหามะเร็งเต้านมทำได้โดย
- เอกซเรย์เต้านม (Mammogram)
- การคลำเต้านมด้วยตนเอง
- การตรวจอื่น ๆ เช่น การตรวจโดยคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
การตราวจหามะเร็งรังไข่ทำได้โดย
- การอัลตราซาวน์ผ่านทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasonography)
- การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่ามะเร็ง (Tumor marker)
- การตรวจร่างกายทั่วไป
ซึ่งการตรวจเหล่านี้อาจทำให้ตรวจพบมะเร็งและรักษาได้ในระยะเริ่มต้น แต่ก็ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้
2. การผ่าตัดเอาอวัยวะที่มีโอกาสเป็นโรคออก เพื่อป้องกันการเกิดเป็นโรค เช่น การผ่าตัดเต้านมทั้งสองข้างออก และการผ่าตัดรังไข่และปีกมดลูกทั้งสองข้าง แต่การผ่าตัดนี้ก็ยังไม่สามารถผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งออกได้ทั้งหมด ทำให้ยังมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งอยู่
3. การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเป็นโรค แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้หรือไม่
4. การใช้ยาบางอย่างเพื่อป้องกันการเกิดโรค อาจจะเป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นหรือเป็น สารบางอย่างที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเพื่อที่จะลดโอกาสเกิดเป็นโรค หรือลดโอกาสกลับเป็นโรคซ้ำ ยกตัวอย่างเช่น ยาทามอกซิเฟน (Tamoxifen) จากหลาย ๆ การศึกษาพบว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมได้ ประมาณ 50% ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง และสามารถใช้ในการลดอัตราการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งได้ผลทั้งในผู้ที่อยู่ในวัยก่อนและหลังหมดประจำเดือน มีบางการศึกษาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับการใช้ยา ทามอกซิเฟน (Tamoxifen) ในกลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 พบว่าอาจจะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดเป็นมะเร็งเต้านม และยังมีประโยชน์ในการลดการเกิดมะเร็งเต้านมในเต้านมอีกข้างในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมแล้ว อีกด้วย ยาอื่น ๆ เช่น ราลอกซิฟีน (Raloxifene) มีการศึกษาขนาดใหญ่ของสถาบันมะเร็งสหรัฐอเมริกาพบว่า สามารถลดอัตราการเกิดมะเร็งเต้านมในกลุ่มวัยหมดประจำเดือนได้ใกล้ เคียงกับยาทามอกซิเฟน(Tamoxifen) เนื่องจากยาทั้งสองชนิดนี้ยับยั้งการเกิดมะเร็งเต้านมด้วยกระบวนการเดียวกัน ดังนั้นจึงน่าจะสามารถลดความเสี่ยงในการ เป็นมะเร็งเต้านมได้ใกล้เคียงกันในกลุ่มผุ้ที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบกันโดยตรง
หมายถึง การตรวจพบความผิดปกติของ ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งจะถูกรายงานผลว่าเป็นผลการตรวจที่ไม่ชัดเจน ซึ่งจะสามารถพบได้ประมาณ 10% ของการตรวจทั้งหมด เพราะทุก ๆ คนก็จะมีความหลากหลายและความแตกต่างทางพันธุกรรม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็ง ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่อาจทราบได้อย่างแน่ชัดว่า การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมในจุดใด ที่ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งก็คงจะต้องรอการศึกาาเพิ่มเติมต่อไป
- กรณีแรก คือผลการตรวจเป็นลบ ที่หมายความว่าเป็นลบอย่างแท้จริง ซึ่งก็คือ ในกรณีที่บุคคลที่มารับการตรวจมีสมาชิกในครอบครัวที่ตรวจพบความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 และผลการตรวจเป็นลบ ซึ่งหมายความว่า ผู้เข้ารับการตรวจไม่น่าจะได้รับการถ่ายทอดยีนที่มีความผิดปกติมา แต่ไม่ได้แปลว่าเมื่อตรวจไม่พบแล้วจะไม่มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเลย กล่าวคือโอกาสเกิดมะเร็งนั้นมีเท่า ๆ กับประชากรปกติทั่วไป กรณีที่สอง คือ ไม่เคยมีสมาชิกในครอบครัวที่ตรวจยืนยันแล้วว่ามีความผิดปกติของยีน แม่มีประวัติในครอบครัวเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและ/หรือ มะเร็งรังไข่ ในกรณีนี้เมื่อตรวจแล้วผลการตรวจเป็นลบ จะไม่สามารถแปลผลได้เนื่องจาก ไม่สามารถสรุปได้ว่ามีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 แต่ตรวจไม่พบหรือไม่มีความผิดปกติของยีนดังกล่าวจริง ๆ นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีความผิดปกติของยีนอื่น ๆ ที่ตรวจไม่พบก็ได้
- หมายความว่าผู้เข้ารับการตรวจมีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 และมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งสูงกว่าประชากรปกติทั่วไปดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ดี การตรวจพบว่ามีความผิดปกติของยีนบ่งบอกได้แค่เพียงว่า บุคคลนั้นมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็ง ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นหรือไม่เป็นโรคมะเร็ง ไม่จำเป็นว่าผู้ที่มีความผิดปกติของยีนจะต้องเป็นโรคมะเร็งทุกคน แต่การตรวจพบนั้นจะส่งผลถึงสมาชิกในครอบครัวและสมาชิกรุ่นต่อไป เพราะถ้ามีการตรวจพบ ไม่ว่าผู้ที่มีความผิดปกติของยีนจะเกิดเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ ก็อาจจะมีการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินี้ไปสู่รุ่นลูกหลานต่อไป
- มีญาติใกล้ชิดสายตรง (มารดา, บุตรสาว, พี่สาว หรือน้องสาว) อย่างน้อย 2 คน เป็นมะเร็งเต้านมโดยที่มีอย่างน้อย 1 คน เป็นโรคเมื่ออายุน้อยกว่า 50 ปี
- มีญาติใกล้ชิด หรือญาติลำดับต่อมา (ย่า, ยาย, ป้า, น้า หรืออา) อย่างน้อย 3 คนเป็นมะเร็งเต้านม
- มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับต่อมาเป็นมะเร็งเต้านม และมีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับต่อมาเป็นมะเร็งรังไข่(1 คนเป็นมะเร็ง 1 ชนิด)
- มีญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งเต้านมทั้ง 2 ข้าง
- มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับต่อมาอย่างน้อย 2 คนเป็นมะเร็งรังไข่
- มีญาติใกล้ชิดหรือญาติลำดับต่อมาเป็นทั้งมะเร็งเต้านมและรังไข่
- มีญาติเพศชายที่เป็นมะเร็งเต้านม
2% จากประชากรทั้งหมดเท่านี้มีประวัติทางครอบครัวดังกล่าวมานี้ ซึ่งถ้าไม่มีประวัติเหล่านี้ ก็จะมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะมีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2
- ในปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการส่งตรวจ แต่ในครอบครัวที่มีประวัติว่ามีสมาชิกเป็นมะเร็งเต้านม และ/หรือมะเร็งรังไข่ บุคคลที่ควรได้รับการตรวจเป็นคนแรก ก็คือคนที่เป็นโรค ซึ่งถ้าตรวจพบว่ามีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 แล้ว สมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวควรได้รับการตรวจเพิ่มเติมว่ามีความผิดปกติด้วยหรือไม่
ดังนั้นถ้ามีสมาชิกในครอบครัวที่ตรวจพบแล้วว่ามีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 หรือมีประวัติทางครอบครัวเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม และ/หรือ มะเร็งรังไข่ ก็ควรเข้ารับการให้คำปรึกษาและแนะนำทางพันธุกรรม และศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งและการตรวจหาความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือ BRCA2
- มีการตรวจทางพันธุกรรมหลายวิธีที่สามารถใช้ตรวจหาความผิดปกติของยีน BRCA1 และ BRCA2 ได้ ส่วนใหญ่เป็นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรม (DNA) ในยีน BRCA1 และ BRCA2 และบางวิธีเป็นการตรวจดูความผิดปกติของโปรตีนที่สร้างมาจากยีนที่ผิดปกติเหล่านี้ และบางครั้งก็อาจใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกัน ซึ่งการตรวจนี้ทำได้โดยการเก็บตัวอย่างเลือด และส่งไปตรวจยังห้องปฏิบัติการพิเศษ ซึ่งใช้เวลาในการตรวจเป็นสัปดาห์จึงจะทราบผล ซึ้งผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นต้องได้รับการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมทั้งก่อน และหลังการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญทางพันธุศาสตร์โรคมะเร็ง การให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคลทั้งในด้านส่วนตัว บุคคล และทางด้านครอบครัวให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกวิธี และเทคนิคในการตรวจ ความถูกต้องแม่นยำของแต่ละวิธี ทางเลือกทางการแพทย์ไม่ว่าผลตรวจจะเป็นบวกหรือลบ โอกาสที่ผลการตรวจจะเป็นผลไม่ชัดเจน (จะกล่าวถึงในภายหลัง) ผลกระทบทางด้านจิตใจที่จะเกิดได้เมื่อทราบผลการตรวจ และโอกาสที่จะถ่ายทอดไปสู่บุตรหลาน
- ยีนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ TP53, PTEN, STK11/LKB1, CHD1, CHEK2, ATM, MLH1 และ MSH2 แต่มะเร็งเต้านมที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยส่วนใหญ่ก็มักจะเกี่ยวข้องกับยีน BRCA1 และ BRCA2
- มีประวัติทางครอบครัวหรือญาติที่ใกล้ชิดหลายคนเป็นโรคเดียวกันนี้
- เป็นผู้ป่วยที่เป็นทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่
- มีญาติในครอบครัวเป็นมะเร็งตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป
- มีเชื้อสายยิว
ทั้งนี้เมื่อมีประวัติทางครอบครัวดังกล่าว
- ไม่จำเป็นว่าต้องเกิดจากการถ่ายทอดของยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 เสมอไป
- ไม่จำเป็นว่าโรคมะเร็งในครอบครัวจะต้องเกี่ยวข้องกับยีนกลุ่มนี้
- ไม่จำเป็นว่าผู้ที่ได้รับถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติจะต้องเกิดเป็นโรคมะเร็ง
ชั่วชีวิตหนึ่งโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งเต้านมในกลุ่มประชากรปกติมีประมาณ 12% (120 คนในประชากร 1,000 คน) แต่ในกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน BRCA1 หรือยีน BRCA2 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมถึง 60% (600 คนในประชากร 1,000 คน) ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าประชากรปกติถึง 5 เท่าเลยทีเดียว ส่วนโอกาสที่จะเกิดเป็นโรคมะเร็งรังไข่ในกลุ่มประชากรปกติมีประมาณ 1.4% (14 คนในประชากร 1,000 คน) เปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีนจะมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่เพิ่มเป็น 15-40% (150-400 คนในประชากร 1,000 คน) แต่ทั้งนี้ การศึกษาเกี่ยวกับโอกาสการเป็นมะเร็งเหล่านี้ เป็นการศึกษาที่ทำในหลายครอบครัวใหญ่ ๆ ซึ่งในครอบครัวเดียวกันก็มักมีทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่เหมือน ๆ กัน ทำให้ไม่อาจสรุปได้โดยตรงว่าเป็นผลจากพันธุกรรมเท่านั้น นอกจากนั้นยังไม่มีข้อมูลในระยะยาวที่เปรียบเทียบระหว่างประชากรทั่วไปกับกลุ่มที่มีความผิดปกติของยีน และกลุ่มที่ไม่มีความผิดปกติของยีน ข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นเพียงการประมาณและอาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการศึกษาหรือมีข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป
- เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง ขาดหาย หรือผ่าเหล่าของยีน บางครั้งอาจทำให้เกิดประโยชน์หรืออาจไม่มีผลใด ๆ แต่ในบางครั้งก็อาจทำให้เกิดผลเสียได้เช่นกัน เช่น เพิ่มโอกาสในการเกิดโรคบางอย่าง เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น ในเพศหญิงกลุ่มที่ได้รับการถ่ายทอดยีน BRCA1 และ BRCA2 โอกาสที่จะเกิดเป็นกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่จะเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยมักจะเป็นเมื่ออายุน้อย (ก่อนหมดประจำเดือน) และมักจะมีญาติใกล้ชิดที่เป็นโรคเดียวกัน
การผ่าเหล่าของยีน BRCA1 ก็อาจจะเพิ่มโอกาสของการเกิดมะเร็งปากมดลูก, มดลูก, ตับอ่อน และลำไส้ใหญ่ ในขณะที่การผ่าเหล่าของยีน BRCA2 ก็อาจจะเพิ่มโอกาสของการเกิด มะเร็งตับอ่อน, กระเพาะอาหาร, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดี และมะเร็งของเซลล์ผลิตเม็ดสี(Melanoma)
ส่วนในเพศชายการผ่าเหล่าของยีน BRCA1 อาจจะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม และมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอ่อน, อัณฑะ และต่อมลูกหมาก ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้ก็มีความเกี่ยวข้องกับยีน BRCA2 ด้วยเช่นกัน
- BRCA1 และ BRCA2 เป็นยีนของมนุษย์ เป็นกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (tumor suppressor gene)ในเซลล์ปกติ BRCA1 และ BRCA2 ช่วยดำรงเสถียรภาพของสารพันธุกรรม และป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์ การผ่าเหล่าของยีนเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่ที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ชื่อ BRCA1 และ BRCA2 ย่อมาจาก Breast cancer susceptibility gene 1 และ Breast cancer susceptibility gene 2
การรักษาด้วยวิธีนี้ช่วยให้แพทย์ผู้รักษา รักษาโรคมะเร็งได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อ target นั้นมีอยู่ในก้อนเนื้องอกบางชนิดแต่ไม่พบในก้อนเนื้องอกชนิดอื่นยกตัวอย่างเช่น HER-2 นั่นคือมีความจำเพาะเจาะจงของยากับมะเร็งชนิดนั้นๆ นั่นเองทำให้ลดอันตรายของยาต่อเซลล์ปกติ ลดผลข้างเคียง และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในที่สุด อย่างไรก็ตามข้อจำกัดที่สำคัญอย่างยิ่งคือการดื้อยาที่ใช้รักษา เช่นกรณีของ imatinib ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของยีนส์ BCR-ABL โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโปรตีนที่ตัวของมันซึ่งป้องกันไม่ให้ยาสามารถมาจับที่ตัวมันได้อีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่แล้วไม่มียาตัวอื่นที่สามารถนำมาใช้รักษาแทนได้ในเซลล์ที่มีการดื้อยาแล้ว(ในกรณีของ BCR-ACL) นั่นเป็นที่มาที่ว่าการรักษาด้วย targeted cancer therapy ที่ดีที่สุดคือการให้ยาร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้ร่วมกับยา targeted cancer therapy ด้วยกันเองหรือยาชนิดอื่นๆ ที่ใช้รักษาโรคมะเร็งนั้นๆ
สรุป
เนื่องจากการให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นการรักษาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงมากและยังใช้เฉพาะต่อโรคมะเร็งบางชนิด ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าตนเองเหมาะสมต่อยาชนิดนั้นๆ
1. Gemtuzumab ozogamicin (Mylotarg®) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด acute myeloid leukemia โดยไปจับกับ CD33 ที่ผิวของ leukemic blast cell และเชื่อมโยงกับสารต่อต้อนมะเร็งที่เรียกว่า calcheamicin ซึ่งเป็นสารที่ป้องกันการสังเคราะห์สารพันธุกรรม(DNA)ภายในเซลล์
2. Tositumomab และ 131I-tositumomab (Bexxar®) ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell non-Hodgkin lymphoma ซึ่งไปจับกับ C20 โดย tositumomab บางส่วนที่นำมารักษาจะถูกฉลากด้วยสารกัมมันตรังสีเป็น131I-tositumomab ซึ่งสารกัมมันตรังสีนี้จะปล่อยรังสีไปทำลายเซลล์มะเร็งขณะที่ tositumomab จับอยู่กับ C20 บนผิว B cell โดยการให้รังสีต่อเซลล์ มะเร็งแบบนี้เป็นการให้ต่อเซลล์มะเร็งบางชนิดที่จำเพาะและปลอดภัยสำหรับเซลล์ปกติข้างเคียงซึ่งแตกต่างจากการฉายรังสีรักษาที่เซลล์ปกติข้างเคียงอาจได้รับผลกระทบไปด้วย นอกจากนี้ tositumomab ยังใช้กลไกการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์มะเร็งได้อีก
3. Ibritumomab tiuxetan (Zevalin®) ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell non-Hodgkin lymphoma ซึ่งไปจับกับ C20 โดย Ibritumomab tiuxetan ที่ถูกฉลากด้วย indium-111 หรือ yttrium-90 สารกัมมันตรังสีเหล่านี้จะปล่อยรังสีไปทำลายเซลล์มะเร็งที่ Ibritumomab tiuxetan ไปจับต่อไป
วัคซีนโรคมะเร็ง และ การรักษาด้วยยีนส์ (cancer vaccine and gene therapy) ยังจัดเป็น targeted cancer therapy อีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากมันสามารถรบกวนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิดได้ รายละเอียดสามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของสถาบันมะเร็งสหรัฐอเมริกา
1. Rituximab (Rituxan®) ใช้รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด B-cell lymphoma จัดเป็น monoclonal antibody ซึ่งสามารถตรวจจับ CD20 ที่ผิว B cell ได้ หลังจากที่จับกันแล้วจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์มะเร็งต่อไป นอกจากนี้ rituximab ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง(apoptosis)ได้โดยตรงอีกด้วย
2. Alemtuzumab (Campath®) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด B-cell chronic lymphocytic leukemia จัดเป็น monoclonal antibody ซึ่งไปจับกับ CD52ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้ในเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็งชนิด B cell หรือ T cell หลังจากที่จับกันแล้วจะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้มากำจัดเซลล์มะเร็งต่อไป
ซึ่งเซลล์มะเร็งจะเติบโตมีขนาดใหญ่มากขึ้นได้นั้นจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร และออกซิเจนผ่านโดยทางเส้นเลือดอย่างเพียงพอ เมื่อการสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็งถูกขัดขวางเซลล์มะเร็งจึงไม่สามารถเติบโตต่อไปได้
1. Bevacizumab (Avastin®) ใช้รักษามะเร็งสมองที่ชื่อว่า glioblastoma นอกจากนี้ยังมีใช้ในมะเร็งปอดชนิด non-small cell, มะเร็งเต้านมชนิดลุกลามและมะเร็งลำไส้ส่วนล่าง (colorectal cancer)ชนิดลุกลาม จัดเป็น monoclonal antibody ซึ่งไปจับกับปัจจัยกระตุ้นการเจริญเติบโตที่ชื่อว่า vascular endothelial growth factor (VEGF) ทำให้มันไม่สามารถไปจับกับ receptor บนเซลล์ของผนังหลอดเลือด(endothelial cell) เพื่อกระตุ้นการสร้างหลอดเลือดได้
2. Sorafenib (Nexavar®) ใช้รักษามะเร็งที่ไตระยะแพร่กระจาย หรือมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinoma โดยไปขัดขวางการทำงานของ kinase บริเวณที่ VEGF จับกับ receptor ทำให้ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงที่ก้อนมะเร็ง นอกจากนี้ serofenib ยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งได้อีก
3. Sunitinib (Sutent®) ใช้รักษามะเร็งที่ไตระยะแพร่กระจาย และมะเร็งลำไส้ชนิด gastrointestinal stromal tumor ที่ไม่ตอบสนองต่อการักษาด้วย imatinib จัดเป็น small-molecule drug ที่ยับยั้งการทำงานของ VEGF ป้องกันการสร้างเส้นเลือดที่จะมาเลี้ยงก้อนมะเร็ง
1. Bortezomib (Velcade®) ใช้รักษามะเร็งของระบบไหลเวียนโลหิตชนิดหนึ่งชื่อว่า multiple myeloma และ mantle cell lymphoma ทำงานโดยการไปรบกวนการทำงานของโครงสร้างภายในเซลล์ที่ชื่อว่า proteasome ซึ่งมีหน้าที่สลายโปรตีนที่มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ผลที่ตามมาทำให้เซลล์มะเร็งตาย อย่างไรก็ตามเซลล์ปกติในร่างกายก็ได้รับผลกระทบด้วยแต่ก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น
- targeted cancer therapy ชนิดที่ไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ หรือ สารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ซึ่ง targeted cancer therapy กลุ่มนี้เรียกว่า “signal transduction inhibitor” ได้แก่
1. Imatinib mesylate (Gleevec®) ใช้รักษา gastrointestinal stromal tumor ซึ่งเป็นมะเร็งลำไส้ที่พบได้น้อยชนิดหนึ่งและมะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia) โดยจะไปรบกวนการทำงานของเอนไซม์ที่ชื่อ tyrosine kinase ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดย Imatinib จัดเป็น small-molecule drug ที่สามารถผ่านเข้าสู่เยื่อหุ้มเซลล์ไปออกฤทธิ์ที่ target ได้โดยตรง
2. Dasatinib (Sprycel®) ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด chronic myeloid leukemia และ acute lymphoblastic leukemia จัดเป็น small-molecule drug ที่ไปยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase หลายชนิด
3. Nilotinib (Tasigna®) ใช้รักษา chronic myeloid leukemia จัดเป็น small-molecule drug ที่ไปยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase หลายชนิดเช่นเดียวกัน
4. Trastuzumab (Herceptin®) ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านมบางกลุ่ม จัดเป็น monoclonal antibody ที่ไปจับกับ human epidermoid growth factor receptor 2 (HER-2) ซึ่งreceptor ชนิดนี้เกี่ยวข้องกับ tyrosine kinase ซึ่งมีมากในมะเร็งเต้านมบางกลุ่ม และโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ บางชนิด อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ของ trastuzumab ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้นัก แต่คาดว่าน่าจะไปจับกับ HER-2 บนผิวเซลล์ที่มีระดับของ HER-2 อยู่สูง ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ HER- 2 มีการส่งสัญญาณไปกระตุ้นการเจริญเติบโตต่อไป นอกจากนี้ยังอาจจะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้ามาทำลายเซลล์มะเร็งที่มีระดับ HER-2 อยู่สูงด้วย
5. Gefitinib (Iressa®) ใช้รักษาโรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell ในระยะแพร่กระจาย ซึ่งมีการใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยกำลังได้รับหรือเคยได้รับยาเคมีแล้ว ยา Gefitinib จัดเป็น small-molecule drug ที่ยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase ที่ epidermal growth factor receptor (EGFR) ซึ่งได้ในเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิด
6. Erlotinib (Tarceva®) ใช้รักษาโรคมะเร็งปอดชนิด non-small cell ในระยะแพร่กระจาย และยังใช้ในโรคมะเร็งตับอ่อนที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ หรือ มีการลุกลามแล้วเช่นเดียวกัน จัดเป็น small-molecule drug ที่ยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase ที่ EGFR
7. Cetuximab (Erbitux®) ใช้รักษา มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ และมะเร็งลำไส้ส่วนล่าง(colorectal cancer) ชนิด squamous cell carcinoma จัดเป็น monoclonal antibody ซึ่งไปจับที่ EGFR ทำให้ไม่สามารถรับสัญญาณที่จะไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้
8. Lapatinib (Tykerb®) ใช้รักษาโรคมะเร็งเต้านมระยะลุกลามเฉพาะที่และระยะแพร่กระจาย จัดเป็น small-molecule drug ที่ไปยับยั้งการทำงานของ tyrosine kinase ที่ HER-2
9. Panitumumab (Vectibix®) ใช้รักษามะเร็งลำไส้ส่วนล่าง (colon cancer)ที่มีการแพร่กระจาย จัดเป็น monoclonal antibody ที่ไปจับกับ EGFR
10. Temsirolimus (Torisel®) ใช้ในมะเร็งที่ไตระยะแพร่กระจาย จัดเป็น small-molecule drug ซึ่งไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ชื่อ mTOR ซึ่งเป็นเอนไซม์อีกตัวที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นการเจริญเติบโต และการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
- Target molecule ตัวแรกคือ ตัวรับ (receptor) สำหรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นตัวสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมนั่น ก็คือเมื่อเอสโตรเจนเข้าไปจับกับตัวรับฮอร์โมน (receptor) ภายในเซลล์ (Estrogen receptor) ผลที่ได้ก็คือ hormone-receptor complex ซึ่งต่อมาจะไปกระตุ้นยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม โดยมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการยับยั้งการทำงานของเอสโตรเจนในเซลล์มะเร็งเต้านมที่มีตัวรับ (receptor) สำหรับเอสโตรเจนนี้ (ER-positive breast cancer cell)มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งเต้านมมียาหลายตัวในกลุ่มนี้ที่ได้รับการรับรองจาก FDA เพื่อใช้รักษามะเร็งเต้านมในกลุ่ม ER-positive breast cancer ได้แก่ selective estrogen receptor modulators(SERMs) เช่น Tamoxifen, Toremifene (Fareston®) ซึ่งจับกับ ER และป้องกันการจับของเอสโตรเจนกับreceptor หรือ ยาอีกตัวในกลุ่มนี้คือ Fulvestrant (Faslodex®) ซึ่งจับกับ ER และกระตุ้นการทำลาย ER เป็นผลให้ ER ภายในเซลล์ลดลงตามมา นอกจากนี้ยังมียาอีกกลุ่มคือ aromatase inhibitors (AIs) ซึ่งอธิบายการทำงานได้จาก aromatase นั้นปกติจะเป็นตัวสำคัญในการสร้างเอสโตรเจนในร่างกาย ดังนั้นการยับยั้งการทำงานของ aromatase จะมีผลให้ระดับเอสโตรเจนลดลง แล้วการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะลดลงตามมา แต่อย่างไรก็ตามในคนที่ยังไม่หมดประจำเดือนจะสามารถสร้าง aromatase มาได้มากกว่าการยับยั้งการทำงานของ aromatase โดย AIs จากเหตุผลดังกล่าวจึงมีการใช้ AIs ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันยาในกลุ่ม AIs ที่ใช้กันได้แก่ Anastrozole (Arimidex®), Exemestane (Aromasin®) และ Letrozole (Femara®)
- targeted cancer therapy ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่ small-molecule drug และ monoclonal antibody แล้ว small-molecule drug สามารถแพร่เข้าสู่เซลล์และจับกับเป้าหมายภายในเซลล์ได้โดยตรง แต่ monoclonal antibody ส่วนใหญ่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ แต่จะไปจับกับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์ในการทดลองนั้นมี small-molecule drug หลายตัวที่มีคุณสมบัติคล้ายๆกัน แต่ตัวที่มีคุณสมบัติดีที่สุดเพียงไม่กี่ตัวจะถูกนำมาปรับปรุงโครงสร้างทางเคมีเพื่อสร้าง small-molecule drug ที่มีความจำเพาะ ต่อเป้าหมายมากที่สุด และจะถูกนำมาศึกษาหาตัวที่มีประสิทธิภาพและจำเพาะต่อเป้าหมายที่สุดต่อไปอีก ในทางตรงกันข้ามสำหรับการผลิต monoclonal antibody โดย target molecule ที่ถูกทำให้บริสุทธิ์จะถูกนำมาฉีดให้สัตว์ทดลองซึ่งส่วนใหญ่จะใช้หนูทดลอง หลังจากนั้น antibody หลากหลายชนิดจะถูกสร้างขึ้นมาในตัวหนูทดลอง เซลล์ของม้ามซึ่งแต่ละเซลล์จะสร้าง antibody คนละชนิดกันจะถูกเก็บออกมาแล้วนำไปรวมกับ myeloma cell เป็น fusion cell ซึ่ง fusion cell เหล่านี้จะถูกโคลนนิ่ง (กระบวนการแบ่งเซลล์ซึ่งได้เซลล์ใหม่ที่มีโครงสร้างเหมือนกับเซลล์ต้นแบบทุกประการ) ซึ่งต่อมาจะได้ antibody ของแต่ละ fusion cell ออกมาในปริมาณมากซึ่งก็คือที่มาของ monoclonal antibody นั่นเอง โดยจะถูกนำไปทดสอบเพื่อหา monoclonal antibody ที่ออกฤทธิ์ต่อ target ได้ดีที่สุดต่อไปก่อนที่ monoclonal antibody จะถูกนำมาใช้ในคน monoclonal antibody จะถูก“humanized” โดยการนำโมเลกุลของสารที่คล้ายกับโมเลกุลในร่างกายของคนมาแทนที่ส่วนของ monoclonal antibody ที่แตกต่างจากคนให้ได้มากที่สุดก่อน โดยใช้วิธีทางพันธุ-วิศวกรรม ซึ่งการ humanization นี้เป็นการป้องกันไม่ให้ภูมิคุ้มกันภายในร่างกายนั้นมาทำลาย monoclonal antibody ก่อนที่มันจะสามารถเข้าไปจับกับ target molecule ได้
- targeted cancer therapy นั้นจะไปรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และ การกระจายของเซลล์มะเร็ง โดยเป้าหมายคือโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณระดับเซลล์ ที่มีผลกระทบต่อการแบ่งตัว การเคลื่อนที่ การตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก หรือแม้แต่การตายของเซลล์เอง ซึ่งผลจากกระบวนการเหล่านี้จะมีผลทำให้เกิดการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และบางครั้งจะไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายโดยตัวของมันเองโดยกระบวนการที่เรียกว่า “apoptosis” นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เซลล์มะเร็งตายโดยทางอ้อมโดยไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้มาทำลาย หรือ กระตุ้นการส่งสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งมาทำลายเซลล์มะเร็งนั้นเอง ดังนั้นการพัฒนา targeted therapy นั้นจึงเป็นการหากลยุทธ์ เพื่อที่จะหาว่าเป้าหมายใดที่เป็นตัวกุญแจสำคัญต่อ การเจริญเติบโตของเซลล์ และ การอยู่รอดของเซลล์นั่นเอง
- ตัวอย่างที่จะกล่าวถึงคือ chronic myeloid leukemia (CML) ซึ่งเป็นผลมาจากการมียีน BCR-ABL ภายในร่างกายโดยยีนดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อมีการแตกตัวของโครโมโซมคู่ที่ 9 และ 22 แล้วเกิดการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนระหว่างกันในช่วงนั้น หลังจากนั้นผลที่ได้คือโครโมโซมคู่หนึ่งที่มีทั้ง ABL gene จากโครโมโซมคู่ที่9 และ BCR gene จากโครโมโซมคู่ที่ 22 อยู่ด้วยกัน ซึ่งโดยปกตินั้นโปรตีนที่สร้างโดย ABL gene (Abl) จะสามารถไปควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ได้ก็ต่อเมื่อมีปฏิกิริยากับ signaling molecule อื่นๆ แต่ในกรณีที่โปรตีนชนิดนี้ถูกสร้างออกมาในรูปของ Bcr-Abl จาก BCR-ABL fusion gene ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนโครโมโซมดังกล่าวข้างต้น โปรตีนนั้น จะสามารถทำงานได้ทันที ดังนั้น Bcr-Abl จึงเป็น molecular target ที่ดีตัวหนึ่งเพื่อนำไปพัฒนาใน targeted cancer therapy ต่อไป
- Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางตัวที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยการรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้น เนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular targets” นี้จึงถูกเรียกว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies” เมื่อพิจารณาในระดับโมเลกุล หรือ การเปลี่ยนแปลงระดับเซลล์แล้วกล่าวได้ว่า targeted cancer therapy นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นๆ รวมไปถึงการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด หรือ การฉายแสง ซึ่งนอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีนี้ยังมีความปลอดภัยกับเซลล์ปกติในร่างกายอีกด้วย ในปัจจุบันมี targeted cancer therapy หลายตัวที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของประเทศอเมริกา (US FDA)แต่ก็ยังมีอีกหลายตัวที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการวิจัยซึ่งมีตั้งแต่ระดับการศึกษาในสัตว์ไปจนถึงการศึกษาในคน ในการวิจัยเหล่านี้มีทั้งการวิจัยเพื่อใช้ในการรักษาโดยใช้ยา molecularly targeted drugเพียงตัวเดียว หรือใช้รักษาควบคู่ไปกับยา molecularly targeted drug ตัวอื่น หรือคู่ไปกับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ เช่น ยาเคมีบำบัด เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงทางด้านหน้าที่การทำงานของกาย
- ช่วงเวลาการนอนยาวนานขึ้น
- ปลุกตื่นยาก
- สับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ หรือบุคคล
- ไม่อยู่นิ่ง หรืออาจจะมีการแกะ ดึง บริเวณที่นอน
- วิตกกังวล ลุกลี้ลุกลน กลัวที่จะอยู่คนเดียวในเวลากลางคืน
- ไม่อยากอาหารหรือน้ำ
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ
- ให้เวลากับผู้ป่วยให้มากขึ้น
- ย้ำเตือนกับผู้ป่วยเสมอว่ามีเราอยู่เคียงข้าง
- ใช้ความเงียบสงบอย่างมีสติ เพราะการใช้คำพูดหรือน้ำเสียงที่แสดงถึงความเชื่อมั่นต่อผู้ป่วยจะช่วยลดการเกิดความ หวาดกลัวหรือความสับสนในผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
- ใช้การประคบเย็น ที่หน้าผาก ใบหน้า และลำตัว แก่ผู้ป่วย
การเปลี่ยนแปลงของสารคัดหลั่ง
- มีเมือกหรือเสมหะมากขึ้นในลำคอ ทำให้ฟังดูมีเสียงที่ทรมาน บางครั้งเรียก “เสียงระรัวแห่งความตาย”
- เสมหะที่เหนียวข้นขึ้น เนื่องจากดื่มน้ำน้อย และทำให้ยากต่อการไอออกมา
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ
- ช่วยลดความเหนียวข้นของเสมหะ ด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นภายในห้อง
- ใช้ก้อนแข็ง หรือหลอดดูดน้ำ ในกรณีที่ผู้ป่วยยังสามารถกลืนได้ ซึ่งวิธีการนี้ช่วยให้เสมหะลดความเหนียวลงได้และ แก้ความกระหายรวมทั้งปากแห้งได้
- เปลี่ยนท่าทางให้ผู้ป่วย เพื่อช่วยระบายสารคัดหลั่งในปาก
การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนโลหิต
- แขน ขา จะเย็นขึ้น
- สีคล้ำขึ้นตามแขน ขา มือ และเท้า ตามมาด้วยการเป็นจุดๆ จ้ำๆ ของเลือด
- ลักษณะดังกล่าวจะแพร่กระจายไปตามร่างกายส่วนอื่นๆ
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ
- ห่มผ้าให้ความอบอุ่น
- ระมัดระวังในการใช้ผ้าห่มไฟฟ้า เพราะอาจจะทำให้เกิดการไหม้แก่ผิวหนังได้
การเปลี่ยนแปลงในระบบการรับรู้
- สายตามองเห็นลดลง
- การได้ยินลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพูดไม่ได้ แต่ยังสามารถได้ยินอยู่
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ
- เปิดไฟสลัว อย่าเปิดไฟส่องเข้าดวงตาผู้ป่วย
- ยังคงต้องพูดคุยและมีสัมผัสที่เหมาะสม เพื่อแสดงว่าเรายังคงอยู่เคียงข้างผู้ป่วยเสมอ
การเปลี่ยนแปลงการหายใจ
- การหายใจผิดจังหวะ
- หยุดหายใจเป็นช่วงๆ (10-30 วินาที)
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ
- ยกศีรษะผู้ป่วยให้สูงขึ้นโดยหมอนหรือหมุนเตียงให้สูงขึ้น (กรณีใช้เตียงแบบโรงพยาบาล)
การเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย
- ปัสสาวะออกลดลง
- ปัสสาวะเข้มขึ้น
- กลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่
สิ่งที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลควรกระทำ
- ใส่ผ้าอ้อมอนามัยแก่ผู้ป่วย
- เรียนรู้การใช้สายสวน ในกรณีที่จำเป็น
อาการที่บ่งชี้ว่าเสียชีวิตแล้ว
- หยุดหายใจ
- ชีพจรหยุดเต้น
- โดยปกติแล้วผู้ปกครองส่วนมากจะไม่ปรารถนาที่จะพุดคุยเรื่องความตายกับเด็กๆ ในปกครองของตนเองเพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่ต้องการกับการเล่าเรื่องดังกล่าว แต่อย่างไรก็ดี การได้พุดคุยกับเด็กๆ เรื่องความสูญเสียที่เกิดขึ้น ก็เป็นการช่วยให้เขาเหล่านั้นเผชิญกับความกลัวได้ดีขึ้นปฏิกิริยาของเด็กต่อการสูญเสียชีวิต หรือการตายนั้นแตกต่างจากผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก กล่าวคือ เด็กอาจจะเป็นไปในรูปแบบของคำถามที่เกี่ยวข้องกับความตาย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความไม่เหมาะสมหรือทำให้ผู้ใหญ่อารมณ์เสียได้ ดังนั้นผู้ใหญ่จะต้องพึงระลึกล่วงหน้าไว้ก่อนเสมอบทบาทที่ดีที่สุดที่ผู้ใหญ่ควรกระทำคือการรับฟังอย่างตั้งใจและละเอียดอ่อน ต่อไป
- ผู้ใหญ่มักจะคิดเสมอว่าเด็กไม่เข้าใจในเรื่องความตาย ซึ่งไม่จริงเลย ทั้งนี้เพราะอายุของเด็กแต่ล่ะช่วงวัยจะเรียนรู้ถึงการตายได้แตกต่างกัน กล่าวคือ เด็กก่อนวัยเรียนนั้น คิดว่าความตายเป็นเรื่องชั่วครั้งชั่วคราวและผู้ที่ตายจะกลับมามีชีวิตใหม่ได้ ส่วนเด็กวัย 5-9 ปีนั้น จะเข้าใจว่าบุคคลที่ตายนั้นคือ ได้ไปที่ไหนสักแห่งหนึ่ง เพียงสักระยะ ทำให้ไม่ได้เห็นในช่วงนี้ แต่เด็กอายุหลัง 9 หรือ 10 ปี ไปแล้วจะเข้าใจได้แล้วว่าคนที่ตายไปแล้ว นั้นหมายถึงอย่างไร ตามที่คนทั่วไปเข้าใจได้ เด็กที่ประสบภาวะ “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” จะไม่มีกลไกตามธรรมชาติในการกลับคืนสู่ปกติอย่างเช่นผู้ใหญ่มี เด็กเหล่านั้นจะมีอารมณ์โศกเศร้า โกรธ รู้สึกผิด ไม่ปลอดภัย และวิตกกังวล บางครั้งเด็กจะแสดงอารมณ์โกรธผ่านทางญาติที่เหลืออยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการในอนาคตได้ บ่อยครั้งที่เด็กจะคิดว่าความตายที่เกิดขึ้นนั้น เค้ามีส่วนในความผิดด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กเหล่านั้นเคยคิดอยากให้คนผู้นั้นตายจริงๆ ด้วย โดยอาจจะแสดงออกมาในรูปแบบของการฝันร้าย หรือการแสดงออกมาในพฤติกรรมที่ดูเด็กกว่าอายุจริง บางกรณีเด็กบางคนจะพยายามทำให้ดูว่าไม่ได้รับผลกระทบจากการสูญเสีย แต่ก็ไม่สามารถทำได้ตลอด เพราะก็มีช่วงเวลาที่ได้แสดงออกมาว่าสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักไป
- การสูญเสียสมาชิกไปหนึ่งคน ย่อมส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ทัศนะคติและพฤติกรรมที่แสดงออกของครอบครัวจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของวัฒนธรรม และความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของเหล่าสมาชิกเอง สิ่งสำคัญคือ การเปิดใจและสื่อสารกันของสมาชิกที่เหลือจะเป็นตัวช่วยประคับ-ประคองให้ผ่านวิกฤติไปได้ด้วยดี นอกจากนี้การพูดคุยและถกกันในประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดชอบและหน้าที่ของสมาชิกที่เหลือก็เป็นสิ่งจำเป็น
- ภายหลังการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักได้จากไปนั้น การโศกเศร้าเสียใจ เจ็บปวด โกรธ ร้องไห้ และซึมเศร้า ย่อมเป็นธรรมดาที่จะเกิดขึ้นได้สิ่งสำคัญคือ การแยกแยะให้ได้ว่า ระดับคือปกติธรรมดา หรือระดับไหนคือระดับที่เรียกว่าเจ็บป่วยรุนแรงแล้ว ซึ่งพบว่า “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” นั้นสามารถเป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้ประมาณ 20% ซึ่งกรณีของการเกิดเป็นโรคซึมเศร้าแล้วนั้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาเสมอ
- “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” ในกรณีของการเจ็บป่วยยาวนานแล้วเสียชีวิตนั้น เป็นสิ่งที่พอจะคาดการณ์ได้ และช่วยให้ครอบครัวค่อยๆ ปรับสภาพรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆในอนาคตได้พอควร ในระหว่างที่ผู้ป่วยกำลังเผชิญหน้ากับความตายอยู่อย่างช้าๆนั้น เหล่าผู้ใกล้ชิดจะค่อนข้างรับสภาพได้ แต่เมื่อเวลาแห่งการสูญเสียคืบคลานเข้ามาจริงๆ ก็ยังพบว่าส่วนหนึ่งก็มีปฏิกิริยาแห่งการสูญเสียไม่น้อยเช่นกัน
- เมื่อใดก็ตามที่มีการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก ผู้ใกล้ชิดย่อมต้องมีความเศร้าโศกเสียใจเกิดขึ้นได้ ลักษณะปรากฎการณ์เช่นนี้ เรียกว่า “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก” ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ และอาจมีความแตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคลทั้งด้านอารมณ์ ที่อาจมีความหลากหลาย หรือระยะเวลาที่อาจจะสั้น-ยาวแตกต่างกัน รวมถึงการแสดงออกทางด้านพฤติกรรมด้วย ทั้งนี้อาจเพราะมีความแตกต่างทางด้านปัจจัยทางศาสนา และสังคม-วัฒนธรรมด้วย
- พบได้ไม่มากนัก แต่ถ้าเกิดขึ้นมักจะเกิดที่บริเวณแขน ขา หรือใบหน้า หรือบางครั้งอาจจะเกิดอาการควบคุมการขับถ่ายของกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ไม่ได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น จะพบว่าลูกตาหยุดนิ่งและรูม่านตาขยาย สัญญาณเช่นนี้บ่งบอกว่าผู้ป่วยได้เสียชีวิตแล้วในกรณีที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในที่พักอาศัยของผู้ป่วยเอง การเรียกหาความช่วยเหลือจากบุคคลที่เหมาะสมเช่นแพทย์หรือบุคลากรในทีมผู้ดูแลเป็นสิ่งสมควร ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย
- การหายใจที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยในยามนี้ คือท่านอนหงาย หรือท่าตะแคง แต่อาจจะปรับเป็นท่านั่งได้บ้างโดยให้ยึดถือความรู้สึกผ่อนคลายและความสบายของผู้ป่วยเป็นหลักสำคัญ สำหรับออกซิเจนนั้นแนะนำว่าควรให้ แบบทีละน้อยๆ บ่อยครั้งที่จะสังเกตเห็นว่าลักษณะการหายใจจะมีรูปแบบที่แปลกไป คืออาจมีช่วงที่เร็ว หรือช้าสลับกันไปมา และอาจมีเสียงครืดคราดในลำคอจากเสมหะซึ่งอาจไม่น่าฟังนัก แต่มิได้หมายความว่าผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายแต่อย่างใด
- เมื่อการไหลเวียนของโลหิตเริ่มลดลง มือ เท้าของผู้ป่วยจะเริ่มเย็นลง สีคล้ำขึ้นหรือบางครั้งจะดูว่าซีดลง และเมื่อเวลาผ่านไปจะเริ่มเกิดขึ้นที่ใบหน้า แม้ว่าจะเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาแล้วก็ตามแต่ไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะสูญเสียการรับรู้ ในเรื่องของภูมิอากาศ ดังนั้น การให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายจึงต้องกระทำอย่างต่อเนื่องต่อไป
- ก้อนน้ำแข็ง น้ำเปล่า หรือน้ำผลไม้ นั้นสามารถให้ได้เมื่อผู้ป่วยร้องขอ แต่ควรจะหยุดเมื่อมีอาการกลืนลำบากแล้ว ทั้งนี้เพราะผู้ป่วยไม่มีความจำเป็นในการรับสารอาหารเพื่อประโยชน์ระยะยาวแต่อย่างใด สำหรับอาหารแข็งไม่จำเป็นก็ไม่ควรให้เว้นแต่เป็นความประสงค์ของผู้ป่วยเอง
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถดื่มน้ำได้จากแก้วเอง การใช้ช้อนตักป้อนเป็นทางเลือกที่สามารถกระทำได้ อีกประการคือการดูแลสุขอนามัยของปากให้ผู้ป่วยก็มีความสำคัญ คือ การใช้ปิโตรเลียมเจลหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ให้ความหล่อลื่นทาบริเวณริมฝีปากเพื่อป้องกันการแห้งแตก และควรใช้ผ้าเช็ดสารคัดหลั่ง ที่บริเวณมุมปากของผู้ป่วยด้วย
- ผู้ป่วยหลายรายจะมีอาการสับสน หรือระดับการรู้สติลดน้อยลงไป อาจจะหลายชั่วโมง หรือหลายวันก่อนเสียชีวิตได้ อาการปวดที่เคยมีจะเป็น สัญญาณแรกที่ลดน้อยหายไป การสื่อสารโดยการพูดคุย จะค่อยๆลดลง และมักจะไม่ค่อยสัมพันธ์กับท่าทีที่แสดงออกแต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงมีการรับรู้ด้วยการฟังที่เป็นปกติแต่ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นคำพูดที่แสดงความห่วงใยจึงยังรับรู้ได้ นอกจากนี้ การสัมผัสเช่น การกอด ก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถสัมผัสได้อยู่เช่นกัน
- ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดของผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย จะมีความรู้สึกประหม่าและกังวลเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยเข้าใกล้เวลาของการสูญเสียชีวิต ต่อไปนี้จะเป็นคำแนะนำสำหรับการเตรียมพร้อมเพื่อช่วยให้เข้าใจและรับรู้ถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเวลาแห่งการใกล้สูญเสียชีวิตดำเนินขึ้น
- สำหรับผู้ป่วยและครอบครัวของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายนั้น ย่อมจำเป็นสำหรับการเผชิญกับการสูญเสียชีวิตในเวลาอันไม่ไกล ถ้ากรณีที่ตั้งรับสถานการณ์ได้ดี การเสียชีวิตก็เป็นเพียงแค่สัจธรรมที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญเท่านั้น แต่ไม่น้อยที่เป็นกรณีที่ผู้ป่วยและ/หรือครอบครัวอยู่ในอาการหวาดกลัวและเจ็บปวด ทรมานกับการเผชิญหน้านี้ มีผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะแพร่กระจายจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะรักษาตัวอยู่ที่บ้านพักของตนจนกระทั่งเสียชีวิตไป ทั้งนี้เพราะการเจ็บป่วยเรื้อรังและยาวนานนั้นทั้งญาติและทีมแพทย์จะสามารถดูแลได้ง่ายกว่าถ้าอยู่ในบ้านพักของตนเอง
- การที่ครอบครัวใดๆ มีสมาชิกเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม ย่อมก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวนั้นๆ รูปแบบหนึ่งที่พบได้เสมอ คือ การที่สมาชิกในครอบครัวนั้นๆพยายามกระทำทุกหนทางเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับผู้ป่วย ซึ่งเป็นบุคคลอันเป็นที่รักอย่างดีที่สุด ในส่วนของบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน เช่น การต้องละจากงานประจำมาดูแลผู้ป่วย การต้องรับบทบาทหัวหน้าครอบครัวหรือหารายได้เข้าครอบครัว เป็นต้น
ในส่วนของผู้ป่วยเองก็เช่นกัน หน้าที่บทบาทของตนเองที่เคยได้ปฏิบัติในครอบครัวก็จะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อป่วยด้วยโรคมะเร็ง เช่น สตรีผู้หนึ่งต้องป่วยเป็นมะเร็งระยะลุกลาม ต้องกลายเป็นผู้ที่ไร้สมรรถภาพ ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา จึงได้สูญเสียบทบาทของการเป็นภรรยาที่คอยดูแลสามี สูญเสียบทบาทของแม่บ้านในการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยในบ้าน รวมทั้งสูญเสียบทบาทของมารดาในการดูแลบุตรอีกด้วย ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จะเหนี่ยวนำให้สตรีรายนี้เกิดภาวะ “ปฏิกิริยาต่อการสูญเสีย” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของอารมณ์ซึมเศร้า ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่จะต้องเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงส่วนนี้ และพร้อมทั้งพยายามช่วยเหลือเกื้อกลูแก่ผู้ป่วย และครอบครัวที่
ประสบปัญหาเช่นนี้เสมอ
อีกประเด็นหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ คือ ผู้ที่รับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยนั้น ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามไป เพราะนอกจากที่จะต้องเผชิญกับความหดหู่ และเหนื่อยยากในการดูแลผู้ป่วยแล้ว ต้องอย่าลืมว่าผู้นั้นก็ยังต้องมีภาระในการดูแลรับผิดชอบสุขภาพของตนเองอีกด้วย สิ่งสำคัญคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยนั้นควรได้มีเวลาสำหรับการผ่อนคลายจากความคร่ำเคร่งในภาระกิจการดูแลผู้ป่วยด้วยบทความรักษาใจยามป่วยไข้ โดยพระธรรมปิฏก
- ศาสนาเป็นแหล่งพึ่งพิงที่สำคัญและมีอิทธิพลสูง สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง สำหรับการสร้างศรัทธาและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ บทบาทของผู้นำทางศาสนา เช่น พระสงฆ์หรือนักบวชในแต่ละศาสนา สามารถเข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยในด้านเป็นแหล่งพึ่งพิงทางจิตใจและจิตวิญญาณถึงขนาดที่บางโรงพยาบาลในต่างประเทศ มีการสนับสนุนให้คณะผู้ทำพิธีทางศาสนาเข้ามามีส่วนในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วย
- สิทธิการตายอย่างสงบ หมายถึง การเสียชีวิตโดยปราศจากความเจ็บปวดหรือทุกข์ทรมานซึ่ง มักจะพบได้ในกรณีที่ผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรังจนไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ (พิจารณาที่ความสามารถในการพูดจาสื่อสาร หรือเขียนหนังสือ เป็oเกณฑ์) ในสหรัฐอเมริกานั้น ยังไม่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย ยกเว้นมลรัฐโอเรกอนที่ควรทราบคือ สิทธิการตายอย่างสงบ นั้นมิใช่การุณยฆาตซึ่งเป็นการให้ยาในขนาดสูงจนผู้ป่วยเสียชีวิตไปในที่สุด
- การตัดสินใจในช่วงใกล้เสียชีวิต มักมีความหมายถึง การตัดสินใจถึงการเลือกที่จะได้รับการรักษาอย่างไรเมื่อผู้ป่วยนั้นๆใกล้เสียชีวิตโดยทั่วไปมักจะมีเนื้อหาที่สำคัญเกี่ยวกับการยอมรับหรือปฏิเสธการรักษาเพื่อยื้อชีวิต ซึ่งในทางปฎิบัติแล้ว ก็คือการจัดทำเป็นเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯนั่นเอง
- คำสั่ง “ไม่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ” คือ การรักษาที่แพทย์ผู้ดูแล ได้สั่งการไว้แก่ทีมงานที่ร่วมกันดูแลรักษาผู้ป่วยว่าเมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดทำงาน ไม่ต้องมีการช่วยเหลือ ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของคำสั่งการในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ของผู้ป่วย
- กรณีที่ผู้ป่วยนั้นพักอาศัยอยู่ที่บ้านแล้ว เกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น ระบบบริการฉุกเฉินอาจจะให้การช่วยเพื่อฟื้นคืนชีพแก่ผู้ป่วยตามระบบงานก่อนได้ โดยที่ไม่ทราบว่าผู้ป่วยรายนั้นๆ อาจมีเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ อยู่
ก่อนแล้วเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาจึงมีการทำสายข้อมือที่ระบุข้อความว่า “ไม่ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ” ไว้ให้แก่ผู้ป่วยขณะพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
- ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่เมื่อใดก็ตามที่ต้องการเปลี่ยน ควรมีการเซ็นรับรอง และระบุวันที่ให้ชัดเจน พร้อมทั้งกับมีพยานร่วมรับรู้ด้วย ในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกากำหนดให้เมื่อใดที่ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนเจตจำนงในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯจะต้องแจ้ง แก่แพทย์ผู้ดูแล ให้เซ็นรับทราบด้วย
- ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี เอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ก็ไม่ส่งผลต่อการรักษา ณ ปัจจุบัน
- ผู้ป่วยอาจได้รับการดูแลรักษาที่ไม่ตรงกับเจตจำนงที่ตนเองต้องการ กรณีนี้แพทย์ที่รักษาจะขอความเห็นจากสมาชิกในครอบครับที่ใกล้ชิด ทางกฎหมายเป็นหลัก โดยลำดับแรกคือ ภรรยา ลำดับต่อไป คือ บุตรที่บรรลุนิติภาวะ บิดามารดา และสุดท้ายคือ พี่น้อง แต่ในบางกรณีก็อาจจะมีปัญหาคือ ญาติในลำดับชั้นต่างๆที่กล่าวมาแล้ว อยู่ห่างไกลไม่สะดวกในการติดต่อ หรือญาติที่กล่าวมาไม่ทราบเจตจำนงของผู้ป่วยเช่นกัน และที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ญาติมีความ คิดเห็นไม่สอดคล้องกับแนวทางที่ผู้ป่วยได้แสดงเจตจำนงไว้ จึงจำเป็นที่ต้องใช้การไต่สวนของศาลเพื่อให้แนวทางการรักษาได้ข้อสรุป ดังนั้นจะเห็นได้ถึงความสำคัญของการเขียนเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯไว้ล่วงหน้า พร้อมทั้งบอกกล่าวแก่บุคคลใกล้ชิดไว้ก่อน
- ไม่จำเป็นเสมอไปที่แพทย์จะทำตามเจตจำนงที่ป่วยกำหนดไว้ทั้งหมดในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ทั้งนี้เพราะการพิจารณาต้องขึ้นอยู่กับสติสัมปชัญญะเป็นหลัก รวมถึงต้องพิจารณาว่าสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการนั้นไม่ขัดกับหลักกฎหมายของท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งกรณีที่เอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ นั้นได้รับการปฏิเสธจากแพทย์ในสถานพยาบาลแห่งใดแห่งหนึ่งแล้วนั้น สถานพยาบาลแห่งนั้นควรที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่อาจจะตอบสนองเจตจำนงของผู้ป่วยได้ดีกว่า
- เมื่อใดที่ผู้ป่วยคนใดๆก็ตาม ได้จัดทำเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ขึ้นมาแล้ว ควรแจ้งแก่บุคคลที่ใกล้ชิดไว้เสมอพร้อมทั้งจัดทำสำเนาเพื่อแจกจ่ายแก่สมาชิกอื่นๆในครอบครัว รวมทั้งเพื่อนๆ ที่ผู้ป่วยต้องการให้ทราบถึงเจตจำนงนั้นและที่สำคัญคือ มอบให้กับแพทย์ที่ดูแลรักษาไว้เสมอ หรือทั้งนี้อาจจะเป็นสถานพยาบาลที่คิดว่าจะได้ไปใช้บริการเป็นไปได้ควรให้สมาชิกในครอบครัวพกพาไว้สำหรับกรณีหลังเสมอ แนะนำว่าไม่ควรเก็บเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ไว้ในสถานที่ที่มิดชิด และไม่มีผู้อื่นทราบ
- ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจสำหรับการเลือกการรักษาได้ ไม่ว่ากรณีใดๆก็ตาม ข้อความที่ระบุไว้ในเอกสารแสดงความยินยอมเสียชีวิตฯ ก่อนหน้านี้จะถูกยึดถือเป็นแนวทางหลักในการวางแผนดูแลรักษาของแพทย์ผู้รับผิดชอบ
- ควรเป็นช่วงเวลาที่ยังเจ็บป่วยไม่มากนัก กล่าวคือยังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สำหรับการเลือกและตัดสินใจเลือกที่จะได้รับหรือปฏิเสธแนวทางด้านการแพทย์
ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการออก พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหนังสือเกี่ยวกับ living will ดังนี้
มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้คำแนะนำสำหรับผู้ต้องการทำหนังสือแสดงเจตนาและวิธีปฏิบัติเบื้องต้นตัวอย่างหนังสือแสดงเจตนา
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด และให้พ้นจากความรับผิด ทั้งปวง
การรักษาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย มีหลากหลายคำจำกัดความ แต่โดยทั่วไปแล้วครอบคลุมถึง การรักษาที่ใช้กลไกหรือใช้เครื่องมือทางการแพทย์เข้าช่วยยืดระยะเวลาของการเสียชีวิตออกไป มักจะกระทำในผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคสูง และไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้รูปแบบของการรักษาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย มีดังนี้
- การปั๊มหัวใจ (เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจเองหรือหัวใจหยุดการทำงาน)
- การใส่เครื่องช่วยหายใจ
- การให้ยาเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต
- การให้สารอาหาร หรือสารน้ำทางหลอดเลือด
- การล้างไต
- การผ่าตัดบางประเภท เช่น การตัดขา การใส่ท่ออาหารทางหน้าท้อง การตัดเนื้อร้ายออกบางส่วนหรือการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น
อนึ่งการให้อาหารหรือน้ำนั้นไม่จัดว่าเป็นการรักษาเพื่อยื้อชีวิตผู้ป่วย เช่นเดียวกันกับการให้ยาหรือการทำหัตถการบางอย่างที่มุ่งหวัง ให้ผู้ป่วยสุขสบายขึ้นบ้างจากความทุกข์ทรมาน ซึ่งก็คือเป็นการดูแลรักษาแบบประคับประคองนั่นเอง
- ความต้องการครั้งสุดท้าย หมายถึง การจัดเตรียมเอกสารเพื่อระบุความต้องการของตนเอง ซึ่งในที่นี้หมายถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความต้องการทางด้านการแพทย์เป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการตัดสินใจวางแผนการรักษา อาทิเช่น การใช้หัตการเพื่อยื้อชีวิตออกไป ในกรณีที่ต้องการมีชีวิตอยู่ต่อ เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วความสำคัญของความต้องการครั้งสุดท้ายจะมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพิจารณา ให้การช่วยเหลือเพื่อยื้อชีวิต หรือปล่อยให้เสียชีวิตตามกลไกธรรมชาติโดยไม่ต้องยื้อเวลาออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ผู้ป่วยใกล้เสียชีวิต ซึ่งไม่มีความสามารถพอที่จะเลือกหรือตัดสินใจได้เอง
ความต้องการครั้งสุดท้าย มีขอบเขตหรือนัยยะทางกฎหมายที่ค่อนข้างแคบ ทั้งนี้เพราะความต้องการครั้งสุดท้ายจะครอบคลุมเพียงประเด็นที่เล็กน้อยเกี่ยวกับความต้องการ หรืออยากที่จะสั่งเสียด้านการแพทย์เป็นหลัก และไม่จำเป็นต้องระบุชื่อของบุคคลอื่นในฐานะพยานที่ต้องรับทราบหรือไม่จำเป็นต้องมีการตีความทางกฎหมายในกรณีที่ความต้องการครั้งสุดท้ายไม่ได้รับการปฏิบัติตาม
- ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการรักษาที่หายขาด หรือเพื่อการดูแลแบบประคับประคอง ล้วนแล้วแต่เป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาเนื่องจากเป็นภาวะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลรักษา สมควรที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลที่จะได้รับว่าคุ้มค่าเพียงพอกับรายจ่ายหรือไม่ อย่างไร
การแพทย์ผสมผสาน หมายถึง กระบวนการดูแลรักษาที่ใช้ควบคู่ไปกับการรักษาหลัก ซึ่งมิได้มุ่งหวังให้หายขาดจากโรค แต่มุ่งหวังเพื่อให้มีอาการที่ดีขึ้นบ้าง จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูแลแบบประคับประคอง ตัวอย่างของการแพทย์ผสมผสาน มีดังนี้
- การนวดเพื่อผ่อนคลายความอ่อนล้า ปวดกล้ามเนื้อ หรือเพื่อคลายความตึงเครียด
- การทำสมาธิเพื่อคลายความตึงเครียด
- การดื่มชารสสะระแหน่เพื่อลดอาการคลื่นไส้
- การฝังเข็มเพื่อลดอาการปวดหลังเรื้อรัง
การแพทย์ทางเลือก หมายถึง การรักษาที่มีความเชื่อว่าสามารถทำให้หายขาดจากโรคมะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ยังไม่ข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่ามีประโยชน์จริงหรือมีโทษแต่อย่างใด ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาหรือแม้กระทั่งทดลองใช้การรักษาแบบการแพทย์ผสมผสาน หรือการแพทย์ทางเลือกคือ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน เพราะบางกรณีการรักษาเสริมนั้นอาจปลอดภัยดี แต่บางกรณีการรักษาเสริมอาจส่งผลให้การรักษาหลักตามมาตราฐานการแพทย์ที่ได้รับอยู่นั้นถูกรบกวนจนเกิดผลที่ตามมาร้ายแรง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกรายควรจะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของตนเองก่อนที่จะเลือกใช้แนวทางการรักษาแบบผสมผสาน และการแพทย์ทางเลือกเข้ามาเสริม และควรตระหนักว่า การแพทย์ทางเลือกอาจไม่ใช่ทางรอด
ความเข้าใจต่อเป้าหมายของการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับทั้งตัวผู้ป่วยและครอบครัว เป้าหมายในการรักษาโรคมะเร็งนั้น มี 3 แนวทางหลัก คือ
- เป้าหมายเพื่อหายขาดจากโรค
- เป้าหมายเพื่อยืดชีวิต
- เป้าหมายเพื่อรักษาตามอาการ
บางกรณี อาจมีความเข้าใจที่สับสน เพราะการรักษาบางอย่างสามารถกระทำได้ทั้งเพื่อให้หายขาดจากโรค หรือบางครั้งก็เพื่อแค่บรรเทาอาการก็ได้อย่างเช่น การฉายแสงสามารถให้การฉายรังสีเพื่อให้หายขาด หรือเพื่อบรรเทาอาการก็ได้ เป็นต้น ในอดีต อาจจะเคยได้ยินว่า เมื่อโรคลุกลามมากรักษาไม่หายขาด ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้อีก จึงสมควรหยุดการรักษาทุกอย่าง แต่ในปัจจุบัน แนวคิดนี้กำลังเปลี่ยนไป เพราะการรักษาหลายวิธี เช่น การฉายแสง การให้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัด และอื่นๆ สามารถช่วยบรรเทาอาการไม่สุขสบายทั้งหลาย เช่น อาการปวด อาการไม่สบายท้อง อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการหายใจลำบาก ต่างๆเหล่านี้ให้ ผู้ป่วยทุกข์ทรมานลดน้อยลง
การป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังเมื่ออายุมากขึ้น การใช้ชีวิตประจำวันควรมีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่
1) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีปริมาณแคลเซี่ยม และวิตามินดี เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน จากข้อมูลของ WHI พบว่าการได้รับแคลเซี่ยมและวิตามินดี ช่วยป้องกันการสูญเสียของเนื้อกระดูก ในกลุ่มผู้หญิงอายุมากกว่า 60 ปี ถึงแม้ว่ายังพบอีกว่าเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วในไตมากขึ้นด้วย
2) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
3) ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4) เลิกสูบบุหรี่
การให้การรักษาในระยะสั้นเฉพาะสำหรับอาการของวัยหมดประจำเดือน อาจจะทำให้ไม่ต้องใช้ฮอร์โมนทดแทนในระยะยาวหรือการรักษาทั้งหมด เช่น การใช้เจลฮอร์โมนสำหรับอาการช่องคลอดแห้ง นอกจากนั้นอาหารบางชนิดที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิงเช่น นมถั่วเหลือง ธัญพืช มีส่วนประกอบบางอย่างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน การจะเลือกใช้วิธีการใดนั้น ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสมสำหรับตนเองมากที่สุด
จากข้อมูลการศึกษาการใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดประจำเดือนส่วนใหญ่จะศึกษาแบบชนิดเม็ดรับประทาน นอกจากนั้นในปัจจุบันยังมีการใช้แบบอื่นๆ เช่น แผ่นแปะ เจล หรือเจลหล่อลื่นที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนใช้สำหรับรักษาภาวะช่องคลอดแห้ง สำหรับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนก็มีทั้งแบบเม็ดรับประทานและเจลปริมาณของฮอร์โมนในแต่ละชนิด ขึ้นกับชนิดฮอร์โมน และขนาดปริมาณยาที่ต้องการใช้ โดยทั่วไปชนิดที่ใช้บริเวณภายนอก เช่น ช่องคลอด จะมีขนาดปริมาณยาน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับยาเม็ด เนื่องจากเยื่อบุช่องคลอดตอบสนองต่อฮอร์โมนได้ดีแม้ปริมาณน้อย
จากข้อมูลที่ว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนมีหน้าที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเซลล์เต้านมและมดลูก จากเหตุผลนี้จึงอาจทำให้เชื่อว่า การใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดประจำเดือนสำหรับผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมอาจจะสนับสนุนการเจริญเติบโตของมะเร็ง แต่ก็มีหลายการศึกษาที่รักษาอาการของวัยหมดประจำเดือนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแล้วได้ผลขัดแย้งกับข้อมูลข้างต้น มีการศึกษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 434 คนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวอีกกลุ่มได้รับฮอร์โมนร่วมเอสโตรเจนกับโพรเจสเตอโรน หลังจากนั้นติดตามไป 2 ปี แต่ต้องหยุดการศึกษาลงก่อนเนื่องจาก พบว่าการได้รับฮอร์โมนในระยะสั้นเป็นการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมอย่างชัดเจนและมีการศึกษา ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 378 คน ติดตามไป 4 ปี ไม่พบว่าได้รับฮอร์โมนเพิ่มโอกาสการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมมากขึ้น นอกจากนั้นยังได้มีการรวบรวม 15 การศึกษามาวิเคราะห์ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 1,416 คน และผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่เป็นมะเร็งเต้านม 1.998 คน จากการวิเคราะห์ก็ไม่พบว่าการได้รับฮอร์โมนทดแทนเพิ่มโอกาสการเป็นใหม่หรือการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านม
จากการศึกษาของ WHI การใช้ยาเม็ดร่วมฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโพรเจสเตอโรนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ยังมีมดลูก หลังจากการติดตามไป 5 ปี รายงานว่า 35% ของกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดร่วมฮอร์โมนลดการเกิดมะเร็งลำไส้ ส่วนการศึกษาการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวของ WHI เช่นกันไม่พบว่าการเกิดมะเร็งลำไส้ มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจน
จากข้อมูลของหลายๆการศึกษาสังเกตได้ว่าการใช้ยาเม็ดเอสโตรเจนอย่างเดียวมีแนวโน้มสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของมะเร็งรังไข่หากได้รับยามากกว่า 10 ปี จากการศึกษาของ WHI การใช้ยาเม็ดร่วมฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโพรเจสเตอโรนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ยังมีมดลูก หลังจากการติดตามไป 5.6 ปี พบว่า 58% ของกลุ่มที่ได้รับยาเม็ดร่วมฮอร์โมนเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งรังไข่ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา โอกาสการเป็นมะเร็งรังไข่ก็ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นมีการศึกษาเล็กๆ การศึกษาหนึ่งพบว่าการได้รับยาเม็ดฮอร์โมนร่วมเอสโตรเจนกับโพรเจสเตอโรน ไม่เพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งรังไข่หากได้รับมากกว่า 15 วันต่อเดือน แต่อย่างไรก็ตามยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดเนื่องจากจำนวนประชากรน้อยเกินไป
ผลจากหลายการศึกษาพบว่าการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนในระยะเวลานานเพิ่มโอกาสของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แต่สำหรับความสัมพันธ์ของการได้รับฮอร์โมนร่วมเอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรนกับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกมีค่อนข้างน้อยและยังไม่แน่ชัด จากการศึกษาของ WHI การใช้ยาเม็ดร่วมฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโพรเจสเตอโรนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ยังมีมดลูก พบว่ามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกอัตราการเกิดไม่ได้แตกต่างกันในทั้งสองกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามอาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ก็ยังเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในกลุ่มที่ได้รับฮอร์โมน
จากการศึกษาของ WHI ดังที่กล่าวไปข้างต้น
1) การใช้ยาเม็ดร่วมฮอร์โมนเอสโตรเจนกับโพรเจสเตอโรนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ยังมีมดลูก หลังจากการติดตามไป 5 ปี พบว่าผู้หญิงที่ได้รับยาเม็ดฮอร์โมนพบมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับรายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงว่า กลุ่มผู้หญิงที่ได้รับยาเม็ดฮอร์โมนพบมะเร็งเต้านมได้มากกว่าและระยะของโรคค่อนข้างมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้รับ ซึ่งพบว่า 25%ของมะเร็งเต้านมที่พบในกลุ่มที่ได้ฮอร์โมนจะเป็นลักษณะกระจายออกนอกเต้านมไปยังต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะข้างเคียง
2) การใช้ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกแล้ว หลังจากการติดตามไป 7 ปี ไม่พบว่ายาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียวจะเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านมมากขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับยา ถึงแม้ว่ารายละเอียดการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มที่ได้รับฮอร์โมนมีประมาณ 20% ลดโอกาสการเกิดเนื้องอกในเต้านม แต่โดยรวมแล้วจะเป็นมะเร็งเต้านมระยะต้น และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับฮอร์โมนก็ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การศึกษาของ “Women’s Health Initiative (WHI) Hormone Program” ศึกษาเกี่ยวกับผลของการใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีอยู่ 2 การศึกษา ได้แก่
1) การศึกษาการใช้ยาเม็ดร่วมฮอร์โมนเอสโตรเจน กับโพรเจสเตอโรนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ยังมีมดลูก ผลการศึกษาพบว่ายาเม็ดร่วมฮอร์โมนมีความสัมพันธ์เพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม, โรคหัวใจและหลอดเลือดมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็พบว่ายาเม็ดชนิดนี้ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้และภาวะกระดูกสะโพกหักเมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับฮอร์โมน
2) การศึกษาการใช้ยาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกแล้วผลการศึกษาพบว่ายาเม็ดฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างเดียวเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองมากขึ้นเพียงอย่างเดียว
แพทย์จะแนะนำให้ใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีปัญหาที่สัมพันธ์กับวัยหมดประจำเดือนอาจจะได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน นอนไม่หลับ และช่องคลอดแห้ง หรือให้เพื่อหวังผลป้องกันผลระยะยาวซึ่งเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ได้แก่ ภาวะกระดูกพรุน การรักษาโดยใช้ฮอร์โมนทดแทนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน โดยทั่วไปหมายถึงการรักษาโดยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน (หรือโพรเจสติน; คือฮอร์โมนสังเคราะห์ซึ่งมาผลคล้ายกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนในร่างกาย)
- หลายการศึกษาระบุว่าการตรวจเต้านมเป็นประจำโดยแมมโมแกรม จะสามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งเต้านมได้ในผู้หญิงอายุ 40-69 ปี ในผู้ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นสามารถสอบถามแพทย์เพิ่มเรื่องระยะเวลาการเริ่มตรวจ และความถี่การตรวจ การใช้แมมโมแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงควบคู่กับการตรวจจากบุคลากรทางการแพทย์ เป็นวิธีการคัดกรองมะเร็งเริ่มต้นได้ดี ผลผิดปกติของ pap smear สามารถคัดกรองและเริ่มต้นการรักษาได้ก่อนเกิดมะเร็งปากมดลูก ในผู้หญิงที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรืออายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปสามารถสอบถามแพทย์เกี่ยวกับการตรวจ pap test ได้ และนักวิจัยกำลังค้นคว้าวิธีการคัดกรองมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- หลายการศึกษาระบุว่ายาเม็ดคุมกำเนิดเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับในประชากรทั่วไปที่มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ เช่น ผู้หญิงผิวขาวในสหรัฐอเมริกาหรือยุโรปซึ่งไม่มีโรคตับมาก่อน ในการศึกษาเหล่านี้พบว่าผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดระยะเวลานานมีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับมากขึ้น อย่างไรก็ตามยาไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในประชากรชาวเอเชียหรือแอฟริกัน ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับมาก นักวิจัยเชื่อว่าเป็นเพราะความเสี่ยง เช่น การติดเชื้อที่ตับนั้นสำคัญมากกว่าปัจจัยจากการใช้ยาคุมกำเนิด
- มีการศึกษาที่แสดงว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ถึงแม้ว่าจะกล่าวว่ายาเม็ดคุมกำเนิดมีผล แต่เชื้อ HPV หรือ human papilloma ยังเป็นสาเหตุหลักของโรคอยู่ ได้มีการค้นคว้าเชื้อ HPV 14 ชนิดที่อาจเป็นสาเหตุของโรค ซึ่งเชื้อนี้พบได้ 99% ในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูกได้ใน Human Papilloma and Cancer ทางอินเตอร์เน็ทในการศึกษาของ International Agency for Research on Cancer (IARC) ปี 2003 พบว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ นักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกาา 28 การศึกษาซึ่งรวมผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก 12,531 คน ข้อมูลระบุว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลดลง หลังการหยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ในรายงานอีกชิ้นของ IARC ได้ผลการศึกษามาจาก 8 การศึกษาซึ่งประเมินผลของยาเม็ดคุมกำเนิดต่อผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งปากมดลูก คือว่าเชื้อ HPV (HPV positive) พบว่าความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 4 เท่าในผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปีขึ้นไป และ IARC มีโครงการที่จะวิเคราะห์ข้อมูลอีกครั้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยาเม็ดคุมกำเนิดต่อมะเร็งปากมดลูก
- มีหลายการศึกษาที่มีผลสอดคล้องกันว่าการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ได้ ในปี 1992 มีการศึกษา 20 การศึกษา โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard Medical School ว่าความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ลดลงเมื่อเพิ่มระยะเวลาการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ผลแสดงว่า ลดความเสี่ยงลง 10-12% หลังการใช้ยา 1 ปี และลดประมาณ 50% เมื่อใช้ไปประมาณ 5 ปี นักวิจัยยังศึกษาปริมาณของฮอร์โมนหรือชนิดในยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีผลต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ มีการศึกษาหนึ่งที่ร่วมในการศึกาาของมหาวิทยาลัย Harvard คือ การศึกษาของ Cancer and Steroid hormone Study (CASH) ซึ่งพบว่าการลดลงของความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่นั้นไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณหรือชนิดของฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือโปรเจสเตอโรนในยาเม็ดคุมกำเนิด แต่มีการศึกษาของ CASH ล่าสุดว่าปริมาณฮอร์โมนโปรเจสตินที่สูงจะลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าปริมาณที่ต่ำ ในอีกการศึกษาของ Steroid Hormones and Reproductions (SHARE) study ซึ่งนักวิจัยระบุว่าปริมาณฮอร์โมนโปรเจสตินที่ต่ำจะมีคุณสมบัติของผลที่คล้ายฮอร์โมน เทสโทสเตอโรนแตกต่างกันไป (testosterone-like effects) และพบว่าไม่มีความแตกต่างของความเสี่ยงการเกิดมะเร็งรังไข่ระหว่างยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฤทธิ์ฮอร์โมนเพศชายกับไม่มี มีการศึกษาในผู้ที่มีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่เพิ่มขึ้นจากการมีการผ่าเหล่าของยีน BRCA1 และ BRCA2 ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งมีหนึ่งการศึกษาที่ระบุว่า ช่วยลดความเสี่ยง แต่ในการศึกาาอื่น ๆ นั้นไม่พบว่ามีผลการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดให้ผลการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการป้องกันจะเพิ่มเมื่อมีการใช้ยาที่นาน และยังคงมีผลไปอีกหลายปีหลังการหยุดใช้
- ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากหลายปัจจัย บางรายเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนตามธรรมชาติ ซึ่งฮอร์โมนที่เพิ่มความเสี่ยงนั้นต้องเป็นภาวะที่มีระดับสูงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น ประจำเดือนมาเร็ว (ก่อนอายุ 12 ปี), ประจำเดือนหมดช้า (หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี), มีบุตรคนแรกหลังอายุ 30 ปี หรือไม่มีบุตร ในปี 1996 มีการวิเคราะห์จากกลุ่มความร่วมมือที่ศึกษาฮอร์โมนที่มีผลกับการเกิดมะเร็งเต้านม(Collaborative Group on Hormonal Factors in Breast Cancer) พบว่าผู้หญิงที่มีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดนั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เต้านมและความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นในผู้ที่เริ่มใช้ยาตั้งแต่วัยรุ่น อย่างไรก็ตาม หลังมีการหยุดใช้ยาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมจะกลับมาเท่ากับผู้ที่ไม่เคยใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ยกเว้นว่าจะมีประวัติมะเร็งเต้านมในครอบครัว ชาติพันธุ์ พื้นที่ที่อาศัย ประวัติการตั้งครรภ์ ความแตกต่างในแต่ละการศึกาา ปริมาณและชนิดของฮอร์โมนที่ใช้ และระยะเวลาที่ใช้ นอกจากนี้ การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมหลังหยุดการใช้ฮอร์โมนมานานกว่า 10 ปีนั้น จะมีตัวโรคที่แย่น้อยกว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ไม่เคยมีประวัติการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ซึ่งที่กล่าวมานั้นได้มาจากผลการวิจัย 54 การวิจัยเป็นการวิเคราะห์ผลการศึกษาเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 53,297 คน และที่ผู้หญิงที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม 100,239 คน ซึ่งมีนักวิจัยมากกว่า 200 คนที่เข้าร่วม ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาจากทั่วโลกถึงความเป็นไปได้ของความสัมพันธ์ของยาเม็ดคุมกำเนิดและมะเร็งเต้านม แต่มีผลการศึกษาของ Women's Contraceptive and Reproductive Experiences (Women's CARE) ที่ได้ผลตรงข้ามกับการวิจัยข้างต้น การวิจัยนี้ได้ศึกษาในผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดระหว่างอายุ 35-64 ปี นักวิจัยได้สัมภาษณ์ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 4,575 คนระหว่างปี 1994-1998 และที่ไม่ได้เป็นมะเร็งเต้านม 4,682 คน นักวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ประวัติการตั้งครรภ์ สุขภาพและประวัติในครอบครัว ซึ่งได้รายงานผลการวิจัยในปี 2002 ชี้ว่าความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดไม่ว่าจะเคยใช้มาก่อน หรือกำลังใช้อยู่ และผลไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ใช้ผิวขาวหรือผิวดำ ส่วนปัจจัยอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาการใช้, ปริมาณ, การเริ่มใช้ยาก่อนอายุ 20 ปี หรือผู้ใช้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมนั้น ล้วนแต่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ในการศึกษาของ National Cancer Institute (NCI) ที่ลงตีพิมพ์ในปี 2003 นักวิจัยทำการศึกษาความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมในผู้หญิงอายุ 20-34 เปรียบเทียบกับอายุ 35-54 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ได้ถูกถามเรื่องการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดระยะเวลามากกว่า 6 เดือน ก่อนจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง และถ้าใช่ จะถูกถามต่อว่าใช้ยามาเป็นระยะเวลาภายใน 5 ปี, 5-10 ปี หรือมากกว่า 10 ปี ผลการศึกาาชี้ว่าความเสี่ยงสูงสุดในผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในช่วง 5 ปี ก่อนถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อย
- ปัจจุบันมีอยุ่ 2 ประเภท ส่วนใหญ่ยาเม็ดคุมกำเนิดประกอบด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ 2 ตัว ได้แก่ เอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรค ซึ่งจะคล้ายกับฮอร์โมนที่รังไข่สร้างขึ้น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้เรียกว่า ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนผสม (combined oral contraceptive) ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดที่สองเป็นยาฮอร์โมนเดี่ยว เรียกว่า minipill ซึ่งจะประกอบไปด้วยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนเอสโตรเจนกระตุ้นการเจริญเติบโตของมดลูกในช่วงวัยเจริญพันธุ์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของประจำเดือน และยังส่งผลต่อเนื้อเยื่อเต้านมตลอดช่วงชีวิต แต่เฉพาะตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งจะสร้างในช่วงหลังของประจำเดือน เพื่อเตรียมพร้อมเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมสำหรับการรับไข่ และถ้าไข่มีการผสมพันธุ์ฮฮร์โมนโปรเจสเตอโรนก็จะผลิตอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้มีการปล่อยไข่ออกจากรังไข่อีก ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงเรียกฮอร์โมนนี้ว่า ฮอร์โมนส่งเสริมการตั้งครรภ์ (pregnancy supporting hormone) และนักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่ามันให้ผลดีในการคุมกำเนิด ซึ่งฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นเรียกว่า โปรเจสโตเจนหรือโปรเจนติน การศึกษาทางการแพทย์ แนะนำว่ามะเร็งบางชนิดขึ้นกับฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติในช่วงการเจริญเติบโตของชีวิต ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างยาเม็ดคุมกำเนิดและความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง นักวิจัยได้มุ่งไปที่ผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด ตั้งแต่ 40 ปีก่อน ได้มีการพิจารณาถึงข้อมูลมากมายของผู้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดและการเติบโตของมะเร็ง ผลของการศึกษาบางส่วนไม่เห็นพ้องต้องกันว่า ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่ลดลงเมื่อใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด และในขณะเดียวกัน มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น บทสรุปของการวิจัยในแต่ละมะเร็งนั้นจะได้กล่าวต่อไป
- จากการศึกษาพบว่าการใช้ยาฮอร์โมนรวม(ฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมกับโปรเจสติน)เป็นเวลานาน 5 ปีและหลังจากหยุดยานาน 3 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดโดยเฉพาะชนิด non-small cell อย่างไรก็ตามผลนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับผลจากปัจจัยเสี่ยงอื่นในการเกิดมะเร็งปอด เช่น การสูบบุหรี่
ดังนั้นการเลือกใช้ยาฮอร์โมนทดแทน ผู้ป่วยควรคำนึงถึงผลของยา เช่น การเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด ผลของยาฮอร์โมนรวมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ เส้น เลือดในสมองตีบ เส้นเลือดดำที่ขาอุดตัน และพิจารณาถึงทางเลือกอื่นในการรักษาอาการข้างเคียงจากการหมด ประจำเดือน หรือภาวะกระดูกพรุน การใช้ยาฮอร์โมนทดแทนสามารถทำได้ ถ้าอยู่ในการดูแลของแพทย์ และควร ใช้ปริมานน้อยที่สุดและใช้ระยะสั้น โดยผู้ป่วยที่ใช้ยาฮอร์โมนทดแทนควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายทุกปีและควร ไปพบแพทย์เมื่อมีอาการเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เพราะอาจเป็นสัญญานของมะเร็งมดลูกได้
- จากการศึกษาพบว่าการใช้ยาฮอร์โมนรวม (ฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมกับโปรเจสติน) ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ถึง 40% แต่ผลนี้จะลดลงหลังจากหยุดใช้ยา 2 ปี ส่วนยาฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจน ไม่มีผลต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ประมาณ 50%เมื่อใช้เป็นเวลานานกว่า5ปี โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้ อย่างไรก็ตามการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่น้อยมากเมื่อเทียบกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งชนิดอื่น เช่น มะเร็งเต้านม
- จากการศึกษาพบว่าการใช้ยาฮอร์โมนรวม(ฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมกับโปรเจสติน)เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมประมาณ 5-6% โดยความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ใช้ยา และความเสี่ยงจะลดลงเท่ากับผู้ที่ไม่เคยใช้ยาหลังจากหยุดยา 3 ปี การเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งคาดว่าเกิดจากโปรเจสติน ดังนั้นในผู้หญิงที่ผ่านการตัดมดลูกควรได้รับฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่า เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งมดลูก นอกจากนี้ในส่วนของฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนก็มีการศึกษา พบว่าเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมประมาณ1-3% แต่ไม่พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้รับการตัดมดลูกแล้ว
- มีการศึกษาพบว่าการใช้ฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจน เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมดลูกโดยที่หลังหยุดยาก็ยังมีความเสี่ยงสูงกว่าคนที่ไม่เคยใช้เลย ปัจจุบันจึงไม่นิยมให้ยาฮอร์โมนทดแทนชนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนแก่สตรีที่ยังมีมดลูก แนะนำให้ใช้เป็นยาฮอร์โมนรวม(ฮอร์โมนเอสโตรเจนรวมกับโปรเจสติน)
ยีน BRCA1 และ BRCA2: โอกาสเกิดมะเร็งและการตรวจทางพันธุกรรม
ประเด็นสำคัญ
- BRCA1 และ BRCA2 เป็นยีนของมนุษย์ เป็นกลุ่มยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญของเซลล์ (Tumor suppressor gene) การผ่าเหล่า (Mutation) ของยีนเหล่านี้จะทำให้เกิดกลุ่มโรคมะเร็งเต้านมและรังไข่ที่สืบทอดทางพันธุกรรมได้
- ผู้หญิงที่ได้รับสืบทอดยีนที่ผิดปกตินี้มาจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมและรังไข่สูงขึ้น ส่วนในผู้ชายก็จะเพิ่มโอกาสการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น
- การตรวจทางพันธุกรรม ทำได้โดยการตรวจเลือด และควรจะมีการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมก่อนและหลังตรวจด้วย
- ถ้าตรวจพบความผิดปกติของยีนเหล่านี้ ก็สามารถมีการจัดการบางอย่าง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้
- ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายในบางรัฐก็รับรองในการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลในด้านพันธุกรรม เพื่อป้องกันความไม่เสมอภาคในการทำงานและการทำประกันสุขภาพ
- ในปัจจุบันมีการศึกษามากมายเกี่ยวกับวิธีการใหม่ ๆ เกี่ยวกับการตรวจ การรักษา และการป้องกันการเกิดมะเร็งในกลุ่มนี้ รวมทั้งมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรมและผลที่ได้ด้วย ซึ่งการศึกษาในด้านนี้มีการพัฒนาที่ค่อนข้างเร็ว
- Targeted cancer therapy เป็นการใช้ ยา หรือ สารบางชนิดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยไปรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโต และ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งนั้นๆ
- สืบเนื่องมาจากนักวิทยาศาสตร์เรียกโมเลกุลที่มีความจำเพาะนี้ว่า “molecular targets” ดังนั้นการรักษาใดใดที่ใช้ “molecular targets” นี้จึงถูกเรียกว่า “molecularly targeted drugs” หรือ “molecularly targeted therapies”
- Targeted cancer therapy ที่ได้รับการยอมรับในการรักษาโรคมะเร็งบางชนิดนั้นได้แก่ ยาที่ไปรบกวนการส่งสัญญาณระดับเซลล์ในการเจริญเติบโต (cell growth signaling) หรือ การสร้างเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง ซึ่งกลไกดังกล่าวจะทำให้เซลล์มะเร็งตาย และเซลล์มะเร็งที่ตายแล้วเหล่านี้จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้มากำจัดเซลล์มะเร็งดังกล่าว ซึ่งจะไปส่งเสริมให้ยาที่ทำลายเซลล์มะเร็งบางตัวนั้นสามรถเข้ามาทำลายเซลล์มะเร็งเหล่านี้ได้ดีมากขึ้น ในปัจจุบันการวิจัยค้นคว้า และการประเมิน molecular targets ตัวอื่นๆ ของสถาบันมะเร็งสหรัฐอเมริกา (The National Cancer Institutes (NCI)) ได้รับการสนับสนุนโดย NCI’s Chemical Biology Consortium ซึ่งองค์ดังกล่าวยังช่วยพัฒนายาตัวใหม่ๆที่จะนำมารักษาโรคมะเร็งต่อไปในอนาคตอีกด้วย
การเจาะเลือดหรือการตรวจเฉพาะจุด เป็นการค้นหาโรคคนทั่วๆ ไปเรียกการตรวจแบบนี้ว่าการตรวจสุขภาพ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองมะเร็งที่ได้ประโยชน์นั้นมีอยู่แค่ การตรวจแมมโมแกรม สำหรับมะเร็งเต้านมการตรวจภายในสำหรับมะเร็งปากมดลูก การตรวจหาเลือดในอุจจาระร่วมกับการส่องกล้องทางทวารในมะเร็งลำไส้ใหญ่และการตรวจ PSA ร่วมกับตรวจทางทวารในการค้นหามะเร็งต่อมลูกหมาก
ส่วนการตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวเป็นการตรวจทางอ้อม เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งที่เรียกว่า Tumor marker ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่นั้นไม่สามารถบอกอะไรได้ เพราะส่วนใหญ่ค่าจะปกติ หรือขึ้นเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ได้บ่งบอกอะไร
หลักของการตรวจสุขภาพนั้นจึงเน้นที่ตรวจเลือดทั่วๆ ไป ตรวจ x-ray ปอด ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจหาเบาหวาน วัดความดันโลหิตจาง การทำงานของไต ของตับ โรคเก๊าต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยและอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย แต่หากว่าเรามีอาการผิดปกติอะไรขึ้นมา ตรงจุดนั้นจึงไปตรวจหาโรคที่อาจเกี่ยวข้องได้ น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า
สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งในปัจจุบันมีการแนะนำให้ทำเฉพาะโรคที่มีประโยชน์ต่อการรักษา หมายความว่า โรคมะเร็งที่ยิ่งเจอเร็ว โอกาสหายยิ่งมากและโรคนั้นๆ ต้องเป็นโรคที่พบบ่อยในคนไทย จึงจะแนะนำให้ตรวจคัดกรองโรคดังได้กล่าวแล้วข้างต้น สำหรับค่าบ่งชี้มะเร็งยังไม่ถือเป็นการคัดกรองโรคที่ดียกเว้นค่า PSA ซึ่งใช้ในการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่โรคนี้ก็พบได้ไม่บ่อยในคนไทย นอกจากนี้หากค่าบ่งชี้มะเร็งขึ้นเพียงเล็กน้อยที่จะเป็นการยุ่งยากในการตรวจเพิ่มเติมอีกเพราะค่า Tumor marker ที่ว่านั้นไม่ได้มีความจำเพาะเจาะจงหรือมีความไวพอจะตรวจมะเร็งที่เป็นน้อยๆได้ (อาจจะยกเว้นแต่ PSA สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก)
การตรวจคัดกรองก็อาจมีผลเสีย นั่นคือไม่ว่าผลจะออกมาเป็นปกติ หรือผิดปกติก็อาจเป็นปกติลวง เรียกภาษาหมอว่าผลลบลวง หรือผิดปกติลวง เรียกว่า ผลลบลวง ทั้งผลบวกลวงและผลลบลวงก็คือ โอกาสที่การตรวจคัดกรองนั้นจะไม่ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น การตรวจเอกซเรย์ปอดแล้วเจอจุด 1 ซม. จุดเดียวซึ่งอาจจะไม่ใช่มะเร็งก็ได้ แต่ผู้ป่วยเมื่อทราบก็วิตกกังวลหมอก็กังวลเช่นเดียวกัน และอาจแนะนำให้ผู้ป่วยเจาะดูดชิ้นเนื้อไปตรวจ ซึ่งแน่นอนผู้ป่วยต้องเจ็บตัวและผลที่ได้ก็คือ ผู้ป่วยอาจไม่เป็นมะเร็ง เป็นเนื้องอกธรรมดาแต่เจ็บตัวไปแล้วเป็นต้น เช่นเดียวกันผลลบลวง เช่น จริงๆ มีก้อนในปอด 1 ซม. ซ่อนอยู่หลังหัวใจแต่เอกซเรย์ปอดธรรมดาไม่เห็นก้อน (เงาหัวใจบังอยู่)ก็ทำให้แพทย์รายงานผลว่าเอกซเรย์ปอดปกติต่อมาก้อนโตขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นมะเร็งแต่ผู้ป่วยวางใจแต่ต้นว่าเอกซเรย์ปอดปกติ จึงทำให้รักษาล่าช้าไป เป็นต้น
โดยสรุป การตรวจคัดกรองมะเร็ง หรือโรคต่างๆ ดีกว่าไม่ทำอะไรเลยแต่ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจถ้าจะต้องแนะนำให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทยต้องตรวจคัดกรองโรคต่างๆ อาจจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากเกินไป แพทย์ที่ตรวจหรือโรงพยาบาลจะต้องชี้แจงข้อจำกัดของการตรวจนั้นให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าอาจเกิดผลบวกลวงหรือผลลบลวงได้และเมื่อผู้ได้รับการตรวจเกิดอาการผิดปกติก็ต้องอย่าวางใจ ผลการตรวจสุขภาพจำเป็นที่ต้องไปตรวจเพิ่มเติม
- การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care) หมายถึง การดูแลที่มุ่งเน้นในการบรรเทาความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และปรับปรุงให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งนี้รวมถึงการดูแลรักษาอาการต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งจากตัวโรคเอง และ/หรืออาการข้างเคียงอื่นๆจากการรักษาโรคก็ได้ ดังนั้นการดูแลรักษาแบบประคับประคอง จึงมีผู้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า การดูแลตามอาการ (Supportive care) การดูแลแบบประคับประคองสามารถกระทำได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทุกระยะ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาเพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ระหว่างการได้รับยาเคมีบำบัด ก็ถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูแลแบบประคับประคอง ในผู้ป่วยที่โรคมะเร็งอยู่ในระยะแพร่กระจาย ทำให้มีข้อจำกัดในการรักษาเพื่อที่จะหายขาด การดูแลแบบประคับประคองจัดเป็นแนวทางสำคัญในการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว เช่น การบรรเทาความเจ็บปวด เป็นต้น ถึงแม้ว่าการดูแลแบบประคับประคอง จะสามารถกระทำได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกระยะก็ตาม แต่บทบาทที่สำคัญแท้จริงแล้วนั้นมักจะอยู่ที่ช่วงปีสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง
อาการสำคัญ ที่จำเป็นสำหรับการดูแลแบบประคับประคอง มีดังนี้
- อาการปวด
- อาการหายใจลำบาก
- อาการเบื่ออาหารและน้ำหนักลด
- อาการอ่อนเพลีย
- อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- อาการผิดปกติในการนอน
- อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล
- อาการสับสน
วัยหมดประจำเดือน เป็นช่วงเวลาที่รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศในระดับต่ำลง (เอสโตรเจนและโพรเจสเตอโรน)
ฮอร์โมนเอสโตรเจน – เป็นฮอร์โมนสนับสนุนการพัฒนาของเต้านมและมดลูกควบคุมการตกไข่ และมีผลต่อสภาพร่างกายและอารมณ์ของเพศหญิง
ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน – เป็นฮอร์โมนควบคุมรอบประจำเดือน และเตรียมมดลูกให้เหมาะสมต่อการฟักตัวของไข่หากได้รับการปฏิสนธิ
แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่
1) วัยหมดประจำเดือนโดยธรรมชาติ เกิดเมื่อผู้หญิงมีรอบเดือนเป็นเดือนสุดท้าย และหยุดไปนาน 1 ปี อายุโดยเฉลี่ย 45-55 ปี
2) วัยหมดประจำเดือนหลังการผ่าตัด เป็นการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหลังการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง จะเป็นภาวะที่รอบเดือนหมดทันทีเนื่องจากขาดฮอร์โมนที่มาจากรังไข่
- ยาคุมกำเนิดถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยแรกของทศวรรษ 1960 เพราะเป็นยาที่ทานได้สะดวก ประสิทธิภาพดี และมีการกลับมาปกติของฮอร์โมนได้สิ่งเหล่านี้ทำให้ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามมีสิ่งที่ถูกยกมาคำนึงถึงคือ ความเกี่ยวข้องของฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิดกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และวิธีการก่อให้เกิดนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งถ้านับจากการใช้ในช่วงแรกถึงปัจจุบัน นักว่าเป็นระยะเวลานานพอที่จะมีรายงานผลการศึกษาในผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ในที่นี้จะกล่าวถึงการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด และความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง แต่ไม่ได้กล่าวถึงผลข้างเคียงรุนแรงอื่น ๆ เช่น การเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ในช่วงที่ผ่านมามีการใช้ฮอร์โมนเพื่อการคุมกำเนิดในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น แผ่นแปะ ห่วงคุมกำเนิด และการฝังยาในโพรงมดลูก แต่ยาหลายรูปแบบเหล่านี้ยังไม่ได้มีการทำการศึกษาในระยะยาวและผลข้างเคียงอื่น ๆ จึงยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการรักษามะเร็งซึ่งได้มีการฟอร์เวิร์ดทาง email มานานหลายปี
บทความนี้จะได้ตอบข้อความต่างๆ เหล่านี้ให้กระจ่าง
ข้อความสีแดงเป็นข้อความที่มาจากฟอร์เวิร์ดเมล์ **ในขณะที่ข้อความสีดำคือคำชี้แจงของผมตามหลักการแพทย์ ผมจะให้ความเห็นแบบข้อต่อข้อนะครับ จะได้ทราบว่าในทางทฤษฎีมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งอย่างไร
1. AFTER YEARS OF TELLING PEOPLE CHEMOTHERAPY IS THE ONLY WAY TO TRY AND ELIMINATE CANCER, JOHNS HOPKINS IS FINALLY STARTING TO TELL YOU THERE IS AN ALTERNATIVE WAY.
หลังจากหลายปีที่พูดกันว่าการทำคีโมเป็นทางเลือกเดียวที่จะลอง และใช้ในการกำจัดโรคมะเร็ง ในที่สุดโรงพยาบาลจอห์น ฮอฟกินส์ ก็เริ่มแนะนำถึงทางเลือกอื่นๆอีก
**ในทางการแพทย์ การให้ยาเคมีไม่ใช่ทางเลือกเดียวของการรักษามะเร็งครับ การรักษามะเร็งใช้วิธีการรักษาแบบผสมผสานนั่นคือ เราแบ่งมะเร็งง่ายๆ เป็น 2 แบบ คือ
1. มะเร็งระบบโลหิต (ได้แก่มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งฮอร์ดกิน และนอนฮอร์ดกิน โรค multiple myeloma เป็นต้น) มะเร็งพวกนี้ใช้การรักษาหลักเป็นยาเคมี, molecular targeted therapy (เรียกว่าการรักษาแบบเจาะจงระดับโมเลกุล) และ การฉายรังสีเสริมเฉพาะจุด เพื่อเพิ่มการควบคุมโรคเฉพาะที่ครับ นอกจากนี้ยังมีการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วยสเตมเซลล์ด้วย ซึ่งเป็นมะเร็งที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สเตมเซลล์ช่วยรักษาโรคได้จริงๆ ในคนไข้ที่หมอเลือกว่าเหมาะสมกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ทางแพทย์เรียกว่า stem cell transplant ครับ
2. มะเร็งชนิดเป็นก้อน (solid tumor) การรักษาหลักคือ การผ่าตัด ถ้าก้อนไม่ใหญ่โตมาก ซึ่งมักจะตามด้วยการให้ยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีเพื่อลดการกำเริบของโรค สำหรับผู้ที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ มีการลุกลามต่อมน้ำเหลือง หรือการแพร่กระจายไปอวัยวะอื่น(เรียกว่าระยะ 4) มักจะให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดนำ แล้วตามด้วยการฉายรังสีหรือผ่าตัด นอกจากนี้ยังมี molecular targetedtherapy ด้วย
2. Every person has cancer cells in the body. These cancer cells do not show up in the standard tests until they have multiplied to a few billion. When doctors tell cancer patients that there are no more cancer cells in their bodies after treatment, it just means the tests are unable to detect the cancer cells because they have not reached the detectable size.
ทุกๆ คนมีเซลล์มะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซลล์ เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซลล์มะเร็งในร่างกายผู้ป่วย โรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้วมันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลล์มะเร็งได้เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น
**ทุกคนมีเซลล์ที่ผิดปกติ (mutated cell เซลล์กลายพันธ์) ในร่างกายอันนี้ถูก แต่ไม่ใช่ทุกคนมีเซลล์มะเร็ง (cancer cell)ในร่างกายโดยปกติร่างกายจะมีระบบตรวจสอบผ่านกลไกทางชีววิทยามากมาย (ไม่เว้นแม้แต่เซลล์เส้นใหญ่ เซลล์เศรษฐี เซลล์นักการเมือง ฮา ฮา...) ซึ่งจะคอยกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติเหล่านั้น ร่างกายที่แข็งแรงก็จะมีระบบตรวจสอบแข็งแกร่ง ร่างกายที่ไร้ภูมิคุ้มกัน เช่น คนเป็นโรคเอดส์ ก็จะมีระบบตรวจสอบอ่อนแอ (เหมือนประเทศไทยเลย) หากเซลล์ที่กลายพันธ์โตขึ้นโดยควบคุมไม่ได้ (เรียกว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพก็ได้) ก็จะทำให้เกิดก้อนเนื้อขึ้นมา ซึ่งปกติต้องใหญ่กว่า 1 ซม. (ประมาณพันล้านเซลล์) จึงจะสามารถตรวจได้ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ (ซึ่งก็มีหลายระดับหลายราคา) จากนั้นเมื่อเราคลำได้ ไปหาหมอเจาะเซลล์มาดูก็อาจจะพบเซลล์มะเร็งนั้นได้เซลล์มะเร็งทนต่อการทำลายครับ จึงค่อยๆ โตขึ้น ถ้าเป็นมากก็จะลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง (เหมือนชายแดนเรานั่นเอง) ต่อจากนั้นก็เริ่มกินเส้นเลือด เซลล์หลบไปตามเส้นเลือด (เหมือนหนีออกจากประเทศ) แล้วก็กระจายไปอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ปอด หัวใจ(เหมือนเขมร ดูไบ) แล้วในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษาก็เสียชีวิตครับ (ระวังประเทศเราจะเป็นอย่างนั้น)
3. Cancer cells occur between 6 to more than 10 times in a person's lifetime.
เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆ หนึ่ง
**ในประชากรแต่ละคนก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งไม่เท่ากัน บางคนเสี่ยงมาก เช่น นักการเมือง..เอ้ย! คนสูบบุหรี่ เสี่ยงต่อมะเร็งปอดช่องปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร (เสี่ยงเยอะ) ในคนบางคนมียีนส์ผิดปกติในร่างกาย เช่น ยีนส์ retinoblastomaก็ทำให้เสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่าปกติ ปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีโรงพยาบาลไหนสามารถตรวจได้ว่าคนแต่ละคนมียีนส์เสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งหรือไม แต่หากเป็นแล้วก็อาจนำชิ้นเนื้อที่ตรวจได้ไปตรวจว่ามียีนส์ผิดปกติไหม เช่น มะเร็งเต้านมมียีนส์ HER-2 ผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งก็จะทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้รัดกุมขึ้น แม่นยำขึ้น เรียกเท่ๆ ว่า tailored treatment เหมือนช่างตัดเสื้อตัดให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคนครับ
4. When the person's immune system is strong the cancer cells will be destroyed and prevented from multiplying and forming tumours.
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลล์มะเร็งจะถูกทำลายและป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก
**อันนี้ถูกครับ แต่ถูกไม่หมด ในคนปกติภูมิคุ้มกันดีแข็งแรง เซลล์มะเร็งก็เกิดขึ้นได้ เซลล์ที่โตเร็วๆ บางทีก็ไม่เป็นมะเร็งครับเรียกพวกนี้ว่า benign neoplasm เช่น เนื้องอกธรรมดา เนื้องอกมดลูก เนื้องอกหลอดเลือด คีลอยด์หลังเกิดแผล เป็นต้น
หากเป็นมะเร็งเรียก malignant neoplasm ซึ่งก็เกิดได้ในคนแข็งแรงได้เช่นกันเหมือนที่กล่าวแล้วข้างต้น
5. When a person has cancer it indicates the person has multiple nutritional dificiencies. These could be due to genetic, environmental, food and lifestyle factors.
เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆ นั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีนส์ สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆ ในการดำรงชีวิต
**ไม่ถูกครับ คุณจะกินเนื้อสัตว์ กินมังสวิรัติ กินเจ กินชีวจิต ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้นมะเร็งกับโภชนาการไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งตรงๆ นะครับ เว้นแต่ดื่มแต่เบียร์ เหล้า ของปิ้งทอดดำๆ ที่มีสารก่อมะเร็งบ่อยๆก็อาจจะเกิดมะเร็ง ผมใช้คำว่าอาจจะเพราะบางคนกินเหล้า กับแกล้มปิ้ง ครบชุดก็ไม่เป็นมะเร็งได้ อย่างที่บอกตอนต้นว่าระบบตรวจสอบของแต่ละคนไม่เท่ากัน นอกจากนี้สิ่งแวดล้อม มลพิษ ก็อาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง การดำรงชีพแบบตะวันตกก็อาจเป็นปัจจัยให้เกิดโรคมะเร็งที่มีรูปแบบเหมือนคนตะวันตก เช่น ปัจจุบันคนเป็นมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น เพราะเชื่อว่าในอาหารบางอย่างอาจมีฮอร์โมนกระตุ้น แต่จริงๆ แล้วผมเชื่อว่านั่นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่คนมีความรู้มากขึ้น มีการระวังมากขึ้น ผู้คนมากขึ้น จึงทำให้เราเห็นว่าอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นครับ
6. To overcome the multiple nutritional dificiencies. changing diet and including supplyments will strengthen the immune system.
เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
**หากคุณกินอาหารครบ 5 หมู่ (เรียนตั้งแต่ประถมแล้ว) กินเฉลี่ยๆ ใครว่ากินผักปลอดภัยครับ (ยาฆ่าแมลงมีถมไป) ใครว่ากินถั่วปลอดภัย (ถั่ว GMO ก็เยอะครับ) ดังนั้นเดินทางสายกลางกินเฉลี่ยๆโน่นนิดนี่หน่อย ออกกำลังกาย ทำใจให้ผ่องใส หากกินไม่ครบจริงๆ ก็อาจเพิ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ครับ แต่อย่าให้มากเกินไปประเภทกินแต่วิตามินเป็นกำๆ ก็ไม่ไหวครับสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งแล้วและอยู่ระหว่างการรักษา คุณต้องโดปหน่อย อย่าอดอาหารเดี๋ยวเราจะแย่ก่อนมะเร็งครับ
7. Chemotherapy involves poisoning the rapidly-growing cancer cells and also destroys rapidly-growing healthy cells in the bone marrow, gastro-intestinal tract etc, and can cause organ damage, like liver, kidneys, heart, lungs etc.
การทำคีโม คือ การให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกันมันก็จะทำลายเซลล์ที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ
**ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายเซลล์ที่เติบโตเร็ว ดังนั้นระหว่างรักษาจึงมีผลข้างเคียงต่ออวัยวะปกติที่โตเร็ว เช่น ผมร่วง(ยาบางตัวก็ผมไม่ร่วง) อาการผมร่วงหรือไม่ร่วงไม่ได้บอกว่ายานั้นแรงกว่ายาอีกตัวนะครับ ยาบางตัวทำให้ท้องเสีย ยาเคมีส่วนใหญ่ทำให้เม็ดเลือดขาวลดลง จึงต้องระมัดระวังการดำเนินชีวิตจะได้ไม่ติดเชื้อโรคง่ายๆ หากมีไข้ต้องบอกแพทย์ อย่าเรียกว่าทำลายเลยครับ เพราะอวัยวะส่วนใหญ่ของผู้ที่แข็งแรงดี (กินอาหารได้ ดูดซึมสารอาหารได้) มักจะซ่อมแซมตัวเองได้ดี
8. Radiation while destroying cancer cells also burns, scars and damages healthy cells, tissues and organs.
การฉายรังสี แม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้เป็นแผลเป็น และทำลายเซลล์ที่ดี เนื้อเยื่อและอวัยวะ
**การฉายแสงปัจจุบันมีเทคนิคต่างๆ มากมายในการลดปฏิกิริยาต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น การฉายแสง 3 มิติ การฉายแสงแบบปรับความเข้ม หรือ IMRT เป็นต้น บางกรณีเราต้องการรังสีปริมาณสูงก็ทำให้เกิดผลข้างเคียงสูงขึ้น เพื่อให้โอกาสหายสูงขึ้น เป็นต้น
9. Initial treatment with chemotherapy and radiation will often reduce tumor size. However prolonged use of chemotherapy and radiation do not result in more tumor destruction.
การบำบัดโดยคีโมและการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆ พบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลล์เนื้องอก
**การรักษามะเร็งสำคัญที่สุดคือ ตอนรักษาครั้งแรกครับ หมอมะเร็งพยายามอย่างยิ่งทุกวิถีทางที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายในการเพิ่มโอกาสการหายขาด ดังนั้นการรักษาแบบผสมผสานจึงมีความสำคัญ เพราะเมื่อเกิดการกำเริบ การลุกลามโอกาสหายจะน้อยลงครับ เพราะจะเป็นพวกเซลล์พันธุ์อึดดื้อแสง ดื้อยาเคมี เมื่อให้ยาเข้าสูตรที่ 3-4 ก็ยิ่งรักษายากขึ้นและโอกาสชนะไม่มากครับ ผมจึงอยากให้ผู้ป่วยอย่านิ่งนอนใจเวลาเป็นน้อยๆ อย่ามัวแต่กินผัก กินถั่วครับ รีบรักษาก็โอกาสหายสูง
10. When the body has too much toxic burden from chemotherapy and radiation the immune system is either compromised of destroyed. Whence the person can succumb to various kinds of infections and complications.
เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆ นั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
**เวลาให้ยาเคมีบำบัดและฉายรังสี แพทย์จะต้องติดตามเม็ดเลือดขาวว่าต่ำเกินไปไหม ผู้ป่วยมีเรี่ยวแรงพอจะรักษาไหม ถ้าไม่ได้ก็ต้องเลื่อนหรือหยุดการรักษาครับ วิธีสำคัญที่จะเพิ่มเม็ดเลือดและภูมิคุ้มกัน คือ โปรตีนครับ จากเนื้อสัตว์ นม ไข่ขาว เป็นต้น เพื่อไม่ให้ต้องหยุดการรักษากลางครัน ซึ่งจะทำให้เซลล์ดื้อยาโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
11. Chemotherapy and radiation can cause cancer cells to mutate and become resistant and difficult to destroy. Surgery can also cause cancer cells to spread to other sites.
การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลล์มะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยาและยากต่อการทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาหตุทำให้เซลล์มะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย
**เซลล์ที่กลายพันธุ์จากการรักษามักจะเกิดหลังรักษาแล้ว 5-20 ปี ซึ่งแพทย์พยายามใช้วิธีการรักษาที่ปลอดภัยที่สุด ผลข้างเคียงน้อยที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสหายของผู้ป่วยครับ และอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าก้อนใหญ่เกินกว่าผ่าตัดก็จะต้องให้ยาเคมีหรือฉายรังสีนำเพื่อให้ผ่าง่ายขึ้น ผ่าได้หมด จะได้เพิ่มโอกาสหายขาด
12. An effective way to battle cancer is to starve the cancer cells by not feeding it with the foods it needsto multiply.
วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือ การไม่ให้เซลล์มะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว
**ผมกล่าวแล้วข้างต้นว่าร่างกายใหญ่กว่าก้อนมะเร็งตั้งเยอะ เซลล์ปกติก็มีมากกว่าเซลล์มะเร็งตั้งเยอะ การอดอาหาร ไม่ได้ทำให้ก้อนมะเร็งขาดอาหารหลอกครับ เพราะมันก็มีวิธีการสันดาปอาหารมากมายหลายวิธี ดังนั้นร่างกายต้องแข็งแรงจึงจะสู้โรคได้ อย่ามัวแต่อดอาหารเลยครับ ภาวะโภชนาการที่ดีทำให้ร่างกายมีภูมิที่ดี และทนต่อการรักษาได้ ผู้ป่วยที่ขาดอาหาร เช่น ผู้ป่วยมะเร็งหลอดอาหาร ผอมมาก เซลล์มะเร็งก็โตขึ้นทุกวันครับ ขนาดให้อาหารทางหลอดเลือด ฟีดทางสายยางก็รักษายาก ดังนั้นเมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็งและอยู่ในช่วงรักษาต้องกินให้ได้พลังงานและสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอครับ
- ภาวะหมดประจำเดือนคือ การที่รังไข่หยุดกระบวนการตกไข่และลดการสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอร์โรน ซึ่งส่งผลให้ประจำเดือนหยุดไป นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้หมดประจำเดือน เช่น การผ่าตัดรังไข่ จากการที่ฮอร์โมนลดลงทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้จะหายไปเองได้ในที่สุด