โรคมะเร็ง | วิธีการตรวจคัดกรอง | คำแนะนำ USPSTF | คำแนะนำของ CTFPHC | คำแนะนำของ นักวิชาการไทย |
ต่อมลูกหมาก | 1. การใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก | - อาจทำหรืออาจไม่ ทำในชายอายุ 50-70 ปี |
- อาจทำหรืออาจ ไม่ทำในชายอายุ 50 ปี ขึ้นไป |
- ไม่ควรทำ |
2. Prostate-specific antigen (PSA) ในซีรั่ม | - อาจทำหรืออาจไม่ ทำ ในชายอายุ 50-70 ปี |
- มีหลักฐานเพียง เล็กน้อยว่า ไม่ควร ทำในชายอายุ 50 ปี ขึ้นไป |
- ไม่ควรทำ |
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่มักพบในผู้ชายอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ขึ้นไปก็มักจะมีต่อมลูกหมากโตอยู่แล้ว อาจทำให้เกิดอาการ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่งแรง ปัสสาวะบ่อย ถ้าอาการเป็นมากอาจทำให้ปัสสาวะไม่ออกซึ่งอาการเหล่านี้แยกได้ยากกับโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจึงจำเป็นต้องตรวจดูว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่โดยใช้วิธีดังนี้
1. การตรวจทางทวารหนัก
เป็นการตรวจโดยแพทยย์จะใช้นิ้วมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมากที่อยู่ทางด้านหน้าช่วยในการแยกต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากได้ในบางรายควรปีละครั้ง
2. การตรวจเลืออเพื่อดูระดับ พี-เอส-เอ (PSA= Prostatic Specific Antigen)
ระดับ พี-เอส-เอ ในเลือดจะสัมพันธ์กับโรคของต่อมลูกหมาก โดยถ้ามีระดับสูง มากกว่าค่าปกติมากจะช่วยบ่งชี้ว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรรับการตรวจปีละครั้ง
3. การตรวจโดยวิธีอัลตร้าซาวนด์ผ่านเข้าทางทวารหนัก (Transrectal ultrasound)
แพทย์จะใช้วิธีตรวจนี้เมื่อมีข้อสงสัย, ไม่ได้ใช้ตรวจในผู้ป่วยทุกราย เช่น เมื่อตรวจทางทวารหนักแล้วพบความผิดปกติ การตรวจจะทำโดยสอดหัวตรวจขนาดเล็กเข้าไปในทวารหนักแล้วดูภาพการสะท้อนของคลื่นในจอคอมพิวเตอร์