บทนำ
การใช้รังสีทางการแพทย์ดำเนินมาไม่ต่ำกว่า 100 ปี ทั้งในด้านการวินิจฉัยโรคและรักษาโรค โดยเริ่มจากการใช้เครื่องมือและวิธีการง่ายๆ จนปัจจุบันมีการใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นที่ยอมรับว่ารังสีมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีโทษต่อมนุษย์อย่างมากด้วย ในการใช้รังสีทางการแพทย์ ได้ถือหลักว่ารังสีให้ประโยชน์แก่มนุษย์คุ้มค่ากว่าความเสี่ยงจากอันตรายของรังสี
การใช้รังสีทางการแพทย์เป็นประโยชน์ไหม?
มีประโยชน์แน่นอน เป็นที่ทราบกันว่า วิทยาการทางรังสีแบ่งได้เป็น 3 สาขา
การใช้รังสีทางการแพทย์มีความเสี่ยงไหม?
มีบ้างแต่ความเสี่ยงขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีในการวินิจฉัยโรค ปริมาณรังสีจะน้อยเมื่อเทียบกับการใช้รังสีในการรักษาโรค การใช้รังสีการศึกษาปริมาณต่ำเกินไปอาจเป็นผลเสียในการวินิจฉัยโรค เช่น อ่านผลไม่ได้ หรือไม่ถูกต้องแม่นยำ เป็นต้น หรืออาจทำให้การรักษาไม่เป็นผลก็ได้และประสบการณ์จะช่วยให้ใช้ประโยชน์จากรังสีได้สูงสุด และลดความเสี่ยงลงการใช้รังสีในการวินิจฉัยโรคบางประเภท ใช้ปริมาณรังสีสูง เช่น การวินิจฉัยโรคในระบบช่องท้อง โดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ แต่ข้อมูลสถิติทางการแพทย์ แสดงว่าความเสี่ยงจากรังสีที่ทำให้เกิดการตายเนื่องจากโรคมะเร็งมีประมาณ 1 ใน 2,000 คน หรือ 0.05% ในขณะที่ความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นมีถึง 1 ใน 4 หรือ 25%
มนุษย์ได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดทางการแพทย์เพียงอย่างเดียวหรือ?
ไม่ใช่แหล่งกำเนิดรังสีแบ่งเป็นแหล่งใหญ่ได้ 2 แหล่ง คือ จากธรรมชาติ เช่น รังสีคอสมิคจากอวกาศ รังสีจากพื้นโลกและมนุษย์สร้างขึ้น รังสีจากแพทย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรังสีที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งรวมถึงรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงงานอุตสาหกรรม เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู เป็นต้น (เพิ่มชนิดของรังสีที่ใช้ทางการแพทย์)ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า รังสีมีอันตรายแต่มนุษย์นำประโยชน์ของรังสีมาใช้ทางการแพทย์ ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ นักรังสีเทคนิค นักฟิสิกส์ ตลอดจนประชาชนทั่วไป จำเป็นต้องรู้จักวิธีการป้องกันอันตรายจากรังสี โดย
ชนิดของรังสีที่ใช้ทางการแพทย์
โดยสุรปหลักการทางรังสีรักษา คือ ฆ่าเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุด โดยไม่ทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติ ปัจจุบันมีมะเร็งหลายชนิด ซึ่งสามารถรักษาหายได้ด้วยรังสีรักษา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งผิวหนังรังสีรักษามีผลต่อมะเร็งเฉพาะบริเวณที่ฉายเท่านั้น ซึ่งเปรียบเสมือนการผ่าตัด ซึ่งตัดเฉพาะส่วนที่ไม่ดีออก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการฉายรังสีและการผ่าตัดเป็นการรักษาเฉพาะที่ และไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันแพทย์ทางมะเร็งวิทยาจะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน กล่าวคือให้การผ่าตัดและฉายรังสีเป็นการรักษาเฉพาะที่และใช้การรักษาเสริม คือ การให้ยาเคมีบำบัดหรือยาต้านเซลล์มะเร็งฉีดหรือกิน เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจกระจายอยู่ในอวัยวะอื่นๆนอกจากการรักษาด้วยรังสีแบบระยะไกล โดยใช้เครื่องฉายรังสีแล้ว การใส่แร่หรือการรักษาด้วยรังสีแบบระยะใกล้ (Brachytherapy) ยังเป็น อีกรูปแบบหนึ่งของการใช้รังสี เพื่อรักษาโรคมะเร็งโดยแพทย์จะนำสารกัมมันตรังสีซึ่งอยู่ในรูปแบบเม็ดหรือแท่งขนาดเล็กให้เข้าไปอยู่ชิดบริเวณที่เป็นมะเร็งให้มากที่สุด การใส่แร่นี้สามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การวางแร่ในเข็มซึ่งแทงเข้าไปในก้อนมะเร็ง หรือการวางแร่ ในก้อนมะเร็งโดยตรง (Interstitial Implantation) การวางแร่ในเครื่องมือสอดใส่แร่ของมะเร็งปากมดลูก (Intracavitary Brachytherapy)และการวางแร่ลงในสายพลาสติก เพื่อรักษาอวัยวะที่เป็นรูกลวง (Intraluminal Brachytherapy) เช่น มะเร็งหลอดอาหารโดยปกติแล้วการรักษาด้วยรังสีแบบระยะไกลด้วยเครื่องฉายรังสี และการใส่แร่ หรือการรักษาด้วยรังสีแบบระยะใกล้ ไม่ทำให้ผู้ป่วยซึ่งได้รับการฉายรังสีมีรังสีตกค้างอยู่ในตัว นั่นคือผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรต่าง ๆ อยู่ใกล้วคนใกล้ชิดได้เหมือนคนปกติ อย่างไรก็ตามการดื่มสารกัมมันตรังสี เช่น ไอโอดีน 131 ซึ่งใช้ในการรักษาหรือวินิจฉัยต่อมธัยรอยด์ อาจมีรังสีตกค้างในตัวผู้ป่วยหรือสิ่งคัดหลั่ง ซึ่งรังสีที่ตกค้างนั้นเป็นรังสีซึ่งมีค่าครึ่งชีวิตสั้น กล่าวคือ รังสีจะลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วใน 2-3 วัน ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลรักษาจะให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในช่วงเวลา ดังกล่าวโดยผู้ป่วยต้องแยกตัวจากคนใกล้ชิดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และเมื่อปริมาณรังสีหมดไปก็สามารถทำกิจวัตรได้ตามปกติผู้ป่วยซึ่งอยู่ในช่วงที่ใช้รังสีรักษา จะได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิด จากแพทย์ พยาบาล นักฟิสิกส์การแพทย์ เจ้าหน้าที่รังสี
การแพทย์ ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุดและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มากขึ้น จึงมีการนำเครื่องมือสมัยใหม่ซึ่งมีความแม่นยำปลอดภัยมาใช้ในทางรังสีรักษา ได้แก่ การผ่าตัดโดยใช้รังสี เช่น แกมมาไนฟ์ (Gamma Knife) การฉายรังสี 3 มิติ (3 Dimension Radiation Therapy) และการฉายรังสีปรับความเข้ม (Intensity- modulated radiation therapy) ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ใกล้อวัยวะสำคัญสำหรับผลข้างเคียงของการรับการรักษาด้วยรังสี ถึงแม้ว่าอาจทำให้เกิดความไม่สบายตัวอยู่บ้างแต่ผลข้างเคียงมักจะบรรเทาอย่างรวดเร็วหลังจากได้รับการรักษาครบ แพทย์และบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ดูแลตลอดการฉายรังสีและเมื่อครบการรักษาแล้วโดยปกติผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกัน ตามตำแหน่งที่ได้รับรังสี ปริมาณรังสีและสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนหน้าที่จะได้รับรังสี ผลข้างเคียงซึ่งพบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ผิวหนังคล้ำบริเวณที่ถูกรังสี ความอยากอาหารลดลง ขนหรือผมบริเวณที่ถูกรังสีบางลง ซึ่งผลข้างเคียงนี้มักไม่รุนแรงและผู้ป่วยยังสามารถทำงานหรือกิจวัตรได้เช่นเดียวกับก่อนฉายรังสี
นอกจากรังสีจะใช้รักษาก้อนมะเร็งแล้ว ยังมีการใช้รังสีเพื่อบรรเทาอาการปวด จากมะเร็งระยะลุกลาม เช่น การปวดกระดูกการปวดศีรษะจากมะเร็งลุกลามไปที่สมอง (Brain Metastasis) การใช้รังสีเพื่อช่วยในการปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow-Transplantation) การใช้รังสีเพื่อป้องกันการลุกลามของมะเร็งมาที่สมอง (CNS Prophylaxis) และการรักษาโรคอื่น นอกจากโรคมะเร็ง เช่น การป้องกันเส้นเลือดอุดตันซ้ำหลังผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ (Restenosis Prophylaxis) การป้องกันการเกิดแผลเป็นหลังผ่าตัด (Keloid Prophylaxis) เป็นต้น
เวชศาสตร์นิวเคลียร์ คืออะไร
นอกจากการใช้รังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมม่าดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีการนำสารกัมมันตรังสีมาใช้ประโยชน์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างมากมาย เช่น ใช้เพื่อตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของมะเร็งมายังกระดูก ตรวจวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตรวจการทำงานของไต ตรวจการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ในปัจจุบันการรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีได้มีการยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะการใช้สารกัมมันตรังสีไอโอดีน (131I) เพื่อรักษาภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษและมะเร็งต่อมธัยรอยด์ ได้มีการใช้กันมากกว่า 50 ปีแล้ว เราเรียกศาสตร์ดังกล่าวนี้ว่า เวชศาสตร์นิวเคลียร์ก่อนอื่นเราควรทำความรู้จักว่า "สารกัมมันตรังสี" คืออะไรก่อน สารกัมมันตรังสี คือ สารที่สามารถปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปรังสี ซึ่งรังสีที่ปลดปล่อยออกมามีหลายชนิด เช่น รังสีเบต้า รังสีแกมมา เป็นต้น ซึ่งรังสีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย
สารกัมมันตรังสี รักษาและบำบัดโรคได้อย่างไร?
การรักษาและบำบัดโรคด้วยสารกัมมันตรังสี อาศัยหลักการดังนี้ คือ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารกัมมันตรังสี โดยการรับประทานหรือฉีดเข้าไปในร่างกาย สารกัมมันตรังสีนั้นจะเข้าสู่อวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่มีความเฉพาะเจาะจง และมีผลทำให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นได้รับรังสีอย่างเต็มที่โดยตรงขณะเดียวกันเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียงจะได้รับปริมาณรังสีในระดับต่ำ จึงลดอันตรายจากรังสีต่อเนื้อเยื่อปกติและทำให้สามารถบริหารสารกัมมันตรังสีซ้ำได้หลายครั้งโดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนต่อเนื้อเยื่อปกติอื่น สำหรับประสิทธิภาพของการรักษาโรคด้วยสารกัมมันตรังสีพบว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษา อาทิเช่น ผู้ป่วยภาวะต่อมธัยรอยด์เป็นพิษสามารถหายจากโรคหลังจากรับประทานสารกัมมันตรังสีไอโอดีน เพียงครั้งเดียว ถึง 60% ผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์บางชนิดพบว่ามีอัตราการตายต่ำลง หลังจากได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีและผู้ป่วยที่มีอาการ ปวดกระดูกจากการแพร่กระจายของมะเร็งพบว่า 70% ของผู้ป่วยหลังได้รับการรักษา มีอาการปวดลดลง และมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
สารกัมมันตรังสี วินิจฉัยโรคได้อย่างไร?
การวินิจฉัยโรคด้วยสารกัมมันตรังสี อาศัยหลักการเช่นเดียวกับการใช้สารกัมมันตรังสีในการรักษาโรค คือ หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าไป ซึ่งอาจจะได้รับโดยการฉีด การรับประทาน หรือการหายใจเข้าไป สารกัมมันตรังสีจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่มีความเฉพาะเจาะจง จากนั้นจะแผ่รังสีแกมมาออกมา (รังสีแกมมาเป็นรังสีที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า) โดยรังสีแกมมาจะแสดงตำแหน่ง ที่ผิดปกติจากภายในร่างกายออกมา ซึ่งแพทย์จะใช้เครื่องมือชนิดพิเศษทำการตรวจจับรังสีแกมมาแล้วนำมาสร้างเป็นภาพต่างๆ ของร่างกายภาพที่ได้จะถูกประมวลผล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัยโรคทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ได้แก่
สรุป
ช่วงเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้ศึกษาคุณสมบัติของรังสี อันตรายและผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตโดยละเอียด ทำให้สามารถนำรังสีมาใช้ประโยชน์อย่าง ปลอดภัย และตามความจำเป็นมีการออกกฎระเบียบเพื่อควบคุมการใช้ให้ปลอดภัย นอกจากนี้การใช้รังสีในวัตถุประสงค์ต่างๆได้มีการศึกษาอย่างถ่องแท้ก่อนนำมาใช้กับมนุษย์ เพื่อยืนยันว่าประโยชน์จากรังสีจะต้องมากกว่าโทษที่จะได้รับอย่างแน่นอน