การตรวจคัดกรองมะเร็งในคนทั่วไป

การตรวจคัดกรองมะเร็งในคนทั่วไป

การตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้ชาย
แนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งแบ่งตามเพศและกลุ่มอายุดังนี้ 

อายุ (ปี) หญิง ชาย
25 - 39 มะเร็งปากมดลูก เริ่มที่ 25 ปี (อายุที่แนะนำเริ่มตรวจ)
มะเร็งเต้านม* 
มะเร็งลำไส้*
*เฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เช่นมีประวัติครอบครัว พันธุกรรม
มะเร็งตับ**
** เฉพาะในรายที่มีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เช่น ตับแข็ง ประวัติติดเชื้อไวรัสตับอักเสบหรือญาติสายตรงเป็นมะเร็งตับ
มะเร็งตับ**
มะเร็งลำไส้*
40 - 49  มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม เริ่มที่ 40 ปี
มะเร็งลำไส้ เริ่มที่ 45 ปี
มะเร็งตับ**
มะเร็งตับ เริ่มที่ 40 ปี 
มะเร็งลำไส้ เริ่มที่ 45 ปี
มะเร็งต่อมลูกหมาก*
50 - 64 มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งเต้านม 
มะเร็งลำไส้ 
มะเร็งปอด เริ่มที่ 50 ปี พิจารณาจากประวัติการสูบบุหรี่ หรือความเสี่ยงอื่นร่วมด้วย เช่นประวัติครอบครัว การทำงาน สัมผัสฝุ่นละออง เคมี หรืออื่นๆ
มะเร็งตับ เริ่มที่ 50 ปี 
มะเร็งตับ
มะเร็งลำไส้ 
มะเร็งต่อมลูกหมาก เริ่มที่ 50 ปี
มะเร็งปอด เริ่มที่ 50 ปี ขึ้นกับพิจารณาจากประวัติการสูบบุหรี่ หรือความเสี่ยงอื่นร่วมด้วย เช่นประวัติครอบครัว การทำงาน สัมผัสฝุ่นละออง เคมีหรืออื่นๆ
65 ขึ้นไป มะเร็งปากมดลูก พิจารณาหยุดตรวจได้ถ้าผลตรวจในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปกติ
มะเร็งเต้านม 
มะเร็งลำไส้ แนะนำตรวจถึงอายุ 75 ปี ถ้าเกินกว่า 75 ปีแนะนำปรึกษาแพทย์
มะเร็งปอด 
มะเร็งตับ
มะเร็งตับ
มะเร็งลำไส้ แนะนำตรวจถึงอายุ 75 ปี ถ้าเกินกว่า 75 ปีแนะนำปรึกษาแพทย์
มะเร็งต่อมลูกหมาก พิจารณาหยุดตรวจได้ถ้าประเมินอายุขัยเฉลี่ยไม่ถึง 10 ปี (Life expectancy)
มะเร็งปอด
 
วิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งที่พบบ่อยมีดังนี้ 
มะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ตรวจเลือดหาค่า PSA ทุกปี
  • ตรวจคลำต่อมลูกหมากผ่านทางทวาร (Digital rectal examination)                      
มะเร็งตับ
  • ตรวจเลือดหาค่าการทำงานของตับ (liver function test) และค่า AFP ทุก 6 -12 เดือน
  • อัลตราซาวน์ตับ ทุก 6 -12 เดือน และในรายที่สงสัยอาจส่งตรวจเพิ่มเติมเช่นการทำ CT หรือ MRI ช่องท้องส่วนบน
มะเร็งลำไส้
  • การตรวจอุจจาระ (Stool occult blood test) ทุกปี
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ เช่น ตรวจลำไส้ส่วนปลายและทวารหนัก (flexible sigmoidoscopy) ทุก 5 ปี หรือตรวจลำไส้ใหญ่ทั้งหมด (colonoscopy) ทุก10 ปี 
  • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ CT colonography ทุก 5 ปี
มะเร็งปอด
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบปริมาณรังสีต่ำกว่าปกติ เรียกว่า low-dose CT ทุกปี
กลุ่มคนที่ได้ประโยชน์ชัดเจนจากการตรวจ ควรประกอบด้วย 3 ปัจจัยดังนี้
  1. อายุระหว่าง 50-80 ปี 
  2. ประวัติสูบบุหรี่จัดตั้งแต่ 20 pack-year ขึ้นไป
    การคำนวณค่า pack-year = จำนวนต่อซองที่สูบในหนึ่งวัน x จำนวนปีทั้งหมดที่สูบ
    ค่าตั้งแต่ 20 ขึ้นไปถือว่าจัด เช่น สูบ1/2 ซองเป็นเวลา40ปี  (pack-year=20) , สูบ2ซองเป็นเวลา15ปี (pack-year=30)
  3. ยังคงสูบอยู่หรือถ้าเลิกแล้วยังคงอยู่ในช่วงไม่เกิน 15 ปีหลังเลิก 
กรณีที่ท่านไม่สูบบุหรี่ แต่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น ญาติสายตรงเป็นมะเร็งปอด, การทำงานที่สัมผัสต่อก๊าซ ฝุ่นละออง หรือเคมีต่างๆ , สัมผัสควันบุหรี่เป็นประจำ ( second hand smoker), การเป็นโรคปอดเรื้อรัง , การเป็นมะเร็งบางชนิดมาก่อน เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว Lymphoma, มะเร็งศีรษะและลำคอ  เหล่านี้แนะนำปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
 
ความเสี่ยงของการตรวจคัดกรองมีอยู่ว่า
  1. ในเอกซเรย์อาจเห็นว่ามีอะไร แต่จริงๆแล้วไม่มี เรียกว่าค่าบวกลวง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีความกังวล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เครียด ต้องมาตรวจเพิ่มเติมบ่อยๆ เจาะชิ้นเนื้อเพิ่ม
  2. อาจเจออะไรที่ผิดปกติบางอย่างจริงๆ แต่จริงๆอาจไม่ต้องรักษา ผู้ป่วยไม่มีอาการอะไร แต่อาจต้องไปผ่าตัดจริง หรือรักษาเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น
  3. การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บ่อยๆหลายครั้งมากๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้ร่างกายเราได้รับรังสีด้วยเช่นกัน อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็งบางอย่างในอนาคต
เพราะฉะนั้นเราจึงเลือกในคนที่มีความเสี่ยงจริงๆ เพราะจะได้รับประโยชน์จากการรักษาจริงๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจต้องรอผลการวิจัยอื่นๆในอนาคตร่วมด้วย